ห่วงเยาวชนคิดไตร่ตรองน้อยลง เมื่อก้าวพลาด ใช้ ‘โลกของจิตใจ’ ช่วยก้าวพ้น

ห่วงเยาวชนคิดไตร่ตรองน้อยลง เมื่อก้าวพลาด ใช้ 'โลกของจิตใจ' ช่วยก้าวพ้น

ห่วงเยาวชนคิดไตร่ตรองน้อยลง เมื่อก้าวพลาด ใช้ ‘โลกของจิตใจ’ ช่วยก้าวพ้น

หลายคนเริ่มรู้สึกเหนื่อย ท้อแท้ กับการใช้ชีวิตและปัญหาที่เจอในแต่ละวัน จนบางคนคิดอยากจากโลกนี้ไป บางคนมีลักษณะจุดเดือดต่ำ อะไรกระทบจิตใจหน่อย ทำเอาเดือดพล่าน ชอบใช้ความรุนแรง จนติดคุกตาราง

จริงๆ เป็นเรื่องแก้ไขได้ หากเราทำความเข้าใจ ‘โลกของจิตใจ’ ซึ่งถอดหลักการมาจากพระคัมภีร์ โดย พาสเตอร์ ดร.อ็อกซู พาร์ค ผู้ก่อตั้งมูลนิธิเยาวชนสัมพันธ์นานาชาติ หรือ IYF (International Youth Fellowship) ในโอกาสที่มาบรรยายในงาน Education Keaders Forum ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “จิตใจเปลี่ยน การศึกษาเปลี่ยน” เพื่อแนะนำหลักสูตรการศึกษาเรื่องโลกของจิตใจ หรือ Mind Education จากประเทศเกาหลีใต้ ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

พาสเตอร์ ดร.อ็อกซู พาร์ค (คนขวา)

พาสเตอร์ ดร.อ็อกซู กล่าวว่า ยุคสมัยเปลี่ยนไป ทำให้เยาวชนมีความคิดไตรตรองน้อยลง อย่างเดี๋ยวนี้คนนิยมดูวีดิโอมาก ช่วงเวลาที่ดูทำให้การคิดไตร่ตรองได้น้อยและลดลง ทั่วโลกก็กำลังเผชิญสถานการณ์อย่างนี้ เมื่อเยาวชนมีความคิดไตร่คตรองลดลง จึงทำให้พวกเขาทำอะไรตามอารมณ์ ทำอะไรหุนหันพลันแล่น

“ตอนบราซิลเป็นเจ้าภาพจัดฟุตบอลโลก ปีค.ศ.2014 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียนยกมือถามครู เขาบอกครูว่าอยากดูฟุตบอลถ่ายทอดสด แต่ครูไม่อนุญาตเพราะอยากให้เรียนวิชานั้นให้จบก่อน แล้วค่อยดู แต่นักเรียนคิดว่าถ้าทำอย่างนั้นการถ่ายทอดสดคงจบไปแล้ว จึงเดินออกจากห้องไป เวลาผ่านมาปรากฏว่าโรงเรียนไฟไหม้ มารู้ว่าต้นเพลิงมาจากเด็กนักเรียนคนนั้น เรื่องนี้ถูกถ่ายทอดลงโซชียล และวันต่อมาโรงเรียนอีก 82 โรง ก็ไฟไหม้เหมือนกัน จากเหตุการณ์ข้างต้นวิเคราะห์ได้ว่า เกิดจากความไม่คิดไตร่ตรอง ว่าไฟไหม้โรงเรียนแล้วพวกเขาจะไปเรียนที่ไหน แล้วใครจะสร้างโรงเรียนใหม่ คนก่อเหตุจะได้รับโทษอย่างไร ซึ่งตอนกระทำเขาอาจไม่ได้คิดตรงนี้”

Advertisement

เปรียบเทียบกับอ่านหนังสือ ทำให้กระบวนการทาความคิดดำเนินอยู่ตลอด อ่านไปคิดไป กระทั่งปิดหนังสือก็ยังคิด แต่การดูคลิปวีดิโอทำให้คิดน้อยลง ความเพลิดเพลินยังทำให้ดูต่อเรื่อยๆ ฉะนั้นต้องสร้างโอกาสให้คนได้คิดเยอะๆ เริ่มจากการคิดไตร่ตรอง แม้คิดได้แล้วก็อยากให้คิดอีก แล้วเอามาเปรียบเทียบกัน ผลลัพธ์จะดีกว่าการคิดและทำแบบเร็วๆ ซึ่งนี่คือวิธีการพัฒนาตัวเองและประเทศเกาหลีใต้

