ศูนย์ศึกษาการต่างประเทศ กับหนังสือดีที่น่าอ่าน Thai Diplomacy in conversation with Tej Bunnag (จบ)

ศูนย์ศึกษาการต่างประเทศ
กับหนังสือดีที่น่าอ่าน
Thai Diplomacy in conversation with Tej Bunnag (จบ)

คุณอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งมาเข้าร่วมในงานเปิดตัวหนังสือ Thai Diplomacy in conversation with Tej Bunnag ที่จัดโดย ศูนย์ศึกษาการต่างประเทศ (ISE) กล่าวว่า ผมได้นั่งฟังรายการนี้มาตลอดด้วยความสนใจและความรู้สึกปลาบปลื้มที่มีอดีตข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ที่เป็นผู้รู้เรื่องสำคัญคนหนึ่ง ได้ใช้ชีวิตส่วนหนึ่งถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ ความคิด และวีธีการทำงานต่างๆ ให้ข้าราชการปัจจุบัน และผู้ที่สนใจเรื่องการต่างประเทศได้รับรู้รับทราบ รวมทั้งในวงการนักวิชาการด้วย

ผมได้อ่านหนังสือของท่านทูตเตชแล้วและรู้สึกปลื้มที่มีคนออกมาพูด มาให้ความเห็น แสดงความกล้าหาญ วิธีคิดต่างๆ ซึ่งผมคิดว่าข้อสังเกตแรกคือท่านทูตเตชได้แสดงให้เห็นว่าเรื่องของการต่างประเทศนั้นมันไม่ใช่เรื่อง transactional แต่มันเป็นเรื่องของ process เวลาจะคิดทำอะไรแล้วมันต้องคิดถึงข้อบวกข้อลบ และชั่งน้ำหนักดูว่าจะเลือกทางไหน แต่ที่สำคัญที่สุดจะต้องคาดคะแนด้วยว่า consequneces หรือผลที่จะออกมาจะออกมาเป็นอย่างไร ไม่ใช่แค่บวกหรือลบอย่างเดียว process อันนี้มันเป็นกระบวนการที่ไม่เคยจบ

ข้อสังเกตข้อที่ 2 ที่อยากพูดก็คือข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่างๆ ในวันนี้โดยธรรมชาติก็ไปพาดพิงถึงการเป็นนักการทูตที่ดีว่านักการทูตควรจะเป็นคนอย่างไร แต่ผมอยากจะเพิ่มสาระของรายการนี้ด้วยการพูดอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องขอโทษด้วยที่ไม่เกี่ยวข้องกับหนังสือคือเรื่องของ structure เพราะมันเป็นจุดอ่อนของหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในขณะนี้เป็นจุดอ่อนของอเมริกาเป็นส่วนใหญ่ และเป็นจุดอ่อนของไทยและอาเซียนด้วย ผมไม่ได้มีดีเอ็นเอเป็นอาเซียน และก็ยังมีความหวัง แต่ไม่ได้มีความเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เราอยากเห็นว่าอาเซียนจะทำอะไรต่อไปจะเป็นสิ่งที่มีสาระจริงๆ มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของภูมิภาคนี้โดยส่วนรวมและโดยตรง

ความจริงการต่างประเทศปัจจุบันที่มันต้องดูแลอีกหลายเรื่อง เรื่องการค้า การเกษตร ทุกเรื่องทั้งหมด มันก็มีคำอีกคำซึ่งรวมมากขึ้นคือขณะนี้มันเป็นเรื่องของความมั่นคง ดังนั้นเรื่องการต่างประเทศกับความมั่นคงมันเป็น prominent part ซึ่งเป็นสิ่งที่โดดเด่นของนโยบายต่างประเทศในภาพรวม นโยบายมันไม่ยาก ทุกประเทศมีนโยบายต่างประเทศ แต่ตัวนโยบายมันมีสาระ หรือมันมีแก่นสารที่สำคัญจริงๆ หรือเปล่า อาจเป็นนโยบายที่พูดปาวๆ จะเคารพต่อสิทธิมนุษยชน เคารพกฎบัตรสหประชาชาติ แต่ไม่มีอะไรที่สามารถมองเห็นว่าได้ทำอย่างนั้นจริง เชื่ออย่างนั้นจริง มี action plan ไหม อธิบายให้คนเข้าใจได้มากน้อยแค่ไหน

Advertisement

คำถามคือนโยบายต่างประเทศไทยมีหรือเปล่า อาจจะมีแต่ทำไมมันหลบๆ ซ่อนๆ เหลือเกิน ผมก็ติดตาม ผมไม่อยู่ในฐานะที่จะรู้ได้เพราะไม่ได้มีตำแหน่งอะไร แต่ผมไม่รู้ว่ามีหรือเปล่า สองสังคมไทยรู้หรือเปล่าว่ามีไหน ไอ้มีมีแน่ แต่ที่มีเป็นเรื่องเป็นราวที่เราบอกว่ามันจำเป็นต้องมี สองมีความเป็นผู้นำหรือเปล่า ผมไม่รู้ สามถือว่าเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องชี้แจงอธิบายบอกเล่าให้พวกเราฟังหรือเปล่า ถ้าใครตอบคำถามผมสามข้อนี้ได้ผมจะสบายใจมากทีเดียว

