Revlon แบรนด์เครื่องสำอางดัง ยื่นล้มละลาย หนี้ท่วม 1 หมื่นล้านเหรียญ

Revlon
ภาพเฟซบุ๊ก : Revlon Thailand

Revlon (เรฟลอน) แบรนด์เครื่องสำอางดัง ยื่นล้มละลาย หนี้ท่วม 1 หมื่นล้านเหรียญ

เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน เว็บไซต์สำนักข่าว เดอะการ์เดียน รายงานว่า เรฟลอน (Revlon) บริษัทเครื่องสำอางขนาดใหญ่ที่มีสาขาทั่วโลก ได้ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอ การพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 11 ของกฎหมายล้มละลายแห่งสหรัฐ หลังมีภาระหนี้สิ้นสูงถึง 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับ การยื่นขอพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 11 จะเปิดโอกาสให้บริษัทดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แต่ก็ต้องกำหนดแผนการใช้หนี้ด้วย  โดยบริษัท เรฟลอน คาดว่าจะได้รับเงินกู้ก้อนใหม่จากเจ้าหนี้เป็นมูลค่า 575 ล้านเหรียญฯ โดยเงินกู้ก้อนดังกล่าวจะนำมาเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการต่อไป

ทั้งนี้ เรฟลอน ไม่เพียงต้องแบกภาระหนี้สินที่หนักหน่วงเท่านั้น ทว่าแบรนด์ยังประสบปัญหาด้านยอดขายที่ลดลง เมื่อต้องเผชิญหน้ากับรสนิยมด้านความงามที่เปลี่ยนไป ไม่เพียงจะต้องแข่งขันกับบรรดาแบรนด์เครื่องสำอางคู่แข่งเท่านั้น แต่ยังมีแบรนด์ที่ก่อตั้งโดยเหล่าคนดัง อย่าง ไคลีย์ คอสเมติกส์ (Kylie Cosmetics) ของ ไคลีย์ เจนเนอร์ และ เฟนตี้ บิวตี้ (Fenty Beauty) โดย รีฮานนา ซึ่งพวกเธอไม่มีค่าใช้จ่ายก้อนโตสำหรับการลงทุนในการสร้างการรับรู้ทางการตลาด เนื่องจากมียอดผู้ติดตามในโซเชียลมีเดียอยู่แล้ว

ปัญหาของเรฟลอน ยังรวมไปถึงการได้รับผลกระทบจากโรคระบาดอย่างโควิด-19 ซึ่งทำให้สูญเสียยอดการขายลิปสติก เนื่องด้วยผู้ควรส่วนมากต้องสวมแมสก์ โดยยอดขายลดลงถึง 21% ในปี 2020 และกลับมาเพิ่มขึ้น 9.2% ในปี 2022 หลังผู้บริโภคคลายล็อกดาวน์ และในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ ยอดขายก็เพิ่มขึ้นเกือบ 8 % ทำให้ทางบริษัทได้เริ่มเจรจากับผู้ให้กู้ก่อนที่หนี้จะถึงกำหนดชำระ เพื่อหลีกเลี่ยงการล้มละลาย

Advertisement

อย่างไรก็ตาม มีรายงานอีกว่า เรฟลอน ยังประสบกับปัญหาด้านการผลิตที่กระบวนการล่าช้าหลังการคลายล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ผู้บริโภคจึงหันไปใช้บริการแบรนด์อื่น แบรนด์เครื่องสำอางเจ้าดังจึงสูญเสียพื้นที่บนเคาน์เตอร์ให้กับแบรนด์ใหม่ๆ ไปไม่น้อย

อย่างไรก็ตามในเดือนที่ผ่านมา เรฟลอนก็เป็นเหมือนอีกหลายๆ บริษัทที่เผชิญกับความท้าทายในส่วนของการผลิตที่มีต้นทุนสูง บริษัทความงามเผยว่าในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ธุรกิจต่างประสบปัญหาในการเข้าถึงออเดอร์ของผู้บริโภค รวมไปถึงการขึ้นราคาของวัตถุดิบที่สูงขึ้นและการขาดแคลนแรงงานอย่างต่อเนื่องด้วย

ที่มา : 1 2.

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image