เวียดนามจะไปทางไหน? หลังการประชุมสมัชชาฯ ครั้งที่ 12

ปัจจุบันคนไทยส่วนใหญ่มักมองเวียดนามในฐานะ คู่แข่งทางเศรษฐกิจŽ อย่างเดียว ทั้งที่ในมิติการเมืองของเวียดนามก็มีความน่าสนใจไม่แพ้กัน

เพราะการเปลี่ยนขั้วอำนาจทางการเมืองในเวียดนามมีผลกับทิศทางดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโดยเฉพาะแก้ปัญหาหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ที่เป็นประเด็นร้อนกับจีนในขณะนี้

การประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม ครั้งที่ 12 ระหว่าง 21-28 มกราคม 2559 ที่ผ่านมาของพรรคคอมมิวนิสต์ เกิดคำถามขึ้นมาในหมู่ผู้ติดตามการเมืองเวียดนามว่า การที่ผู้บริหารสายปฏิรูปตกจากอำนาจ จะทำให้เวียดนามถอยหลังทางด้านการพัฒนาประเทศหรือไม่

คำตอบคือ ”ไม่Ž” เพราะกลุ่มผู้นำพรรคฉลาดพอ รู้ว่าการรักษาอำนาจและความอยู่รอดของพรรคคือ ”การขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ”Ž พวกเขารู้ดีว่าชาวเวียดนามส่วนใหญ่เอือมระอากับสงคราม อยากมีชีวิตสงบสุขและทำมาหากินเสียทีหลังบ้านแตกสาแหรกขาดมานานนับทศวรรษ

Advertisement

ต่อให้มีฝ่ายต่อต้านพรรค ในตอนนี้ก็ไม่มีพลังมากพอ แม้ไม่กี่ปีที่ผ่านมาพรรคจะผ่อนคลายให้มีการวิจารณ์บางประเด็น แต่พรรคก็ยังควบคุมการแสดงออกทางการเมืองอย่างเข้มข้น

เกือบทศวรรษที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเหงียนเติ๋นสุง (Nguyen Tan Dung) ที่กำลังจะหมดอำนาจ สร้างความโดดเด่นทำงานแบบ “One man showŽ” ในฐานะนักปฏิรูป และทำให้เศรษฐกิจเวียดนามก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว

ทว่า ตัวของสุงเองก็มีภาพเป็นนักการเมืองคอร์รัปชั่น มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ ทำให้เลขาธิการพรรคอย่างเหงียนฝูจ่อง (Nguyen Phu Trong) และประธานประเทศเจืองเติ๋นซาง (Truong Tan Sang) ต้องร่วมกันคานอำนาจ พยายามกลบภาพลักษณ์นักคอร์รัปชั่นนายกฯสุง เพื่อเรียกความเชื่อมั่นกลับคืนสู่พรรคมาตลอด

Advertisement

การขจัดนายกฯสุง ออกจากวงจรอำนาจในการประชุมครั้งนี้ จึงสำคัญมาก

การประชุมสมัชชาใหญ่ครั้งล่าสุดมีผลถึงอนาคตเวียดนามใน 5 ปีถัดไป ผลการประชุมซึ่งไม่ผิดคาดนักคือเลขาธิการพรรคเป็นคนเดิมคือ เหงียนฝูจ่อง วัย 71 ปี ผู้มีภาพลักษณ์โปร่งใสไร้การคอร์รัปชั่น เปี่ยมด้วยบารมี แม้ก่อนหน้าการประชุมสมัชชาใหญ่จะมีข่าวว่ามีคู่แข่งหลายคนมาขับเคี่ยวแต่ก็จบลงที่ชัยชนะของ “อำนาจเก่า บารมีเดิมŽ”

พิจารณารายชื่อ ”ผู้ถูกเสนอชื่อ”Ž ดำรงตำแหน่งสำคัญครั้งล่าสุดก็น่าสนใจ 1) ประธานประเทศ (Chu tich nuoc) ได้แก่ พลตำรวจเอกเจิ่นได่กวาง (Tran Dai Quang) 2) นายกรัฐมนตรี (Thu tuong chinh phu) ได้แก่ นายเหงียนซวนฟุก (Nguyen Xuan Phuc) และประธานสภา (Chu tich Quoc hoi) ได้แก่ นางเหงียนถิกิมเงิน (Nguyen Thi Kim Ngan)

พิจารณาสัดส่วนของ ”กรมการเมือง”Ž (Politburo หรือ Bo Chinh tri) ชุดใหม่ทั้ง 19 คน ที่มีอำนาจเหนือรัฐบาล ก็เห็นได้ว่าเป็นการผสมระหว่างสมาชิกพรรครุ่นเก่ากับใหม่

มีชุดเก่า 7 คน ที่เหลือเป็นชุดใหญ่และส่วนหนึ่งทำงานด้านเศรษฐกิจกับรัฐบาลชุดก่อน หนึ่งในนั้นมีผู้ว่าธนาคารกลาง (แบงก์ชาติ) ด้วย คนรุ่นเก่าที่เกิดสมัยสงครามต่อต้านฝรั่งเศสและอเมริกา อายุ 60 กว่าจนถึง 70 เริ่มหายหน้าไป