การเมืองระหว่างประเทศทั่วไป มีนโยบายได้ มียุทธศาสตร์ได้ แต่คุณต้องมีเครื่องมือที่จะใช้ในการแปลนโยบายให้เป็นความจริง เครื่องมือที่จะใช้คืออะไร คือข้าราชการกระทรวงต่างๆ ปัจจุบันผมไม่รู้ว่าขรก.กต.ไทยได้มีโอกาสหรือได้มีการฝึกหัด ได้มีประสบการณ์จากผู้ใหญ่ที่จะสามารถเป็น vehical ให้ได้ไหม เพราะถ้าเรายังอยู่ในกรอบความคิดที่ว่าเรายังทำทุกอย่างโดยการใช้อำนาจ โดยการใช้กฎหมาย ในเรื่องของการต่างประเทศยิ่งทำไม่ได้ใหญ่เลย เพราะที่เมืองไทยรอดพ้นมาได้ 800 ปีจากความเฉลียวฉลาด จากความคล่องตัว ความไหวตัว ไม่ใช่เรื่อง resilience อย่างเดียวนะ เรื่องของความฉับไว agility ด้วย

Advertisement

สุดท้ายคำตอบคืออะไร pragmatism ซึ่งก็คือภาพสะท้อนของคำที่ว่า Diplomacy is the art of the possible หมายความว่าสิ่งที่เป็นปัจจัยหลักของความเข้มแข็งของการต่างประเทศหรือความมั่นคงของเราคือะไร คือการใช้ซอฟพาวเวอร์ซึ่งเมืองไทยมีมากเหลือเกิน แต่ยังใช้กันไม่ถูก เพราะตัวเองไม่รู้ว่าตัวเองมีอะไรดี

ที่ผมพูดมาเรื่อยนี่ก็ด้วยความประสงค์อย่างเดียวว่า การมีรายการประเภทนี้มันต้องได้รับการส่งเสริมจาก กต. และจากสถาบัน ISE โดยตรง ต้องจัดอีกเยอะๆ จะเป็นเรื่องอื่นด้วย อันนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่กองทุน ม.ร.ว.เกษมสโมสรกำลังจะอยู่ ถ้าสถาบันมีเงินทุนและมีผู้ทำงานอย่างถูกต้อง จะเป็นประโยชน์กับ กต.มากที่จะจัดรายการประเภทนี้

ด้าน คุณอาสา สารสิน อดีตราชเลขาธิการ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และอดีตปลัดกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวแสดงความชื่นชมหนังสือเล่มนี้ พร้อมทั้งเห็นว่าจุดอ่อนของเราที่คุณเตชพูดอยู่ในหนังสือมีอยู่เยอะแยะไปหมด เราเห็นความสำคัญของอาเซียนและประเทศเพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดต่อกัน ซึ่งรวมถึงประเทศลุ่มแม่น้ำโขง แต่สิ่งที่ขาดคือเรามีเป้าหมายชัดเจน แต่การเริ่มต้น (initiative) ที่จะทำให้มันเกิดขึ้นมันไม่มี เมื่อเรามีความริเริ่ม เรามีเป้าหมายอะไร เราต้องคิดถึงวิธีการว่าจะทำให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างไร สิ่งสำคัญไม่ใช่แค่เราคิด นโยบายก็คือนโยบาย แต่ต้องหาวิธีทำที่ทำให้บรรลุเป้าหมายของเราด้วย พร้อมกับยกตัวอย่างสมัยที่ได้ทำงานร่วมกับนายกฯอานันท์ว่าได้ปรึกษาว่าเวลามีน้อย จึงต้องโฟกัสในเรื่องที่ใกล้ชิดกับเราคือประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ลาว ที่ได้มีการดำเนินการเพื่อแสดงความจริงใจให้ได้เห็น รวมถึงแก้ไขปัญหาเรื่องเขมร ซึ่งที่สุดรัฐบาลคุณอานันท์ก็ให้เขมรไปคุยกันเองที่พัทยาและทำให้บรรลุข้อตกลงกันได้

ผมเชื่อในอาเซียน และเชื่อว่าในด้านเศรษฐกิจเราต้องพึ่งพาอาเซียน แตเราจะทำอย่างไรที่จะต้องกระตุ้นให้มันเกิดประโยชน์ร่วมกันมากที่สุด การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว อย่าไปอิจฉาริษยาเขา เวียดนามเขาเจริญอย่างไร มีการลงทุนมากกว่าก็ช่างเขา เมียนมาสำคัญกับเรามาก เราอยากเห็นเขามีสันติภาพเกิดขึ้น เราอยู่เฉยๆ หรืออยู่เงียบๆ ไม่ได้ เพราะฉะนั้นต้องทำอย่างไรเพื่อให้เขามีสันติภาพเกิดขึ้น อาเซียนเข้าไปเราไม่ว่า ใครทำยิ่งดีใหญ่ ใคนได้เครดิตเราส่งเสริม เพราะมันเป็นผลประโยชน์ของเราที่จะเห็นเมียนมาเจริญ มีสันติภาพ เขาเจริญเราก็เจริญไปด้วย สิ่งเหล่านี้คือเป้าหมายของเรา แต่จะทำอย่างไร ผมคิดว่าเวลานี้เราก็ทำอะไรอยู่เบื้องหลังหลายอย่างที่จะช่วยผลักดันให้มันเกิดสันติภาพ แต่มันไม่ใช่เรื่องง่าย เป็นเรื่่องยาก แต่เราก็ไม่ควรจะยุติ

