สุดอันตราย! โลกผลิตขยะพลาสติก 57 ล้านตันต่อปี
การวิจัยชิ้นใหม่ที่ศึกษาโดย Costas Velis ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยลีดส์ ซึ่งศึกษาจำนวนขยะที่ถูกผลิตขึ้นใน 50,000 เมืองและชุมชนเล็กๆ ทั่วโลก ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature ระบุว่า โลกผลิตมลพิษขยะพลาสติกกว่า 57 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นแค่ปริมาณมลพิษในสภาพแวดล้อมลักษณะเปิด ไม่รวมมลพิษขยะพลาสติกที่มาจากหลุมฝังกลบและขยะที่ถูกเผา และปริมาณมลพิษจำนวนนี้ได้กระจายตัวไปที่จุดที่ลึกที่สุดของมหาสมุทรจนถึงยอดเขาที่สูงที่สุด รวมถึงแทรกซึมเข้าไปในร่างกายของมนุษย์ด้วย
ใน 1 ปีมีมลพิษที่ถูกผลิตขึ้น 52 ล้านเมตริกตัน ซึ่งใหญ่เท่ากับสวนสาธารณะเซ็นทรัลพาร์ค และมีความสูงเท่ากับตึกเอ็มไพร์สเตท ในนครนิวยอร์ก
2 ใน 3 ของมลพิษมาจากประเทศกำลังพัฒนา ผลวิจัยชี้ว่า 15% ของประชากรทั่วโลกรู้สึกว่ารัฐบาลล้มเหลวในการบริหารจัดการขยะ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกาที่อยู่ใต้ทะเลทรายซาฮาราผลิตขยะพลาสติกออมามากที่สุด
งานวิจัยระบุว่า เมืองลากอสในไนจีเรียเป็นเมืองที่ผลิตมลพิษขยะพลาสติกมากที่สุด นอกจากนี้ กรุงนิวเดลีของอินเดีย กรุงลูอันดาของแองโกลา นครการาจีของปากีสถาน และกรุงไคโรของอียิปต์ ก็รั้งแชมป์เมืองที่ผลิตมลพิษขยะมากเป็นลำดับต้นๆ ด้วย
อินเดียซึ่งมีประชากรกว่า 255 ล้านคน ผลิตมลพิษขยะพลาสติกกว่า 10.2 ล้านตันต่อปี โดยมีมากกว่าปริมาณขยะที่ไนจีเรียและอินโดนีเซียผลิตถึง 2 เท่า จีนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ผลิตมลพิษขยะมากที่สุด อยู่ในอันดับที่ 4 ของโลก อย่างไรก็ดีในช่วงนี้ผ่านมาจำนวนมลพิษที่จีนผลิตขึ้นกลับลดลงอย่างเห็นได้ชัด
เพียงแค่ปากีสถาน บังกลาเทศ รัสเซีย บราซิล อินเดีย จีน และแองโกลา รวม 8 ประเทศ ผลิตขยะกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนมลพิษขยะพลาสติกทั้งหมดในโลก
งานวิจัยชิ้นนี้ระบุด้วยว่า ไมโครพลาสติกกำลังเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นกับชีวิตสัตว์ใต้ทะเล และยังภัยร้ายสำหรับสุขภาพของมนุษย์ ขณะที่การศึกษาชิ้นงานอื่นๆ พบว่ามีไมโครพลาสติกจำนวนมากที่อยู่ในน้ำดื่มและเนื้อเยื่อของมนุษย์ อาทิ หัวใจ สมองและอัณฑะ อีกด้วย