รู้จัก…โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก หมอแนะ 3 วิธีสังเกตอาการ และการรักษาถูกวิธี

Baby with manifestations of food allergy on the face

รู้จัก…โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก หมอแนะ 3 วิธีสังเกตอาการ และการรักษาถูกวิธี

ผิวแห้ง คัน เกาจนแสบ นับว่าเป็นวงจรที่แม้แต่ในวัยผู้ใหญ่ต้องประสบและรู้สึกรำคาญใจ ซึ่งก็มีสาเหตุมากจากหลายปัจจัย ทว่าใน “เด็ก” ซึ่งพบได้บ่อยในกลุ่มเด็กอายุก่อน 1 ปีนั้นเมื่อเกิดผื่นผิวหนังอาจจะจัดการแก้ปัญหาด้วยตัวเองไม่ได้ ผู้ปกครองจึงต้องหมั่นคอยสังเกต และดูแลให้ถูกวิธีตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะไม่ฉะนั้นอาจจะเรื้อรังจนถึงตอนโตได้

พญ.ลิลรฎา อนันตรัมพร กุมารแพทย์เฉพาะทางโรคผิวหนัง ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพ เผยว่า โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) เกิดจากความผิดปกติของโครงสร้างผิวหนัง ทำให้ผิวหนังสูญเสียน้ำ เมื่อสูญเสียน้ำเยอะแล้วผิวจะแห้งและอักเสบได้ง่าย อาการมีตั้งแต่ระยะเฉียบพลัน กึ่งเฉียบพลัน และเรื้อรัง

ซึ่งในเด็กแต่ละช่วงอายุจะมีอาการแตกต่างกัน เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี มักพบบริเวณแก้ม หน้าผาก คอ แขนและขาด้านนอก ข้อมือและข้อเท้า ในเด็กโต มักพบบริเวณข้อพับ แขน ขา เท้า ข้อเท้า หากผู้ป่วยมีอาการแรกเริ่มของโรคนี้ตอนโต มักจะหายยากกว่าผู้ป่วยที่มีอาการตั้งแต่ตอนเด็ก

Advertisement

วิธีสังเกตคือ 1.มีผื่นแดง มีอาการคัน 2.ผื่นขึ้นตามบริเวณต่าง ๆ ของร่างกาย 3.ผิวหนังอักเสบเรื้อรังเป็นแล้วหายบ่อย ๆ 4. มีประวัติคนในครอบครัวสายตรงเป็นภูมิแพ้ ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคได้มากขึ้น เช่น จมูกอับเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis) ภูมิแพ้ผิวหนัง และหอบหืด

ในกรณีที่มีอาการไม่ครบทั้งหมด แต่มีอาการดังที่กล่าวใน 4 ข้อข้างต้น ร่วมกับ อาการร่วมเช่น รอบปากซีด ใต้ตาคล้ำ ขนคุด มีลักษณะคล้ายหนังไก่ ผิวหนังไม่เรียบ ผิวแห้งหรือลักษณะเป็นขุย ผิวแตกหน้าหนาว อาจเป็นบางบริเวณหรือเป็นทั่วร่างกาย เป็นอาการร่วมที่สามารถบ่งบอกว่าเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้เช่นกัน

พญ.ลิลรฎา อนันตรัมพร

เมื่อสังเกตอาการและเจอข้อบ่งชี้ดังกล่าวควรพบแพทย์เพื่อรักษาโดยเร็ว โดยแพทย์จะทำการพิจารณาลักษณะของผื่นที่เกิดขึ้นตามบริเวณต่างๆ และซักประวัติโดยละเอียด เพื่อทำการแยกโรคและหาวิธีรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่งมี 3 วิธีหลักๆ คือ

Advertisement

1.การดูแลผิวเบื้องต้นและการใช้ครีมเพิ่มความชุ่มชื้น แพทย์จะทำการสอนวิธีการทาครีมและสอนวิธีปฏิบัติตัวในการดูแลผิวอย่างถูกต้อง การลดปัจจัยที่ทำให้เกิดผิวแห้ง การเลือกใช้สบู่ และการอาบน้ำอย่างถูกวิธี

2 ใช้ยาทาเพื่อลดการอักเสบตามที่แพทย์สั่ง โดยแพทย์จะเลือกชนิดของยาให้เหมาะสมกับลักษณะ ตำแหน่งและความรุนแรงของผื่น ร่วมกับการสอนทายาอย่างถูกวิธี

3. รับประทานยา เพื่อลดอาการคัน โดยผู้ป่วยห้ามซื้อยามาทาหรือรับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะหากยาไม่ถูกกับโรคอาจส่งผลให้อาการแย่ลงได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image