เตือน ‘กระดูกพรุน’ ภัยเงียบสาเหตุหลัก ‘กระดูกหักในผู้สูงอายุ’

ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ.2542 พบว่า อุบัติการณ์การเกิดกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุไทยสูงขึ้นจากปีละ 180 รายต่อแสนประชากรผู้สูงวัย เป็น 450-750 รายต่อแสนประชากรผู้สูงวัย ภายในปี พ.ศ.2568 และจากการศึกษาของ Cooper et al ในปี พ.ศ.2540 พบว่าผู้ป่วยกลุ่มนี้กว่า 20% จะเสียชีวิตภายใน 1 ปี โดย 40% ไม่สามารถเดินด้วยตัวเองได้ และมากถึง 80% ขาดความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเอง

นพ.เอกจิต ศิขรินกุล ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สร้างความทรมานในการใช้ชีวิต คือ กระดูกหัก คนส่วนใหญ่เข้าใจว่ากระดูกหักเพราะ “อุบัติเหตุ” แต่กระดูกหักในผู้สูงอายุนั้นมีภัยเงียบที่เป็นสาเหตุหลักของกระดูกหัก คือ “โรคกระดูกพรุน” เพราะไม่พบอาการใดๆ มาพบอีกทีเมื่อล้มแล้วเกิดกระดูกหักขึ้น

โดยแต่ละปี 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุมักประสบการลื่นล้มและครึ่งหนึ่งลื่นล้มมากกว่า 1 ครั้ง เมื่อผู้สูงอายุหกล้ม ร้ายแรงที่สุดก็คือ 20% ของผู้สูงอายุหกล้มแล้วกระดูกสะโพกหัก อาจมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้ภายใน 1 ปี ดังนั้น ผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหักจึงจำเป็นต้องได้รับการป้องกันการเกิดกระดูกหักซ้ำภายหลังการผ่าตัดร่วมด้วย

อาการที่สงสัยว่ามีกระดูกสะโพกหัก คือ หลังจากหกล้มจะมีอาการปวดบริเวณสะโพกข้างที่หัก ลุกเดินไม่ได้ หรือลงน้ำหนักขาข้างที่สะโพกหักไม่ได้ หากญาติพบผู้ป่วยหกล้มและสงสัยกระดูกสะโพกหักให้ผู้ป่วยพักในท่าที่สบาย พยายามอย่าเคลื่อนย้ายผู้ป่วย และโทรเรียกรถพยาบาลมารับผู้ป่วยไปตรวจโดยเร็ว

Advertisement

ดังนั้น การรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกหักจากการพลัดตกหรือหกล้มนั้นจะให้ความสำคัญกับกระดูกสะโพกเป็นหลัก ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาหรือผ่าตัดภายใน 24-48 ชม. ด้วยระบบการรักษาแบบ Co-management โดยให้ผู้เชี่ยวชาญสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary team) ร่วมดูแล ประกอบไปด้วย แพทย์ศัลยกรรม แพทย์ศัลยกรรมออโธปิดิกส์ อายุรแพทย์ผู้สูงอายุ วิสัญญีแพทย์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบำบัด เภสัชกรคลินิก นักโภชนากร และพยาบาล จะเข้าร่วมประเมินผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับในทุกๆด้านอย่างเป็นองค์รวม เพื่อร่วมวางแผนการรักษาร่วมกับผู้ป่วยและครอบครัว

เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาเดินได้ในสภาพเดิมในเวลาอันสั้น แพทย์จะใช้การผ่าตัดกระดูกสะโพกหักแบบแผลเล็ก โดยเทคนิคการรักษากระดูกหักแบบรถไฟใต้ดิน (Minimally Invasive Osteosynthesis, MIPO) เป็นการผ่าตัดตรึงกระดูกแบบแผลเล็ก ใช้อุปกรณ์เฉพาะในการทำทาง เพื่อสอดโลหะแกน หรือโลหะแผ่นใต้ชั้นกล้ามเนื้อผ่านตำแหน่งที่หัก โดยวางเหล็กแผ่นอยู่เหนือผิวกระดูก จากนั้นจึงเปิดแผลเล็กๆ เพื่อยึดกระดูกด้วยสกรูด้านบนและด้านล่างของตำแหน่งที่หัก โดยพยายามทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อให้น้อยที่สุด

Advertisement

นอกจากนี้ ยังมีเทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแนวใหม่ แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ โดยผ่าตัดเข้าจากด้านหน้าข้อสะโพกแนวใหม่ แบบไม่ตัดกล้ามเนื้อ (Direct Anterior Approach: DAA) เป็นการผ่าตัดทางด้านหน้า ระหว่างการผ่าตัดแพทย์จะใช้เครื่องฟลูออโรสโคป C-ARM ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการใส่ข้อสะโพกเทียม และประเมินความสั้นยาวของสะโพก จึงหมดห่วงว่าหลังผ่าตัดแล้วขาทั้งสองข้างสั้นยาวไม่เท่ากัน โดยแผลยังมีความยาวประมาณ 3-4 นิ้ว และตื้นมาก สำหรับสุภาพสตรียังสามารถซ่อนแผลใต้ขอบบิกินี (Bikini incision) ได้อีกด้วย คนไข้จะสูญเสียเลือดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว อาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดน้อย จึงสามารถเดินได้ตามปกติไม่ต้องกะเผลกเอียงตัว สามารถกลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมได้โดยไม่ต้องห่วงหากต้องลงน้ำหนักที่ข้อสะโพก มีความเสี่ยงของการหลุดของข้อสะโพกเทียมต่ำ คือ 0-0.5% ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดได้ในผู้สูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก คือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งจะพบได้ประมาณ 7-30% ในผู้ป่วยที่มีกระดูกสะโพกหัก สามารถป้องกันโดยให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวร่างกายและลุกเดินโดยเร็วหลังการผ่าตัด ร่วมกับการให้ยาป้องกันภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

ทางด้าน พญ.พัณณิดา วัฒนพนม ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ โรงพยาบาลกรุงเทพ กล่าวว่า ภายใน รพ.กรุงเทพ เรามี รพ.ชีวา ทรานสิชั่นนัล แคร์ เป็นโรงพยาบาลที่ให้บริการทางการแพทย์เพื่อดูแลสุขภาพระยะฟื้นฟูสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดและต้องการฟื้นฟูทำกายภาพบำบัด เช่น ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า ผ่าตัดกระดูกสะโพก และผู้ป่วยที่เป็นโรคทางระบบประส  าท เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อย่างอัมพาต อัมพฤกษ์ หรืออาการบาดเจ็บทางศีรษะ เป็นต้น โดยเป็นการทำงานร่วมกันของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุและเวชศาสตร์ฟื้นฟู พยาบาล นักกายภาพบำบัด ตลอดจนนักโภชนาการ

ทั้งนี้ เพื่อให้ครอบคลุมถึงสุขภาพร่างกาย จิตใจ แบบองค์รวม เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับไปใช้ชีวิตประจำวัน ช่วยเหลือตัวเองได้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image