ตั้งสมการวัตถุดิบ เมนูสุขภาพ ‘3 สูตร’ เข้าครัวทำเองได้

ตั้งสมการวัตถุดิบ เมนูสุขภาพ ‘3 สูตร’ เข้าครัวทำเองได้

ใครว่าเข้าครัวเป็นเรื่องยาก ลองนำ 3 สูตรต้นแบบที่ทาง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.)

โดย ผศ. ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาทางอุตสาหกรรมอาหาร ได้ตั้งสมการไว้ให้แล้ว ว่าเพียงแค่ใช้ “วัตถุดิบ” ตามนี้ นำไปคุกกิ้ง นึ่งผัดแกงทอด ปรุงรสนิดหน่อย  ก็จะได้มื้ออาหารที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ

เริ่มที่เมนูเอาใจสายเฮลธ์ตี้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีแพลนควบคุมน้ำหนัก รวมถึงผู้สูงอายุในครอบครัว กับเมนู “อกไก่ม้วนสอดไส้บรอกโคลี” ที่มีทั้งเนื้อไก่บริเวณอก บรอกโคลี แครอท นับได้ว่าทานแล้วอิ่มสบายท้องแน่นอน แถมไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำหนักอีกด้วย

เมนูนี้อุดมไปด้วยสารต่าง ๆ ดังนี้ ‘ไนอาซินหรือวิตามินบี 3’ (Niacin (Vitamin B3)) จากเนื้อไก่ ช่วยเผาผลาญไขมันและช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง โดยวิตามินในกลุ่มวิตามินบีทุกตัวจะช่วยเสริมการทำงานของสารสื่อประสาท ทำให้มีความจำดี ‘ซัลโฟราเฟน’ (Sulforaphane) และ ‘แกมป์เฟโรล’ (Kaempferol) จากบรอกโคลี ที่มีฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกัน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ป้องกันการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเชื้อมะเร็ง โรคหัวใจ และต้านโรคกระดูกพรุน ‘เบต้าแคโรทีน’ (Beta-carotene) และ ‘ฟาลคารินอล’ (Falcarinol) จากแครอท ช่วยต้านการอักเสบพร้อมป้องกันมะเร็ง

Advertisement
อกไก่ม้วนสอดไส้บรอกโคลี

ต่อด้วย “หมูสับคั่วกระชายกรอบ” เมนูทำง่ายที่ใช้วัตถุดิบหลักเพียง 3 ชนิด นำหมูสับไปคั่วในกระทะ ปรุงรส ก่อนโรยหน้าด้วย ‘กระชายและใบมะกรูด’ ทอดกรอบ ที่เมื่อทานรวมกันแล้วจะได้รสสัมผัสที่เผ็ดเล็กน้อยจากกระชาย ความหอมและกรอบจากใบมะกรูด และนุ่มละมุนกับหมูสับคั่ว

ซึ่งทั้งหมดนี้มีสารสำคัญจำนวนมาก เช่น ‘แกมป์เฟโรล’ (Kaempferol) และ ‘เควอซิทีน’ (Quercetin) ในกระชาย ที่มีฤทธิ์แก้อาการไอแห้ง  ‘เฮสเพอริดีน’ (Hesperidin) ในใบมะกรูด ที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกัน  รวมถึง ‘เรตินอล’ (Retinol) วิตามินที่ละลายในน้ำมัน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการมองเห็น

หมูสับคั่วกระชายกรอบ

ปิดท้ายด้วยเมนูแซ่บๆ “ผัดฉ่าทะเล” ที่มือพ่อครัวแม่ครัวมือใหม่อาจจะต้องระวังมีน้ำตา เพราะวัตถุดิบแต่ละอย่างนั้นเผ็ซซ! มาก แต่เมื่อได้ทานแล้วจะได้รับสารอาหารมากมาย

Advertisement

นอกเหนือจากสารอาหารที่ได้รับจากกระชาย ใบมะกรูด และข้าวโพดอ่อน ในเมนูก่อนหน้านี้ ยังมี ‘พิเพอรีน’ (Piperine) จากพริกไทยอ่อน ช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดของผู้ทาน ‘แคพไซซิน’ (Capsaicin) ในพริกชี้ฟ้า ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร ‘อัลลิซิน’ (Allicin) จากกระเทียม ต้านการอักเสบและอนุมูลอิสระ ทั้งยังป้องกันไม่ให้ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ‘โอเรียนทิน’ (Orientin) และ ‘ไวซีนิน’ (Vicenin) จากใบกะเพรา ช่วยรักษาหวัด แก้ปวดศีรษะ คลายเครียด มีฤทธิ์ต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ ต้านเชื้อแบคทีเรียด้วย

ผัดฉ่าทะเล
ผศ. ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล

แลกเปลี่ยนสูตรอาหาร สร้างสรรความอร่อยที่มีประโยชน์กันได้ที่ คลิก

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image