เกาหลีอพยพชาวบ้านครึ่งพัน หนีไฟไหม้วอด สลัมแห่งสุดท้ายย่านกังนัม โชคดีไร้ดับ

เปลวไฟและกลุ่มควันลุกท่วมในหมู่บ้านกูรยอง ซึ่งเป็นชุมชนแออัดในย่านกังนัม ในกรุงโซล ประเทศเเกาหลีใต้ เมื่อช่วงเช้าวันที่ 20 มกราคม (รอยเตอร์)

เกาหลีอพยพชาวบ้านครึ่งพัน หนีไฟไหม้วอด สลัมแห่งสุดท้ายย่านกังนัม โชคดีไร้ดับ

เมื่อวันที่ 20 มกราคม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ชาวบ้านราว 500 คน ถูกอพยพออกจากพื้นที่ หลังเกิดเหตุไฟไหม้ขึ้นที่หมู่บ้านกูรยอง ซึ่งเป็นสลัมแห่งสุดท้ายในเขตกังนัม ย่านธุรกิจอันโด่งดังและย่านของกลุ่มคนมีอันจะกินในกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อช่วงเช้าของวันศุกร์ (20 ม.ค.) นี้ โดยไฟได้ลุกลามเผาผลาญบ้านเรือนจนวอดวายถึง 60 หลังคาเรือน

เจ้าหน้าที่เร่งฉีดน้ำดับเพลิง (รอยเตอร์)

ไฟเริ่มลุกไหม้ขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 06.27 น. ในหมู่บ้านกูรยอง ซึ่งเป็นชุมชนแออัดตั้งอยู่ตอนใต้ของกรุงโซล โดยมีบ้านเรือนของประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่นี้มากกว่า 660 ครัวเรือน ซึ่งเจ้าหน้าที่ใช้เวลานานกว่า 5 ชั่วโมงจึงดับไฟลงได้

รอยเตอร์

เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเปิดเผยว่า มีบ้านเรือนราว 60 หลังในพื้นที่ 2,700 ตารางเมตร ถูกเผาทำลายเสียหาย หลังมีการระดมกำลังเจ้าหน้าที่ดับเพลิงราว 600 นาย พร้อมตำรวจและกำลังทหาร ตลอดจนเฮลิคอปเตอร์ 10 ลำ เข้าควบคุมเพลิง แต่โชคดีจนถึงขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

นางคิม อึน-ฮเย โฆษกหญิงกล่าวว่า ประธานาธิบดียุน ซอกยอล ของเกาหลีใต้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างปฏิบัติภารกิจเข้าร่วมในการประชุมเวิลด์อีโคโนมิก ฟอรัม ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้ร้องขอให้ดำเนินความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อลดความเสียหายและให้ระดมนักดับเพลิงและอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าไปช่วยเหลือในพื้นที่เกิดเหตุ

Advertisement
รอยเตอร์

ด้านนายอี ซังมิน รัฐมนตรีมหาดไทย ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ป้องกันความเสียหายและปกป้องผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ใกล้เคียงด้วย

หมู่บ้านกูรยอง เป็นหนึ่งในสลัมแห่งสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่ และเป็นสัญลักษณ์ของความเหลื่อมล้ำในประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 4 ของเอเชียแห่งนี้

พื้นที่นี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ น้ำท่วม และภัยพิบัติอื่นๆ ด้วยบ้านหลายหลังสร้างด้วยกระดาษแข็งและไม้

Advertisement
รอยเตอร์

ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้เผยแผนสำหรับการพัฒนาและย้ายถิ่นฐานใหม่หลังเกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นในปลายปี 2014 แต่ความพยายามดังกล่าวมีความคืบหน้าน้อยมาก ท่ามกลางการต่อสู้ที่ยืดเยื้อระหว่างเจ้าของที่ดิน ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งรวมถึงประเด็นการจ่ายชดเชยให้กับเจ้าของที่ดินและชาวบ้านในพื้นที่ดังกล่าวซึ่งส่วนใหญ่อาศัยอยู่อย่างผิดกฎหมาย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image