  “ความคิดไตร่ตรองปรับใช้ได้หลายอย่าง อย่างการเสพและติดยาเสพติด หากเราคิดไตร่ตรอง จะพบว่าการเสพยาหากมีครั้งแรก ก็อาจมีครั้งที่สอง เมื่อเราติดยาต้องกระทบกับการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตแน่ เมื่อทุกอย่างพังสุดท้ายเราอาจต้องกลายเป็นขอทานหรือคุ้ยขยะกินรึเปล่า เมื่อคิดได้อย่างนี้เราก็จะไม่ไปเสพยา เพราะเรารู้แล้วว่าผลลัพธ์มันเป็นอย่างไร แต่เพราะคนเสพยาส่วนใหญ่ไม่คิดไตร่ตรองตรงนี้” พาสเตอร์ ดร.อ็อกซูกล่าว

เมฆินทร์ โสตะศรี

สำหรับหลักสูตร Mind Education มี 3 หัวใจสำคัญคือ การคิดไตร่ตรอง การคิดยับยั้งชั่งใจ และการแลกเปลี่ยน เริ่มจากการคิดแยกแยะและค้นพบตัวเอง เช่น ฉันเป็นคนอ่อนแอ จากนั้นยับยั้งความต้องการของตัวเอง เช่น ถ้าฉันยังทำแบบนี้ต่อไป ฉันต้องเจอปัญหาแน่นอน และสามารถแลกเปลี่ยนด้วยการสื่อสารกับผู้อื่น เช่น ช่วยฉันหน่อย งั้นเรามาทำด้วยกันไหม ซึ่งเรียนระยะสั้น 20 ชั่วโมง เรียนระยะยาว 40 ชั่วโมง

Advertisement

ปัจจุบันมีโรงเรียนในไทยใช้หลักสูตร Mind Education แล้ว 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนลินคอล์นเฮาส์ จ.ปทุมธานี เป็นโรงเรียนประจำสอนทั้งวิชาการและกิจกรรม เทียบวุฒิแบบ กศน.

โรงเรียนแห่งนี้ให้โอกาสเด็กและเยาวชนก้าวพลาด หรือมีปัญหาทางสภาพจิตใจเข้าเรียน อย่าง แม้ว-เมฆินทร์ โสตะศรี อายุ 19 ปี หนึ่งในนักเรียน เขาเผชิญปัญหาความรุนแรง ยาเสพติด ไม่มีความสุขในครอบครัว จนมีอาการซึมเศร้าและอยากจากโลกนี้ไป กินยารักษาโรคซึมเศร้าก็แล้ว บวชเณรก็ยังไม่หาย ทว่ากลับถูกปลดพันธนาการหลังได้มาเรียนในโรงเรียนแห่งนี้

เมฆินทร์ เล่าว่า ที่นี่ให้เด็กๆ ได้ทำกิจกรรม ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน และดูแลเหมือนคนในครอบครัว อย่างเวลาผมทุกข์ใจอะไร ผมสามารถไปปรึกษาผู้ก่อตั้งโรงเรียน ครู เจ้าหน้าที่ และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆ ได้ จากคนที่เคยโทษทุกอย่างรอบตัวว่าไม่ดี ทำไมผมโชคร้ายที่สุดในโลก ผมได้ค้นพบจุดอ่อนของตัวเอง ยอมรับ และค่อยๆ แก้ไขมัน ทำให้วันนี้ผมไม่ใช้ความรุนแรงและเสพยาอีกแล้ว ชีวิตผมตอนนี้กลับมามีเป้าหมายและคุณค่าอีกครั้ง

แม้วกับกิจกรรมในโรงเรียนลินคอล์นเฮาส์
แม้วกับกิจกรรมในโรงเรียนลินคอล์นเฮาส์

  หมั่นดูแลจิตใจ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image