‘ขี้หลงขี้ลืม’ หรือ ‘สมองเสื่อม’ เสี่ยง “อัลไซเมอร์” กันแน่

'ขี้หลงขี้ลืม' หรือ 'สมองเสื่อม' เสี่ยง "อัลไซเมอร์" กันแน่

‘ขี้หลงขี้ลืม’ หรือ ‘สมองเสื่อม’ เสี่ยง “อัลไซเมอร์” กันแน่

ช่วงนี้มีกระแสไวรัลในโลกออนไลน์กับคลิปชายรายหนึ่งกวาดพื้นอยู่ดีๆ แล้วกำลังจะโกยทิ้ง เลยเอาแขนหนีบไม้กวาดเอาไว้ พอจะกลับมากวาดอีกที เอ๊ะ ไม้กวาดหายไปไหน! เรียกว่าเป็นคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่สร้างรอยยิ้มและเสียงหัวเราะในโลกไซเบอร์ได้ไม่น้อยเพราะเป็นเหตุการณ์ที่บางครั้งก็เกิดขึ้นกับเราเหมือนกัน ทว่ากับหลายๆ คนที่ขี้หลงขี้ลืมเป็นประจำ อาจจะกลายเป็นเรื่องชวนเครียดไปเลยก็มี อย่างเช่น ลืมกุญแจบ้าน กุญแจรถ หาแว่นตาไม่เจอ ออกจากบ้านแล้วจำไม่ได้ว่าปิดแอร์แล้วหรือยัง?

สิ่งเหล่านี้หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งหรือเกิดเป็นความเรื้อรังก็สามารถเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเตือน “ภาวะสมองเสื่อม” หรือ “โรคอัลไซเมอร์” ได้

เริ่มต้นจากชวนเช็กไลฟ์สไตล์ว่าที่ทำอยู่เสี่ยงไหม กับข้อมูลจากเว็บไซต์โรงพยาบาลเพชรเวช ที่เผยแพร่บทความระบุถึง “5 สาเหตุของคนขี้หลงขี้ลืม” ไว้ดังนี้

1.พักผ่อนไม่เพียงพอพาขี้หลงขี้ลืม หากพักผ่อนไม่เพียงพอติดต่อกัน หรือนอนน้อยกว่า 7-8 ชั่วโมง จะทำให้สมองทำงานหนักต่อเนื่องจนเกิดความเหนื่อยล้าส่งผลให้เราไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย รวมถึงเกิดอาการขี้ลืมได้

Advertisement

2.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้สูญความจำชั่วขณะ การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือดื่มทุกวันจะส่งผลกระทบต่อสมองในส่วนของฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ซึ่งเกี่ยวข้องกับความทรงจำ การทำงานของสมองในส่วนนี้จะลดลงทำให้เกิดอาการหลงลืมในระยะเวลาที่ดื่มแอลกอฮอล์ ทำให้บางคนจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในช่วงเวลาดังกล่าว

3.สภาวะความเครียดสมองทำงานหนัก ไม่ใช่เพียงแค่ความเครียดเท่านั้น ความรู้สึกด้านลบที่ส่งผลต่อความรู้สึก เช่น ความกังวล หรืออารมณ์เศร้า ก็ส่งผลต่อความทรงจำเช่นกัน เนื่องจากเมื่อเราตกอยู่ในสภาวะเหล่านี้จะทำให้สมองหลั่งสารสื่อประสาทมากกว่าปกติ มีผลให้เกิดปัญหาด้านความจำ นอกจากนี้ยังเสี่ยงอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย

4.โรคบางชนิดและยา ผลข้างเคียงที่คาดไม่ถึง โรคบางโรคสามารถส่งผลต่อการทำงานของสมองในทางอ้อม เช่น โรคอ้วน ไขมันในเลือดที่สูงจะส่งผลให้สมองทำงานผิดปกติ และสามารถส่งผลต่อความทรงจำ นอกจากนี้การรักษาโรคด้วยยาบางชนิดยังมีผลข้างเคียงกับการทำงานของสมอง เช่น ยาระงับประสาท หรือยาลดไขมันในเลือด เป็นต้น

Advertisement

และ 5.การเปลี่ยนแปลงของร่างกายยากจะหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะอายุที่มากขึ้นในวัยตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ความจำอาจมีปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ ถึงแม้จะป้องกันได้ยาก แต่การดูแลตนเองให้เหมาะสมตามช่วงวัยจะสามารถช่วยรักษาสภาพของร่างกายให้เสื่อมช้าที่สุดได้

