เปิดที่มา ‘วันเอพริลฟูลเดย์’ เริ่มเมื่อไหร่-มาจากไหน

ภาพจากเว็บfreepik

เปิดที่มา ‘วันเอพริลฟูลเดย์’ เริ่มเมื่อไหร่-มาจากไหน

เว็บไซต์ History.com ได้บอกเล่าประวัติวันโกหก หรือเอพริลฟูลเดย์ (April Fools’ Day) ไว้ว่า วันเอพริลฟูลเดย์เฉลิมฉลองทุกวันที่ 1 เมษายนของทุกปี มาเป็นเวลาหลายศตวรรษในหลายประเทศทั่วโลก แต่ต้นกำเนิดของวันเอพริลฟูลเดย์ยังไม่แน่ชัด โดยในวันเอพริลฟูลเดย์จะมีการแกล้งหรือหลอกคนอื่น และตะโกนคำว่า “เอพริล ฟูล” ในตอนท้าย เพื่อให้รู้ว่าโดนหลอกเข้าเสียแล้ว

  • ต้นกำเนิดของวันเอพริลฟูลเดย์

นักประวัติศาสตร์บางส่วนคิดว่า เอพริลฟูลเดย์เริ่มขึ้นเมื่อปี 1582 เมื่อฝรั่งเศสได้เปลี่ยนระบบปฏิทินจากปฏิทินจูเลียนเป็นเกรกอเรียน ตามที่สภาสังคายนาเทรนต์ร้องขอเมื่อปี 1563 ปฏิทินจูเลียนเหมือนกันปฏิทินของฮินดู ที่วันปีใหม่เริ่มขึ้นในวันที่กลางวันและกลางคืนเท่ากันในฤดูใบไม้ผลิ

ประชาชนบางส่วนที่ไม่รู้ข่าวว่าปีใหม่ย้ายไปเป็นวันที่ 1 มกราคมแล้ว และยังเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคมไปจนถึง 1 เมษายน กลับกลายเป็นเรื่องตลกขบขันและเรื่องหลอก และถูกเรียกว่าเอพริลฟูล การแกล้งแบบต่างๆในวันเอพริลฟูลยังรวมถึงการนำกระดาษรูปปลาไปแปะที่หลัง ซึ่งหมายถึง “ปัวส์ซงดาวิล” หรือปลาในเดือนเมษายน ซึ่งหมายถึงปลาที่ถูกตกง่าย ปลาที่อายุยังน้อย และคนที่ถูกหลอกได้ง่าย

นักประวัติศาสตร์ได้เชื่อมโยงวันเอพริลฟูลเดย์กับเทศกาลอื่นๆอย่าง “เทศกาลฮาลาเรีย” ซึ่งแปลว่า รื่นเริง ในภาษาละติน เฉลิมฉลองกันในยุคโรมโบราณในช่วงสิ้นเดือนมีนาคม โดยเหล่าสาวกของลัทธิซิบาลลี (Cybele) ในเทศกาลนี้ผู้คนจะแต่งตัวหลอกกันและหยอกล้อคนทั่วไป และได้รับแรงบันดาลใจเทพของอียิปต์อย่างไอซิส โอซิริสและเซธ

Advertisement

ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าเกี่ยวข้องกับวันวสันตวิษุวัต หรือวันแรกของฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ เมื่อพระแม่ธรณีแกล้งผู้คนด้วยสภาพอากาศที่คาดเดาไม่ได้

  • ประวัติวันเอพริลฟูลเดย์

วัน “เอพริลฟูลเดย์” เป็นที่รู้จักไปทั่วทั้งสหราชอาณาจักรในช่วงศตวรรษที่ 18 ที่สก็อตแลนด์ มีการเฉลิมฉลองถึง 2 วัน เริ่มด้วยการ”ออกล่าคนโง่” (hunting the gowk) ซึ่งเป็นการหลอกคนไปทำธุระปลอมๆ ต่อด้วยวัน “ไทลีย์เดย์” ซึ่งรวมถึงการแกล้งหลอกคน เช่น การปักหางปลอมหรือแปะป้าย “เตะฉัน” ไว้บนตัว

  • เหตุการณ์การหลอกระดับโลก

ปี 1990 สถานีวิทยุคิสเอฟเอ็มในประเทศอังกฤษหลอกว่าดวงจันทร์จะพุ่งชนโลก

Advertisement

ปี 2005 องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (นาซา) ได้เปิดเผยบนหน้าเว็บไซต์ขององค์กรว่า พบน้ำบนดาวอังคาร แต่เมื่อคลิกเข้าไปก็พบว่าเป็นรูปแก้วน้ำวางอยู่บนขนมยี่ห้อ Mars ซึ่งแปลว่าดาวอังคารในภาษาอังกฤษ

 

ปี 2008 – พิซซ่าฮัทเปลี่ยนชื่อเป็นพาสต้าฮัท บนเว็บไซต์ของตนเอง

– ค่ายรถยนต์ยักษ์บีเอ็มดับเบิลยู หลอกว่า มีเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ป้องกันสุนัขปัสสาวะใส่รถ โดยจะปล่อยกระแสไฟฟ้าไปช็อตสุนัขที่กำลังขับถ่ายอยู่
– กูเกิลหลอกว่ามีฟีเจอร์ “กูเกิลโนส” การค้นหาจากกลิ่น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image