ดนตรีเปลี่ยนโลก ‘ไทย-สหรัฐ’ ประสานเสียง

ดนตรีเปลี่ยนโลก นักดนตรีดังอเมริกันบินเวิร์กช้อป นศ.ศิลปากร ‘ไทย-สหรัฐ’ ประสานเสียง

เสียงดนตรีไม่เพียงฟังแล้วเกิดความเพลิดเพลิน หากฟังลึกซึ้งยังช่วยประเทืองปัญญา โดยเฉพาะด้านประวัติศาสตร์ อย่างเพลงแนวกอสเปล ที่เป็นการขับร้องเพลงประสานเสียงเพื่อสรรเสริญพระเจ้า ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โดยแผนกวัฒนธรรม นำมาเผยแพร่แก่นักเรียนนักศึกษาไทย ที่สนใจและศึกษาด้านดนตรี ภายใต้โครงการ “Oscar William & Band of Life”

โดยได้เชิญนักร้องเพลงโซลชื่อดัง “ออสการ์ วิลเลียม” และวงดนตรี Band of Life ซึ่งมีชื่อเสียงในสหรัฐ มาเวิร์กช็อปกับนักเรียนนักศึกษา คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ณ คณะดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ตลิ่งชัน

บรรยากาศเวิร์กช้อป

ออสการ์ วิลเลียม หัวหน้าวง Band of Life เล่าว่า เพลงแนวกกอสเปล มีพื้นฐานมาจากเพลงขับร้องประสานเสียงในโบสถ์ เป็นเพลงศาสนาของแอฟริกัน-อเมริกัน ซึ่งแต่ละเพลงได้บอกเล่าเรื่องราวตั้งแต่การอพยพของชาวแอฟริกันมายังสหรัฐอเมริกา ยุคทาส ช่วงที่มีการเรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมของคนผิวสีกับผิวขาว นอกจากเนื้อหาที่สรรเสริญพระเจ้า ยังได้ให้กำลังใจคนผิวสีในสมัยนั้น ซึ่งเราได้นำมาเผยแพร่ให้เด็กไทยได้สัมผัส ผ่านการเวิร์กช็อปวิธีการใช้เสียง รูปแบบการขับร้องเพลงต่างๆ ซึ่งต้องบอกว่าเด็กที่นี่เจ๋งมาก ทุกคนมีความกระตือรือร้น และทำออกมาได้ดีมาก

ออสก้าและทีมงาน

ออสการ์เชื่อว่าดนตรีเป็นภาษาสากล ที่สามารถรวมมนุษย์ทุกคนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน ไม่ว่าแต่ละคนจะมีชาติพันธุ์ เชื้อชาติ ความเชื่อ หรือภูมิหลังเป็นอย่างไร ฉะนั้นอยากฝากให้เด็กๆ ได้ใช้พลังบวกนี้ ช่วยกันเปลี่ยนแปลงโลก

Advertisement
บรรยากาศเวิร์กช้อป
บรรยากาศเวิร์กช้อป

ด้านนักศึกษากว่า 30 ชีวิต ถูกใจที่ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ อย่างนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาดนตรีแจ๊ซ คณะดุริยางคศาสตร์ ที่ต่างออกมาพูดเหมือนกันว่า “ควรมีกิจกรรมดีๆ อย่างนี้อีก”

เสื่อ-คมเมตต์ คงเมือง จากเด็กมัธยมศึกษาที่เรียนสายวิทย์-คณิตแต่ชื่นชอบการเป็นนักร้อง วันหนึ่งตัดสินใจหันเห่มาเรียนการขับร้องจริงๆ และทำออกมาได้ดีเสียด้วย เล่าทั้งรอยยิ้มว่า ผมได้พลังไปเยอะมาก เขาได้สอนเทคนิคหลายอย่าง เช่น การจะร้องเพลงให้ออกมาดี นักร้องนั้นควรต้องศึกษาเนื้อเพลงเพื่อให้เข้าใจเพลงนั้นๆ ก่อน เพื่อรู้สึกอินกับเพลงที่สุดในการร้อง ผมก็จะนำเทคนิคนี้ไปพัฒนาการร้องของผม แต่อนาคตผมมองไกลกว่าการเป็นนักร้องคือ การทำธุรกิจดนตรีและนวัตกรรมเสียง

