‘ยูนิเซฟ’ ออกแถลงการณ์ ห่วงเด็กได้รับผลกระทบปิดโรงเรียน ชี้นักเรียน 1 ใน 3 เรียนทางไกลไม่ได้ เสี่ยงถูกทำร้าย    

MYITKYINA - July 20, 2020: Ethnic Kachin children study in a home-tuition inside their shelter-room while school-season is being delayed for months amid COVID-19, at Pa La Na IDP camp on the outskirts of Myitkyina, Kachin, Myanmar. CREDIT: Minzayar Oo - UNICEF

‘ยูนิเซฟ’ ออกแถลงการณ์ ห่วงเด็กได้รับผลกระทบปิดโรงเรียน ชี้นักเรียน 1 ใน 3 เรียนทางไกลไม่ได้ เสี่ยงถูกทำร้าย    

เมื่อวันที่ 20 มกราคม นางเฮนเรียตตา โฟร์ ผู้อำนวยการบริหาร องค์การยูนิเซฟ ออกแถลงการณ์ความว่า “ขณะที่เราได้เข้าสู่ปีที่สองของการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ทุกฝ่ายต้องพยายามทุกวิถีทาง เพื่อให้โรงเรียนสามารถเปิดได้อย่างต่อเนื่อง หรือจัดให้เป็นสถานที่ที่เปิดได้ในลำดับต้นๆ ในมาตรการ แม้ว่าจะมีหลักฐานมากมายที่ชี้ให้เห็นถึงผลเสียของการปิดโรงเรียน และแม้ว่าหลักฐานต่างๆ จะแสดงให้เห็นว่าโรงเรียนไม่ใช่สถานที่หลักของการแพร่เชื้อ แต่ประเทศต่างๆ ก็ยังคงเลือกที่จะปิดโรงเรียน และสถานศึกษา ซึ่งบางแห่งได้ปิดมาแล้วเกือบหนึ่งปี

การปิดโรงเรียนในประเทศต่างๆ ส่งผลกระทบต่อนักเรียนร้อยละ 90 ทั่วโลกในช่วงที่มีการแพร่ระบาดสูงสุด โดยเด็กนักเรียนกว่า 1 ใน 3 ไม่สามารถเรียนทางไกลได้ ประมาณการณ์ว่า เด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษาจะเพิ่มขึ้นถึง  24 ล้านคน ซึ่งเป็นระดับที่สูงที่สุดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และเป็นปัญหาที่เราพยายามทุ่มเทแก้ไขมาโดยตลอด

ทักษะการอ่านออกเขียนได้และการคำนวณของเด็กกำลังได้รับผลกระทบ อีกทั้งทักษะที่จำเป็นสำหรับการใช้ชีวิตท่ามกลางเศรษฐกิจโลกในศตวรรษที่ 21 ก็กำลังถดถอย นอกจากนี้ สุขภาพ พัฒนาการ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ของเด็กๆ ก็กำลังตกอยู่ในความเสี่ยง เด็กกลุ่มเปราะบางที่สุดกำลังเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด การไม่ได้กินอาหารที่โรงเรียน ทำให้เด็กจำนวนมากหิวโหยและมีภาวะโภชนาการที่แย่ลง การขาดปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆ และการไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวในแต่ละวัน ทำให้เด็กๆ ต้องสูญเสียสมรรถภาพทางกายและเกิดความเครียด และเมื่อขาดการสนับสนุนต่างๆ จากโรงเรียน ส่งผลให้เด็กๆ มีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการถูกทำร้าย การถูกบังคับให้แต่งงาน และการถูกใช้แรงงาน

Advertisement

แถลงการณ์ระบุอีกว่า นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมการปิดโรงเรียน จึงควรเป็นทางเลือกสุดท้าย หลังจากได้พิจารณาทางเลือกอื่นๆ ทั้งหมดแล้ว การตัดสินใจเรื่องการเปิดปิดโรงเรียนควรประเมินจากความเสี่ยงของการแพร่ระบาดในแต่ละพื้นที่ การปิดโรงเรียนทั่วประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม ในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดรุนแรง และระบบสาธารณสุขกำลังแบกรับภาระอย่างหนัก ซึ่งอาจจำเป็นต้องปิดโรงเรียน ก็ควรมีมาตรการคุ้มครองและช่วยเหลือ เพื่อให้เด็กบางกลุ่มสามารถเรียนต่อได้ในห้องเรียน เช่น กลุ่มเด็กที่เสี่ยงต่อความรุนแรงในบ้าน หรือเด็กที่ต้องพึ่งพิงอาหารที่โรงเรียน หรือเด็กที่พ่อแม่จำเป็นต้องออกไปทำงานนอกบ้าน

ในพื้นที่ๆ มีการล็อกดาวน์ โรงเรียนต้องเป็นสถานที่แรกๆ ที่เปิดก่อนเมื่อรัฐบาลเริ่มผ่อนปรนมาตรการ นอกจากนี้ ควรจัดชั้นเรียนพิเศษเพื่อช่วยให้เด็กที่ไม่สามารถเรียนทางไกล สามารถเรียนตามทันได้ เพื่อไม่ให้พวกเขาต้องถูกทิ้งไว้ข้างหลัง หากเด็กๆ ต้องเผชิญกับการปิดโรงเรียนต่อไปอีก 1 ปี ก็จะส่งผลกระทบต่อไปอีกหลายรุ่นอายุทีเดียว”

Arkan, 9 (right), studies at home while keeping a safe distance from his sister Siwi (left) during the COVID-19 outbreak in Jakarta, Indonesia, on 29 March 2020. In March 2020, the Jakarta provincial government closed all schools in the city in an effort to curb the spread of the COVID-19 virus.

Advertisement
MYITKYINA – July 20, 2020: Ethnic Kachin children study in a home-tuition inside their shelter-room while school-season is being delayed for months amid COVID-19, at Pa La Na IDP camp on the outskirts of Myitkyina, Kachin, Myanmar. CREDIT: Minzayar Oo – UNICEF
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image