ฮือฮา! นักวิทย์แดนกีวีพบปลาหายาก ถูกเรียกขาน ‘ฉลามผี’

ภาพจากทวิตเตอร์ @BritFinucci

ฮือฮา! นักวิทย์แดนกีวีพบปลาหายาก ถูกเรียกขาน ‘ฉลามผี’

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวนิวซีแลนด์พบลูกปลาคิเมียรา ที่มีการเรียกขานว่า ฉลามผี ซึ่งพบได้ยากมาก โดยเฉพาะตัวที่ยังไม่โตเต็มวัย เนื่องจากฉลามผีอาศัยอยู่ใต้ทะเลลึกมาก โดยนักวิทยาศาสตร์พบฉลามผีตัวดังกล่าวที่ความลึก 1.2 กิโลเมตรในทะเลใกล้กับเกาะใต้ของนิวซีแลนด์

ดร.บริต ฟินุชชี หนึ่งในทีมนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า การค้นพบนี้เกิดขึ้นโดยบังเอิญขณะทำการลากอวนเพื่อวิจัยสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ สิ่งมีชีวิตใต้ทะเลลึกหายากมากอยู่แล้ว เช่นเดียวกันกับฉลามผี ซึ่งไม่ค่อยเห็นบ่อยนัก

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิจัยบรรยากาศและน้ำแห่งชาติเชื่อว่าลูกปลาฉลามเพิ่งฟักออกจากไข่ เนื่องจากท้องของมันยังมีไข่แดงอยู่เต็มไปหมด และตัวอ่อนของฉลามผีพัฒนาในไข่ที่อยู่บนพื้นทะเล และจะกินไข่แดงไปเรื่อยๆจนกว่าจะพร้อมที่จะฟักออกมา

นอกจากนี้ดร.ฟินุชชียังกล่าวว่า ฉลามผีอายุน้อยมีลักษณะที่แตกต่างจากฉลามผีที่โตเต็มวัย ซึ่งทำให้การค้นพบมีความสำคัญมากขึ้น ฉลามผีในวัยเด็กอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแตกต่างออกไป อดอาหารด้วยวิธีที่ต่างออกไป และหน้าตาต่างจากฉลามผีที่โตเต็มวัยมากๆ ฉะนั้นการพบฉลามผีวัยเด็กจะทำให้เราเข้าใจโครงสร้างทางชีววิทยาและนิเวศวิทยาของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้มากขึ้น

Advertisement

ทั้งนี้ฉลามผีไม่ใช่ฉลาม แต่เป็นปลาที่มีความใกล้เคียงกับฉลามกับกระเบน โครงกระดูกของฉลามผีประกอบไปด้วยกระดูกอ่อนเป็นหลัก ซึ่งทำให้ดูน่ากลัวและเหมือนล่องหนได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image