คมเมตต์ คงเมือง

ส่วน แอม-ปทิตตา กิจสงวน ซึ่งเป็นคาทอลิกอยู่แล้ว ยิ่งรู้สึกชอบ เพราะเหมือนได้กลับไปโบสถ์อีกครั้ง เล่าด้วยแววตาสดใสว่า กิจกรรมนี้ทำให้เห็นข้อบกพร่องของตัวเอง เช่น เรื่องอายคอนแทคกับคนฟังเป็นสิ่งจำเป็นของนักร้องที่ดี ซึ่งจะนำไปปรับใช้กับการเป็นนักร้องร้านอาหารที่ทำเป็นอาชีพเสริมอยู่

Advertisement
ปทิตตา กิจสงวน

แอมใฝ่ฝันจะเป็นนักร้องอาชีพ หลังค้นพบตัวเองตั้งแต่ ม.4 ที่ตัดสินใจเรียนสายศิลป์-ดนตรี แม้ยอมรับว่าช่วงแรกเลือกเรียนตามเพื่อน โดยไม่รู้ว่าที่เรียนคืออะไร แต่เมื่อโอกาสเข้ามาและได้ไขว้คว้าอย่างเต็มที่ กลับกลายว่าผลลัพธ์ออกมาดี เธอจึงฝากถึงน้องๆ “ให้กล้าที่จะทำ เมื่อมีโอกาสเข้ามา”

ปิดท้าย นัต-ณัฐชยา ศรีนัมมัง นักร้องตัวเล็กแต่เสียงทรงพลัง เล่าว่า กิจกรรมได้ทำให้ตัวเองเปิดประสบการณ์ ทั้งเรื่องการฝึกฟังและพูดภาษาอังกฤษ อีกทั้งได้เรียนรู้เรื่องศาสนาไปด้วย และเทคนิคการร้องเพลง ที่นอกจากเข้าใจความหมายของเนื้อเพลง ต้องมองผู้ฟัง ยังมีเรื่องการเต้นบนเวทีไปด้วยได้


“นัตเชื่อเรื่องการสะสมประสบการณ์จะทำให้เราเป็นคนที่เก่งขึ้น ทุกวันนี้ที่ออกไปข้างนอก ไม่ว่าจะในบทบาทนักร้องร้านอาหาร ครูสอนร้องเพลง ทำให้เราได้เจอผู้คนฟังหลากหลาย เจอทีมงาน เจอเด็กที่มาเรียนร้องเพลง ทำให้นัตได้ศึกษาค้นคว้าว่าปัญหาที่เจอคืออะไร จะปรับแก้อย่างไร และนำมาประยุกต์ใช้กับตัวเอง” ณัฐชยาเล่าด้วยสีหน้ามีความหวัง ก่อนเล่าถึงความฝันว่า “อยากเป็นแอร์โฮสเตส”

เหล่านักศึกษายังได้แสดงฝีมือในงานแสดงดนตรี ที่ทำเนียบเอกอัครราชทูตสหรัฐ ประจำประเทศไทย และงานแสดงดนตรีที่ห้องสมุดเนลสันเฮย์ ถนนสุรวงศ์ เป็นเกียรติประวัติและความภาคภูมิใจของทุกคน

นักศึกษาร่วมงานแสดงดนตรีที่ทำเนียบทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย
นักศึกษาร่วมงานแสดงดนตรีที่ทำเนียบทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย
นักศึกษาร่วมงานแสดงดนตรีที่ทำเนียบทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image