งานวิจัยใหม่หนุนทฤษฎี ‘ไวรัสโคโรนา’ แพร่จากป่าสู่คน

(แฟ้มภาพ) AP

งานวิจัยใหม่หนุนทฤษฎี ‘ไวรัสโคโรนา’ แพร่จากป่าสู่คน

การศึกษาใหม่ 2 ชิ้นให้หลักฐานเพิ่มเติมเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในตลาดที่ค้าสัตว์เป็นๆ ในอู่ฮั่นของจีน

งานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Science ออนไลน์เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ชี้ว่า ตลาดค้าส่งอาหารทะเลหัวหนาน ซึ่งเป็นตลาดขายส่งอาหารทะเลขนาดใหญ่และอาหารป่า น่าจะเป็นศูนย์กลางของการแพร่ระบาดในช่วงต้นๆ  โดยไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของโควิด-19 น่าจะแพร่กระจายจากสัตว์สู่คน 2 ครั้ง

คริสเตียน แอนเดอสัน ศาตราจารย์ภาควิชาภูมิคุ้มกันวิทยาและจุลวิทยาของสถาบันวิจัย Scripps ซึ่งเป็นผู้เขียนร่วนในงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุว่า แรกเริ่มเดิมทีเขาค่อนข้างมั่นใจในทฤษฎีที่ว่าไวรัสดังกล่าวรั่วไหลออกมาจากห้องทดลอง จนกระทั่งได้เจาะลึกในประเด็นดังกล่าวด้วยความระมัดระวังและมองเข้าไปใกล้มากยิ่งขึ้น โดยพวกเขาพบคลัสเตอร์ผู้ป่วยภายในตลาด และยังเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่เฉพาะเจาะจงลงไปว่าเป็นพวกที่ขายสัตว์ป่าอย่างแรคคูน ซึ่งง่ายต่อการติดเชื้อไวรัสโคโรนา

ในการศึกษาชิ้นหนึ่งไมเคิล วอโรบีย์ นักชีววิทยาด้านวิวัฒนาการของมหาวิทยาลัยแอริโซนาและเพื่อนร่วมงานของเขา ได้นำเอาข้อมูลที่นักวิทยาศาสตร์จีนรวบรวมไว้มาประกอบการพิจารณา เพื่อประเมินตำแหน่งของผู้ป่วย 150 รายตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 และยังมีแผนที่ของจุดที่พบผู้ป่วยในเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 โดยอาศัยข้อมูลจากแอปที่ให้ผู้ติดโควิด-19 ใช้เป็นช่องทางในการของความช่วยเหลือ

Advertisement

วอโรบีย์กล่าวระหว่างแถลงข่าวว่า คำถามคือจากกรณีของผู้ป่วยรายแรกๆ เหล่านี้ สถานที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่คือที่ไหน ซึ่งเมื่อดูแล้วก็พบรูปแบบที่ไม่ปกติ เพราะส่วนใหญ่แล้วพวกเขาอาศัยอยู่ใกล้ๆ หรือมีศูนย์กลางอยู่ที่ตลาดแห่งนี้

“ที่สำคัญคือสิ่งนี้ใช่ได้กับทุกกรณีในเดือนธันวาคม รวมถึงกรณีที่ไม่มีความเชื่อมโยงไปยังตลาด นั่นคือสัญญานที่บ่งชี้ว่า ไวรัสได้เริ่มแพร่กระจายในหมู่คนทำงานในตลาด จากนั้นก็แพร่กระจายต่อไปยังชุมชนท้องถิ่น”วอโรบีย์กล่าว

ในการศึกษาอีกชิ้นหนึ่ง นักวิทยาศาสตร์ได้วิเคราะห์จีโนมของไวรัสทั้งในและนอกประเทศจีน โดยเริ่มจากจีโนมแรกที่พบในเดือนธันวาคม 2562 ขยายไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โจเอล เวิร์ทไฮน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิวัฒนาการไวรัสที่มหาวิทยาลัยแคลฟอร์เนีย ซานดิเอโอ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมเขียนรายงานระบุว่า พวกเขาพบการสืบสาย 2 ทางคือ เอ และ บี โดยสายเอมีความคล้ายคลึงกับไวรัสโคโรนาในค้างคาวมากกว่า ส่วนสายบี ได้แพร่กระจายไปในมนุษย์ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่ในตลาด

Advertisement

เวิร์ทไฮน์กล่าวว่า ตอนนี้เขรู้แล้วว่ามันเป็นเหตุการณ์ที่ควรจะเกิดขึ้นเพียงแค่หนึ่งครั้งในช่วงชีวิตของเรา แต่มันกลับเกิดขึ้น 2 ครั้งในเวลาใกล้ๆ กัน โดยมีเงื่อนไขบางประการคือคนและสัตว์ที่อยู่ในบริเวณใกล้กัน และไวรัสสามารถแพร่จากสัตว์สู่คน รวมถึงแพร่จากคนสู่คน ทำให้สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการแพร่ระบาดลดลงภายใต้การเปลี่ยนแปลงหลายครั้งที่เกิดขึ้น ซึ่งเราเชื่อว่านั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น

นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่า ไวรัสได้กระโดจากค้างคาวมาสู่คน ไม่ว่าจะโดยตรงหรือผ่านสัตว์ชนิดอื่น อย่างไรก็ดีในเดือนมิถุนายน องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้มีการสืบสวนสอบสวนเชิงลึกว่า อาจมีความผิดพลาดในห้องปฏิบัติการเกิดขึ้นหรือไม่ ขณะที่หลายฝ่ายวิจารณ์ว่าองค์การอนามัยโลกปฏิเสธทฤษฎีที่ว่าไวรัสอาจรั่วไหลออกมาจากห้องทดลองเร็วเกินไป

ต่อคำถามที่ว่าพวกเขาสามารถหักล้างทฤษฎีว่าไวรัสรั่วไหลออกมาจากห้องทดลองได้แล้วหรือไม่ แอนเดอร์สันกล่าวว่า “ไม่ พวกเรายังไม่มี” แต่เขาคิดว่าสิ่งที่สำคัญจริงๆ คือสถานการณ์ที่เป็นไปได้ และมีสถานการณ์ที่คิดว่ามันเป็นไปได้ มันสำคัญมากที่จะต้องเข้าใจว่า ความเป็นไปได้นั้นไม่ได้แปลว่ามันมีโอกาสเท่าๆ กัน

ต้นกำเนิดของการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่แมทธิ อาลิโอตา นักวิจัยจากวิทยาลัยสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยมินนิโซตา กล่าวว่า ผลการศึกษาทั้ง 2 ชิ้นนี้ทำให้สมมติฐานเรื่องการรั่วไหลของไวรัสจากห้องปฏิบัติการถูกพักไว้ชั่วคราว  และเป็นหลักฐานที่น่าสนใจสำหรับสมมติฐานว่าโควิดมีต้นกำเนิดมาจากธรรมชาติ นี่อาจใกล้เคียงกับสิ่งที่จะสามารถเป็นหลักฐานเกี่ยวกับต้นกำเนิดของโควิด-19 มากที่สุด

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image