นโยบายเป็นสิ่งที่ดี แต่เป็นผลประโยชน์ของเราที่จะต้องช่วยคิด ริเริ่ม ร่วมมือกับทุกหน่วยราชการ จะเป็นทหาร การค้า การลงทุน กระทรวงอะไรต่างๆ ต้องมาร่วมกันคิด จะผลักดันอย่างไรให้เรารวมเป็นกลุ่มเดียวกันได้ และผลักดันให้อาเซียนดูแลเรา เพราะเราเอง ประเทศไทยคนเดียวไปไหนไปไม่รอดหรอก มันเล็กเกินไป เราต้องดูเป็นกลุ่มประเทศใหญ่ที่ร่วมปรึกษาหารือกันอย่างจริงจัง หาวิธีการที่จะร่วมมือกันและผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่เรากำหนดไว้

ก่อนที่ คุณเตช บุนนาค จะกล่าวว่า ผมรู้สึกดีใจมากที่ท่านนายกฯอานันท์ และท่านราชเลขาฯอาสา ได้ร่วมในการเสวนาด้วย ผมขอบคุณผู้ที่อยู่บนเวทีทุกท่านที่ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ซึ่งมีประโยชน์และน่าสนใจอย่างยิ่ง สำหรับผมรู้สึกว่าคำถามที่ รศ.ดร.ศุภมิตร ปิติพัฒน์ ตั้งขึ้นเกี่ยวกับเรื่องการทูตของไทยเป็นคำถามมที่น่าสนใจมาก สำหรับนักการทูตอาชีพ ขรก.กต.แบบผม คำถามบางตอนที่เราทำงานอยู่ คำถามหนึ่งที่เราถามตัวเองคือเราเป็นตัวแทนของใคร เป็นตัวแทนของ กต. ของรัฐบาล หรือเป็นตัวแทนของใครบ้าง เราจะมีความรู้สึกเช่นนี้อยู่เสมอว่าเราเป็นผู้แทนของใครกันแน่ นี่เป็นอย่างหนึ่งที่เป็น Dilemma ในเวลาที่เราทำงานอยู่

ส่วนคำว่า muddle through มันเป็นสิ่งที่ผมพูดอยู่เสมอ พูดอยู่ตลอดเวลา สำหรับในครอบครัวของผม ผมไม่ได้เป็นคนแรกที่พูดเช่นนี้ แต่คนที่พูดเช่นนี้คือคุณปู่ของผมเอง พระยาอภิบาลราชไมตรี คนที่ผมรักและนับถือมากที่สุด ซึ่งได้เป็นทั้งปลัดกต. และรมว.กต. ผมเห็นว่าการต่างประเทศของไทยมัน muddle through with method แล้ว method เราเอามาจากไหน เราก็เรียนรู้มาจากพี่ๆ และรุ่นปู่รุ่นพ่อ ซึ่งได้ muddle through มาด้วยความสำเร็จและด้วยความโดดเด่นตลอดมา เพราะฉะนั้นคำตอบของผมที่ถามว่ากระทรวงการต่างประเทศมี crisis of identity หรือเปล่า ผมตอบว่าไม่มี เรามี identity อยู่แล้ว

ผมชอบท่านนายกฯอานันท์เพิ่งไปพูดในงานเปิดตัวกองทุนเกษมรสโมสรเมื่อเร็วๆ นี้ว่า การต่างประเทศมันไม่ใช่เป็น transaction มันเป็น process ซึ่งผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง แล้ว process มันต้องมี agility และ process มัน never ending หมายความว่าอะไร process มันไม่ได้เกิดขึ้นในสุญญากาศ มันมีประวัติศาสตร์ มีที่มาที่ไป มาถึงจุดปัจจุบัน และมันก็ยังมีอนาคต ผมดีใจที่กระทรวงได้ฟื้นฟู ISE ขึ้นมาอกครั้ง โดยมี ท่านทูตอนุสนธิ์ ชินวรรโณ เป็นผู้อำนวยการ และแต่งตั้งให้ผมเป็นประธานของ ISC ด้วย สิ่งที่ท่านทูตอนุสนธิ์กำลังทำอยู่มีหลายอะไรต่ออะไรน่าสนใจมาก

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดหนังสือ Thai Diplomacy in conversation with Tej Bunnag ได้ที่เว็บไซต์ www.isc.mfa.go.th

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image