นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบ อนาคอนดา พันธุ์ใหม่ ในอเมซอน ใหญ่ที่สุดในโลก

นักวิทยาศาสตร์ ค้นพบ อนาคอนดา พันธุ์ใหม่ ในอเมซอน ใหญ่ที่สุดในโลก

สื่อต่างประเทศ รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบอนาคอนดายักษ์ สายพันธุ์ที่ไม่เคยมีการบันทึกมาก่อน ในอเมซอน ซึ่งพวกเขาระบุว่า สามารถเติบโตได้ยาว 7.5 เมตร และ หนักเกือบ 500 กิโลกรัม ทำให้มันเป็นงูที่ใหญ่ที่สุด และหนักที่สุดในโลก

จนถึงขณะนี้โลกรู้จักอนาคอนดา 4 สายพันธุ์ โดยชนิดที่ใหญ่ที่สุดคืออนาคอนด้าสีเขียว อาศัยอยู่ในเขตร้อนของอเมริกาใต้ เช่น แอ่งของแม่น้ำอเมซอน โอริโนโก และแม่น้ำ Esequibo รวมถึงแหล่งต้นน้ำขนาดเล็กบางแห่ง

อนาคอนดาเหล่านี้ พบในแม่น้ำและพื้นที่ชุ่มน้ำของอเมริกาใต้ เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องความเร็ว และความสามารถในการจัดการเหยื่อ โดยการขดตัวไปรอบๆ ทำให้หายใจไม่ออก และกลืนพวกมันทั้งหมด

Advertisement

การศึกษาที่ตีพิมพ์ใหม่ โดยได้ศึกษามานานหลายทศวรรษ พบว่า อนาคอนดาสีเขียวนั้น มีพันธุกรรมที่แตกต่างกันสองสายพันธุ์

นักวิจัยที่ทำงานร่วมกับชนเผ่าพื้นเมืองวาโอรานี จับและศึกษาตัวอย่างอนาคอนดาสีเขียวทางตอนเหนือ ที่เพิ่งตั้งชื่อใหม่หลายตัว ในภูมิภาคบาเมโน ในไบอัวเอรี วาโอรานี ในอเมซอน เอกวาดอร์

Advertisement

สายพันธุ์นี้ถูกพบระหว่างถ่ายทำซีรีส์ Pole to Pole ของ Disney+ ทางช่อง National Geographic กับวิล สมิธ

นักวิทยาศาสตร์ได้บันทึกภาพอนาคอนดาหลายตัวที่อยู่ในสายพันธุ์ใหม่ ซ่อนอยู่ในน้ำตื้นนอนรอเหยื่อ

ไบรอัน ฟราย ผู้เขียนที่ร่วมศึกษาจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ กล่าวว่า ขนาดของสิ่งมีชีวิตที่น่าทึ่งเหล่านี้น่าทึ่งมาก อนาคอนดาตัวเมีย 1 ตัวที่เราพบ มีความยาวถึง 6.3 เมตร มีรายงานว่า อนาคอนดาอื่นๆ ในพื้นที่มีความยาวมากกว่า 7.5 เมตร และหนัก 500 กิโลกรัม

ทั้งนี้ อนาคอนดาสายพันธุ์ใหม่นี้มีความแตกต่างทางพันธุกรรมกับอนาคอนดาสีเขียวตอนใต้ที่เคยรู้จักอยู่ 5.5%

นักวิจัยระบุว่า การค้นพบนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญในการอนุรักษ์อนาคอนดา ซึ่งเป็นสัตว์นักล่า

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์ฟรีค วอนก์ 1 ในผู้ค้นพบ ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอขณะที่ว่ายน้ำเคียงข้างกับงูอนาคอนดาอย่างไม่กลัว และว่า อนาคอนดาที่ใหญ่ที่สุดที่ฉันเคยเห็น ยาว 8 เมตร หนัก 200 กิโลกรัม

 

ดูโพสต์นี้บน Instagram

 

โพสต์ที่แชร์โดย Prof. dr. Freek Vonk (@freekvonk)

ที่มา Independent 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image