แพทย์อิตาลีอ้างผ่าตัด “เปลี่ยนหัวลิง” สำเร็จ วางแผนผ่าตัด “เปลี่ยนหัวมนุษย์” ปีหน้า

Dr. Niraj Desai (L) sews in a kidney to a recipient patient during a kidney transplant at Johns Hopkins Hospital June 26, 2012 in Baltimore, Maryland. Doctors from Johns Hopkins transplanted the kidney from a living donor into the patient recipient. AFP PHOTO/Brendan SMIALOWSKI (Photo credit should read BRENDAN SMIALOWSKI/AFP/GettyImages)

เว็บไซต์เดอะเทเลกราฟของอังกฤษรายงานเมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา ระบุว่าศัลยแพทย์ชาวอิตาลีอ้างว่าประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนศีรษะลิง ก่อนเตรียมดำเนินการผ่าตัดเปลี่ยนศีรษะมนุษย์ในช่วงปลายปีหน้า

ศาสตราจารย์เซอร์จิโอ คานาเวโร ศัลยแพทย์ชาวอิตาลี ผู้อำนวยการตูรินแอดวานซ์นูโรโมดูเลชั่นกรุ๊ป และทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัยแพทย์ฮาร์บิน มณฑลเฮย์หลงเจียง ประเทศจีน ได้เผยแพร่ภาพลิงที่มีศีรษะถูกเย็บส่วนคอติดเข้ากับตัวของลิงอีกตัวหนึ่ง โดยศาสตราจารย์คานาเวโรระบุว่า ทีมแพทย์นำโดยเสี่ยวปิง เรน ได้เชื่อมต่อเส้นเลือดเพื่อทำให้สมองไม่ได้รับความเสียหาย อย่างไรก็ตามทีมแพทย์ไม่ได้เชื่อมต่อกระดูกสันหลัง ดังนั้น หากลิงตัวดังกล่าวรอดชีวิตมันก็จะเป็นอัมพาต

ภาพลิงที่ทีมวิจัยอ้างว่าได้รับการปลูกถ่ายเปลี่ยนศีรษะแล้ว
ภาพลิงที่ทีมวิจัยอ้างว่าได้รับการปลูกถ่ายเปลี่ยนศีรษะแล้ว

“ลิงรอดชีวิตจากการผ่าตัดโดยระบบประสาทไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด” ศาสตราจารย์คานาเวโรระบุ และว่าลิงตัวดังกล่าวถูกปล่อยให้มีชีวิตอยู่เพียง 20 ชั่วโมงด้วยเหตุผลทางจริยธรรม

 

Advertisement

รายงานระบุด้วยว่า เสี่ยวปิง เรน ผู้นำทีมได้ทำการทดลองเพื่อหาวิธีป้องกันการบาดเจ็บจากกระบวนการผ่าตัดบางอย่างแล้วจากการทดลองกับศพมนุษย์

การทดลองดังกล่าวถูกรายงานในชุดงานวิจัย 7 ชิ้นที่เตรียมเผยแพร่ในวารสารเซอร์เจอรีแอนด์ซีเอ็นเอสนูโรไซน์สแอนด์เธอราพิวติกส์ โดยชุดงานวิจัยดังกล่าวอ้างด้วยว่า งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีการเชื่อมต่อกระดูกสันหลังซึ่งพัฒนาขึ้นโดย ศ.คานาเวโรนั้นมีเหตุผลรองรับหนักแน่น ขณะที่การทดลองในหนูทำให้หนูสามารถฟื้นฟูระบบสั่งการ ผลจากการสร้างตัวขึ้นใหม่ของเส้นใยสื่อประสาทได้

ข้อมูลประชาสัมพันธ์ก่อนหน้าการเผยแพร่ผลวิจัยระบุว่า “การผ่าตัดปลูกถ่ายศีรษะลิงเต็มรูปแบบซึ่งประสบความสำเร็จด้วยฝีมือทีมแพทย์นำโดยศาสตราจารย์เรนในจีนนั้น มีเป้าหมายเพื่อทดสอบระบบไหลเวียนและภาวะอุณหภูมิร่างกายที่ลดต่ำ ส่วนหนึ่งของวิธีการป้องกันความเสียหายของระบบประสาท” ข้อมูลระบุด้วยว่า ขณะนี้การวิจัยกับศพมนุษย์เป็นครั้งแรกนั้นกำลังดำเนินการอยู่ในจีน และจะมีการขยายขอบเขตการวิจัยต่อไป ขณะที่แผนในการผ่าตัดเปลี่ยนศีรษะมนุษย์เป็นครั้งแรก คาดว่าจะสามารถทำได้ในช่วงคริสต์มาส 2560

Advertisement
นายวาเลรี สปิริโดนอฟ ผู้ป่วยโรคสุญเสียกล้ามเนื้อชาวรัสเซีย
นายวาเลรี สปิริโดนอฟ ผู้ป่วยโรคสูญเสียกล้ามเนื้อชาวรัสเซีย

อย่างไรก็ตาม โทมัส โคชเรน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทจากศูนย์ชีวจริยธรรมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระบุว่า การเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวนั้นผิดแบบแผน “มันสร้างความตื่นเต้นก่อนที่ความตื่นเต้นจะได้รับการรับรอง มันทำให้ประชาชนไขว้เขวจากงานที่แท้จริงที่ทุกคนเห็นพ้องว่ามีรากฐานที่มีเหตุมีผล สิ่งที่ผมจะบอกได้ตอนนี้คือ การดำเนินการผ่าตัดดังกล่าวเป็นการโฆษณามากกว่าการสร้างวิทยาศาสตร์ที่ดี” โคชเรนระบุ

ทั้งนี้ ศาสตราจารย์คานาเวโรประกาศแผนการผ่าตัดเปลี่ยนศีรษะมนุษย์ครั้งแรกเมื่อปี 2557 โดยระบุว่าพร้อมที่จะผ่าตัดเปลี่ยนศีรษะมนุษย์ภายใน 2 ปี ขณะที่ผู้ป่วยคนแรกที่จะรับการผ่าตัดคือนายวาเลรี สปิริโดนอฟ ชาวรัสเซีย วัย 31 ปี ที่ป่วยเป็นโรคสูญเสียกล้ามเนื้อ

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image