‘ขี้หลงขี้ลืม’ หรือ ‘สมองเสื่อม’ เสี่ยง “อัลไซเมอร์” กันแน่
‘ขี้หลงขี้ลืม’ หรือ ‘สมองเสื่อม’ เสี่ยง “อัลไซเมอร์” กันแน่

ขณะเดียวกัน ศูนย์อายุรกรรม คลินิกผู้สูงอายุ โรงพยาบาลนครธน ให้ความรู้ไว้ในเว็บไซต์ว่า อาการของโรคอัลไซเมอร์ต้องพิจารณาถึงทุกด้านไปพร้อมๆ กัน เช่น ความผิดปกติด้านความจำ ความคิด คำพูด และด้านพฤติกรรมหรือการกระทำ ดังเช่นอาการเบื้องต้นดังนี้ มีอาการหลงลืม เช่น หลงลืมสิ่งของ ลืมนัด จำเหตุการณ์หรือคำพูดที่เพิ่งผ่านมาไม่ได้ ลืมสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น ลืมวันสำคัญหรือเหตุการณ์สำคัญที่ผ่านมา, สับสนเรื่องเวลา สถานที่ ฤดูกาล กลับบ้านไม่ถูก หลงทิศทาง หรือไม่รู้ว่าจะไปสถานที่นั้นๆ ได้อย่างไร

จำบุคคลที่เคยรู้จัก เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวไม่ได้ คิดว่าเป็นคนแปลกหน้า, เวลาส่องกระจกมักจะคิดว่าไม่ใช่ตัวเอง คิดว่ามีคนอีกคนอยู่ในกระจกนั้นหรือมีคนอยู่ในห้องนั้นอีกคน, มีปัญหาเรื่องการพูด ลืม หรือเรียกสิ่งของไม่ถูก พูดคำหรือประโยคซ้ำๆ, ไม่สนใจในสิ่งที่เคยสนใจ เช่น กิจกรรมประจำวัน งานอดิเรก, มีปัญหาเรื่องการนับหรือทอนเงิน การใช้โทรศัพท์, มีพฤติกรรมที่อาจเกิดปัญหายุ่งยาก เช่น ออกนอกบ้านเวลากลางคืน พฤติกรรมก้าวร้าว, ไม่สนใจดูแลความสะอาดของตัวเอง เช่น แปรงฟันไม่เป็น อาบน้ำไม่เป็น และซึมเศร้า ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล

หากมีอาการผิดปกติ มีปัญหาดังกล่าวข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่าอาการตามข้างต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที

ทั้งนี้ในด้านของการป้องกันและลดความเสี่ยงสมองเสื่อม มีข้อแนะนำดังนี้

1.หากมีอาการหลงลืมจากผลข้างเคียงของยา การดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สามารถลดภาวะการเจ็บป่วย ลดปริมาณยาที่ต้องทานได้

2.ภาวการณ์ขาดน้ำก็เป็นอีกสาเหตุ หากร่างกายขาดน้ำอย่างรุนแรงอาจส่งผลให้เกิดอาการสับสน เวียนศีรษะ หลงลืม และอาการอื่นๆ ที่เหมือนกับโรคสมองเสื่อม ดังนั้น จึงควรดื่มน้ำตลอดให้เพียงพอ จำนวน 6-8 แก้วต่อวัน

3.รับประทานผัก ผลไม้จำนวนมาก และดื่มชาเขียว เพราะอาหารเหล่านี้อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมสร้างสุขภาพของเซลล์สมอง และอาหารที่อุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า

3 ในปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเทราต์ วอลนัต และเมล็ดแฟล็กซ์ มีประโยชน์ต่อสมองและความทรงจำ

4.ฝึกสมองโดยการเล่นเกมที่เกี่ยวกับความจำหรือคำนวณตัวเลข

5.หลีกเลี่ยงความเครียด และ6.พยายามทำสิ่งใหม่ๆ เช่น อาหารสูตรใหม่ เครื่องดนตรี หรือภาษาใหม่

   ฝึกสมองไม่เสื่อม

‘ขี้หลงขี้ลืม’ หรือ ‘สมองเสื่อม’ เสี่ยง “อัลไซเมอร์” กันแน่
‘ขี้หลงขี้ลืม’ หรือ ‘สมองเสื่อม’ เสี่ยง “อัลไซเมอร์” กันแน่
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image