หน่วยงานสภาพอากาศอียูชี้ กรกฎาคมปีนี้ ร้อนสุดเป็นประวัติการณ์

หน่วยงานสภาพอากาศอียูชี้ กรกฎาคมปีนี้ ร้อนสุดเป็นประวัติการณ์

ศูนย์สังเกตการณ์การณ์สภาพอากาศโคเปอร์นิคัสของสหภาพยุโรป (อียู) ยืนยันในวันที่ 8 กรกฎาคมว่า เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ในโลก

ทั้งนี้ เดือนกรกฎาคมปีนี้เต็มไปด้วยคลื่นความร้อนและไฟป่าที่เผาผลาญในหลายจุดทั่วโลก ทำให้อุณหภูมิของเดือนกรกฎาคมสูงกว่าสถิติที่ร้อนที่สุดในปี 2019 ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 16.63 องศาเซลเซียส

ขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนกรกฎาคมในปีนี้ อุ่นขึ้นกว่าปี 1991-2020 ที่ 0.72 องศาเซลเซียส

Advertisement

โลกร้อนขึ้นประมาณ 1.2 องศาเซลเซียสตั้งแต่ช่วงปลายศตวรรษที่ 1800 โดยมีแรงผลักดันจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งทำให้คลื่นความร้อนยิ่งร้อนมากขึ้น นานขึ้น และบ่อยขึ้น ทั้งยังทำให้เกิดสภาพอากาศแปรปรวนรุนแรงขึ้น อาทิ พายุและน้ำท่วม

ศูนย์สังเกตการณ์การณ์สภาพอากาศโคเปอร์นิคัสระบุว่า คลื่นความร้อนเกิดขึ้นในหลายภูมิภาคในซีกโลกเหนือ รวมถึงทางตอนใต้ของยุโรป อุณหภูมิที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยนั้นเกิดขึ้นในหลายประเทศในอเมริกาใต้ และพื้นที่ส่วนใหญ่ของทวีปแอนตาร์กติกา

“ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิทั่วโลกในปี 2023 สูงเป็นอันดับ 3 จากสถิติเท่าที่เคยบันทึกมา จาก 0.43 องศาเซลเซียส ในระหว่างปี 1991-2020 เทียบกับ 0.49 องศาเซลเซียสในปี 2016 และ 0.48 องศาเซลเซียสในปี 2020 คาดว่าช่องว่างระหว่างปี 2023 กับปี 2016 จะแคบลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากครึ่งหลังของปี 2016 อากาศค่อนข้างเย็น แต่ในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2023 น่าจะอุ่นขึ้นเนื่องจากปรากฎการณ์เอลนีโญ

Advertisement

อุณหภูมิของมหาสมุทรโลกก็ยังสร้างสถิตใหม่ด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดความวิตกกังวลถึงสภาพอากาศของโลก สิ่งมีชีวิตในทะเล และชุมชนชายฝั่ง

ตามข้อมูลของศูนย์สังเกตการณ์การณ์สภาพอากาศโคเปอร์นิคัส อุณหภูมิของมหาสมุทรโลกเพิ่มขึ้นเป็น 20.96 องศาเซลเซียสในวันที่ 30 กรกฎาคม โดยอุณหภูมิที่ครองสถิติก่อนหน้านี้คือ 20.95 องศาเซลเซียสในเดือนมีนาคม 2016

ซาแมนธา เบอร์เกส รองผู้อำนวยการโคเปอร์นิคัสกล่าวว่า เราเพิ่งได้เห็นอุณหภูมิโลกและอุณหภูมิของพื้นผิวมหาสมุทรที่ทำสถิติใหม่เป็นประวัติการณ์ในเดือนกรกฎาคม สถิติเหล่านี้ส่งผลร้ายแรงทั้งต่อผู้คนและต่อโลก ที่ต้องเผชิญกับเหตุการณ์ด้านสภาพอากาศรุนแรงที่หนักหนาสาหัสขึ้นและถี่ขึ้นไปพร้อมๆ กัน

เบอร์เกสบอกด้วยว่า ปี 2023 ถือเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับ 3 อยู่ที่ 0.43 องศาเซลเซียสเหนือค่าเฉลี่ยล่าสุด โดยอุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียสเหนือระดับยุคก่อนอุตสาหกรรม

“แม้ว่ามันเป็นเป็นเพียงเรื่องที่เกิดขึ้นชั่วคราว แต่ก็แสดงให้เห็นถึงความเร่งด่วนต่อความพยายามอันทะเยอทะยานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักเบื้องหลังสถิติเหล่านี้” เบอร์เกสกล่าว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image