นักวิทย์ไขปริศนา ทำไมค้างคาวถึงอยู่ได้เพราะ ‘ดูดเลือด’

AP

นักวิทย์ไขปริศนา ทำไมค้างคาวถึงอยู่ได้เพราะ ‘ดูดเลือด’

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า ทำไมค้างค้าวดูดเลือดจึงเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียว ที่อยู่รอดได้ด้วยการกินเลือดเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และอะไรที่ทำให้มันแตกต่างจากค้างคาวชนิดอื่นๆ

นักวิทยาศาสตร์ได้ตีพิมพ์เผยแพร่การค้นพบดังกล่าวในวารสาร Science Advances ว่าพวกเขาได้เปรียบเทียบจีโนม หรือสารพันธุกรรม (ดีเอ็นเอ) ของค้างคาวดูดเลือด กับค้างคาวทั่วไปอีก 26 สายพันธุ์ และสามารถระบุยีน 13 ตัวที่หายไปหรือไม่ทำงานในค้างคาวดูดเลือด

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านไป การปรับแต่งยีนเหล่านี้ช่วยให้ค้างคาวดูดเลือดสามารถปรับตัวเข้ากับการกินเลือดที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กและโปรตีน แต่มีไขมันหรือคาร์โบไฮเดรตน้อยเป็นอาหาร

ไมเคิล ฮิลเลอร์ หนึ่งในผู้ร่วมเขียนงานดังกล่าวของสถาบัน สถาบัน Max Planck ของเยอรมนี ระบุว่า ค้างคาวอาศัยอยู่ในอเมริกาใต้และกลาง และโดยพื้นฐานแล้วเป็น “แดร็กคิวล่าที่มีชีวิต” พวกมันมีความยาวประมาณ 3 นิ้ว และมีปีกกว้าง 7 นิ้ว มันจะกัดและดูดเลือดจากปศุสัตว์ หรือสัตว์ชนิดอื่นๆ ในตอนค่ำคืน

Advertisement

ทั้งนี้ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่ไม่สามารถอยู่รอดได้ด้วยอาหารเหลวอย่างเลือดที่มีแคลอรีต่ำเช่นนี้ และค้างคาวดูดเลือดเป็นเพียงสามสายพันธุ์จาก 1,400 ชนิดของค้างคาวเท่านั้นที่สามารถทำได้ ขณะที่ค้างคาวบางชนิดกินแมลง ผลไม้ น้ำหวาน ละอองเกสร หรือเนื้อสัตว์อย่างกบขนาดเล็กและปลาเป็นอาหาร

อย่างไรก็ดี ยังมีสัตว์บางชนิดที่อาศัยเลือดเป็นอาหารของพวกมันเช่นกัน อาทิ ยุง ตัวเรือด ปลิง และหมัด

 

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image