คอลัมน์ แกะรอยต่างแดน : พิพิธภัณฑ์สมอง ที่กรุงลิมา

AFP PHOTO / ERNESTO BENAVIDES

“สมอง” ถือเป็นหนึ่งในอวัยวะที่มีความลึกลับซับซ้อนอยู่มากที่สุดของร่างกาย ทาง โรงพยาบาลซานโต โตริไบโอ เดอ โมโกรเวโจ ในกรุงลิมา ประเทศเปรู จึงได้อุทิศห้องห้องหนึ่งทำเป็นพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาสำหรับเก็บอวัยวะที่มีความซับซ้อนอย่างสมองเอาไว้ เรียกว่า พิพิธภัณฑ์ประสาทพยาธิวิทยา

ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ก็จะมีทั้งสมองของผู้ป่วย และยังมีสมองของผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงรวมอยู่ด้วยกัน เพื่อไว้ให้นักวิจัยได้นำไปทำการศึกษา และเปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมสมองเหล่านี้อย่างใกล้ชิด

พิพิธภัณฑ์สมองแห่งนี้ ถือว่าเป็นแห่งเดียวในละตินอเมริกา และน่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์สมองที่มีอยู่ไม่กี่แห่งในโลกที่เก็บรวบรวมสมองเอาไว้ และเปิดให้ผู้คนทั่วไปได้เข้าชม

AFP PHOTO / ERNESTO BENAVIDES
AFP PHOTO / ERNESTO BENAVIDES

สำหรับโรงพยาบาลแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อกว่า 300 ปีก่อน และมีสมองรวบรวมอยู่ทั้งหมด 2,912 ชิ้นด้วยกัน แต่มีการนำมาจัดแสดงเพียงแค่เกือบ 300 ชิ้นเท่านั้น

Advertisement

ในแต่ละปีมีผู้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ราวๆ 20,000 คน มีทั้งคนภายนอกทั่วไป และนักศึกษาแพทย์

ภายในพิพิธภัณฑ์จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ส่วนแรกคือ ประสาทกายวิภาคศาสตร์, ส่วนที่สองคือ เด็กแรกเกิดที่มีความพิการ และส่วนที่สามคือ สมองที่ถูกทำลายเนื่องจากโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง อัลไซเมอร์ และไวรัสซิกา เป็นต้น

AFP PHOTO / ERNESTO BENAVIDES
AFP PHOTO / ERNESTO BENAVIDES

แพทย์หญิงไดอาน่า รีวาส นักประสาทพยาธิวิทยา ผู้ดูแลส่วนพิพิธภัณฑ์สมองแห่งนี้บอกเล่าถึงเรื่องราวของสมองมนุษย์เอาไว้ว่า น้ำหนักของสมองคนเราจะอยู่ที่ประมาณ 1.2-2.4 กิโลกรัม ขึ้นอยู่กับส่วนสูงและน้ำหนักของแต่ละคน รวมไปถึงเพศด้วย และสมองของผู้หญิงจะมีพัฒนาการที่มากกว่าของผู้ชาย ซึ่งสิ่งที่ทำให้มีความแตกต่างคือเรื่องของการพัฒนาการด้านการสื่อสาร ที่ผู้หญิงจะได้ใช้มากกว่าผู้ชาย

Advertisement

แพทย์หญิงรีวาสจะทำหน้าที่คอยให้คำแนะนำเกี่ยวกับสมองภายในส่วนจัดแสดงนี้ รวมไปถึงการสอนนักศึกษาแพทย์ที่จะต้องเข้ามาศึกษาสมองที่นี่ด้วย

โดยสิ่งที่จะแสดงให้นักศึกษาได้ดูก็คือสมองที่มีสุขภาพสมบูรณ์ แล้วก็สมองที่ป่วยจากโรคต่างๆ จากการกินอาหารที่ไม่ดีเข้าไป นอกจากนี้ก็ยังมีสมองบางชิ้นที่นำมาแสดงทั้งส่วนศีรษะจริงๆ ของมนุษย์ที่เสียชีวิตแล้ว

แต่ก็มีบางส่วนของที่จัดแสดงสมอง ที่ต้องอาศัยความกล้าหาญอย่างหนัก อย่างเช่น ส่วนของเด็กที่ป่วยเป็นภาวะงวงช้าง อันเป็นภาวะความผิดปกติของกะโหลกศีรษะที่ปิดไม่สนิท ทำให้ส่วนของสมองหรือเยื่อหุ้มสมองโผล่พ้นออกมา

 AFP PHOTO / ERNESTO BENAVIDES
AFP PHOTO / ERNESTO BENAVIDES

นอกกะโหลกศีรษะ ซึ่งจะมีการจัดแสดงทารกที่เสียชีวิตเนื่องจากความพิการหลังการคลอดเอาไว้ทั้งร่าง

“มีนักศึกษาราว 5 เปอร์เซ็นต์ที่กลัว และบางคนถึงกับอาเจียนเมื่อเข้ามาดูส่วนนี้” แพทย์หญิงรีวาสเล่า

ถ้าเป็นบ้านเราก็ต้องบอกว่า นอกจากพิพิธภัณฑ์สมองแห่งนี้จะมีไว้ให้ความรู้แล้ว ก็คงมีไว้ให้ “ปลง” ไปในตัวด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image