บัวแก้วออกคำเตือนแรงงานไทยก่อนเดินทางไปทำงานในประเทศตะวันออกกลาง

เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน  โดยกองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ ออกคำเตือนสำหรับแรงงานไทยก่อนที่จะเดินทางไปทางานในประเทศตะวันออกกลางระบุเนื้อหาดังนี้

กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย และสำนักงานแรงงานไทยในต่างประเทศทั่วโลก ดำเนินภารกิจในการคุ้มครองและช่วยเหลือแรงงานไทยที่ประสบปัญหาในการทำงานในต่างประเทศอย่างต่อเนื่องตามนโยบาย “การทูตเพื่อประชาชน ทุกแห่งหนเราดูแล” โดยปัจจุบันแรงงานไทยในภูมิภาคตะวันออกกลางมีสถิติการขอรับความช่วยเหลือเพิ่มขึ้นมาก เนื่องจากปัญหาต่างๆ อาทิ สัญญาจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม การถูกหลอกโดยนายหน้ามิจฉาชีพ และเกิดข้อพิพาทกับนายจ้าง เป็นต้น เพื่อปกป้องและคุ้มครองประโยชน์ของแรงงานไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปทำงานภูมิภาคตะวันออกกลาง กรมการกงสุลจึงขอประชาสัมพันธ์ข้อมูล “คำเตือนสาหรับแรงงานไทยก่อนที่จะเดินทางไปทางานในประเทศ ตะวันออกกลาง” ดังนี้

1. สัญญาจ้างงาน

1.1 ต้องศึกษาเงื่อนไขต่าง ๆ ของสัญญาจ้างงานให้รอบคอบ อาทิ อัตราค่าจ้าง ค่าแรงขั้นต่ำต่อวัน วันหยุด/ เงินสิทธิประโยชน์อันพึงได้จากสัญญาจ้างงาน การทำงานล่วงเวลา

Advertisement

1.2 แรงงานควรนำสัญญาจ้างงานมาให้ สอท. / สกญ. /สนง. การค้าฯ หรือ สำนักงานแรงงานไทยในต่างประเทศ รับรองนิติกรณ์เอกสารก่อน เพื่อตรวจสอบสัญญาจ้างงานให้ถูกต้องตรงตามกฎหมายท้องถิ่น และมีความเป็นธรรม

1.3 ก่อนเดินทาง ขอให้แรงงานติดต่อกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เพื่อสมัครเป็นสมาชิกกองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศด้วย เพื่อได้รับสิทธิในการคุ้มครองและได้รับความช่วยเหลือหากประสบปัญหาในกรณีต่าง ๆ เช่น เจ็บป่วย เสียชีวิต และมีข้อพิพาทในการว่าจ้างงาน เป็นต้น

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเงินเดือนและอัตราค่าจ้างในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ในปัจจุบันอัตราเงินเดือนและอัตราค่าจ้างรายวันไม่ได้สูงมากนักและไม่น่าจูงใจ

2. กฎหมายแรงงานท้องถิ่น

2.1 บางประเทศกฎหมายแรงงานกำหนดให้นายจ้างต้องอนุญาต (Exit Permit) ก่อนที่ลูกจ้างจะสามารถเดินทางกลับประเทศไทยได้ เช่น กาตาร์ และซาอุดีอาระเบีย

2.2 ในหลายประเทศ นายจ้างมักจะไม่เคารพและปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานท้องถิ่น และมักจะเอาเปรียบแรงงานที่ไม่เข้าใจกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ของประเทศนั้น ๆ เนื่องจากข้อจำกัดด้านภาษา

3. ข้อพิพาทความขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง

3.1 หากแรงงานไทยมีข้อพิพาทกับนายจ้าง นอกจากนายจ้างอาจจะยกเลิกสัญญาจ้างงานแล้ว นายจ้างอาจให้ลูกจ้างออกจากที่พักของแรงงาน ทำให้แรงงานไทยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการอยู่อาศัยเอง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่สูง

3.2 เมื่อมีข้อพิพาทแรงงานระหว่างนายจ้างกับแรงงานไทย กระบวนการยุติธรรมใช้เวลานาน ทำให้แรงงาน
ไทยเสียเปรียบในระหว่างการดำเนินการทางคดี อาทิ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดี (ค่าจ้างทนาย) ค่าใช้จ่าย
ในการดำเนินชีวิตประจำวัน รวมถึงค่าที่พักระหว่างการดำเนินคดี

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image