ผู้มีอำนาจเบอร์ 1 คือเลขาธิการพรรค ที่มาจากกลุ่มอำนาจเดิม ไม่มีประวัติเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ มีอายุที่มากและเป็นสายอนุรักษนิยม ทำให้เกิดคำถามว่า เขาจะดึงนโยบายการพัฒนาประเทศของเวียดนามให้ถอยหลังเข้าคลองหรือไม่

แนวโน้มว่าน่าจะ “ไม่”Ž แย่ที่สุดคือชะลอลง นอกจากนี้ ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจรายปีของเวียดนามนั้นไม่เคยต่ำกว่าร้อยละ 6 การเติบโตอย่างก้าวกระโดดนี้ก่อให้เกิดปัญหาเงินเฟ้อและช่องว่างมหาศาลระหว่างคนจนกับคนรวยในเมืองสังคมเวียดนาม ยังปรากฏว่ากิจการของรัฐหลายแห่งขาดทุน ทำให้ที่ผ่านมาต้องเปิดพื้นที่ให้นักลงทุนเอกชนและต่างชาติมากขึ้น และการเติบโตนี้คงต้องถูกกำกับอย่างใกล้ชิด

ส่วนประธานประเทศ พลตำรวจเอกเจิ่นได่กวาง อายุ 59 ปี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงตำรวจ (Bo truong Bo Cong an) ชีวิตการทำงานเดินมาทางสายราชการโดยตลอด โดยจบ ร.ร.นายร้อยตำรวจ จากนั้นไปเรียนต่อด้านกฎหมายและการเมือง ไม่มีประสบการณ์ทางเศรษฐกิจ มีแค่เรื่องที่เขาเคยพยายามปฏิรูประบบยุติธรรมครั้งหนึ่ง แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกและอาจไม่จำเป็นว่าประธานประเทศจะต้องเก่งเรื่องเศรษฐกิจ เพราะในทางปฏิบัติหน้าที่บริหารประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ที่นายกรัฐมนตรี

แต่น่าสนใจว่า การมีตำรวจเป็นประธานประเทศ กลับทำให้ตำรวจมีอำนาจเพิ่มขึ้น เพราะในเวียดนามทหารไม่มีบทบาทเพราะพรรคคุมกองทัพเสียอยู่หมัด คนที่มีบทบาทคือ “ตำรวจ”Ž

พูดง่ายๆ ว่า “ตำรวจทำงานให้พรรค พรรคใช้ตำรวจŽ” สอดส่องแทรกซึมสังคมเวียดนามเพื่อปกป้องฐานอำนาจ ที่น่าสนใจคือสื่อและนักวิชาการที่เกาะติดการเมืองเวียดนามหลายสำนักเห็นว่าประธานประเทศคนใหม่นี้มีประวัติไม่อดทนต่อกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง

ประเด็นด้านเสรีภาพในการแสดงออกจึงน่าจับตามอง เมื่อขึ้นสู่ตำแหน่ง

ส่วนนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เหงียนซวนฟุก มีอายุ 61 ปี พื้นเพเป็นชาวจังหวัดกว่างนาม เคยเป็นรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลของสุง เรียนจบด้าน Economic management จากมหาวิทยาลัยเศรษฐศาสตร์แห่งชาติ และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ทำงานด้านเศรษฐกิจมาตลอดโดยเฉพาะการส่งเสริมการค้าและการลงทุนในจังหวัดกว่างนาม-ดานัง

ในสายตาชาวเวียดนาม เขาไม่โดดเด่น ไม่เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติเท่านายกฯสุง แต่นั่นก็ไม่ใช่การตัดสินใจผิดพลาดของพรรค เหงียนซวนฟุก น่าจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อได้ และการขจัดกลุ่มก๊กของนายกฯสุงก็อาจเกิดขึ้นถ้าจำเป็น พรรคอาจควบคุมเหงียนซวนฟุกได้มากกว่าสุง เพื่อสางปัญหาที่สุงทิ้งเอาไว้

ชัยชนะของกลุ่มอำนาจเก่า บารมีเดิมในการประชุมสมัชชา ครั้งที่ 12 จึงไม่ใช่การก้าวถอยหลัง แต่เป็นการ reset อำนาจใหม่ ที่สำคัญกลุ่มผู้นำเก่าไม่ได้ติดกับดักทางความคิดและหลงอยู่ในยุคสงครามเย็น ตรงกันข้าม พวกเขาหันไปจับมือกับชาติตะวันตกเล่นเกมคานอำนาจกับจีน เห็นได้จากว่าที่ผู้นำใหม่เหล่านี้เคยเดินทางไปเยือนสหรัฐในปี 2015 และยังผลักดันให้ประเทศเข้าเป็นสมาชิกความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement หรือ TPP) โดยเชื่อว่าจะได้ประโยชน์ในแง่การพัฒนาเศรษฐกิจและการดำเนินนโยบายกับต่างประเทศ

ผู้นำชุดใหม่ของเวียดนามรุ่นนี้ หวังผลทางเศรษฐกิจกับ TPP มากกว่า ”ประชาคมอาเซียน”Ž ด้วยซ้ำ 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image