‘งูสวัด’ ภัย(ไม่)เงียบ อันตรายกว่าที่คิด ปล่อยไว้เสี่ยงตาบอด ติดแล้วมีโอกาสติดซ้ำ?

‘งูสวัด’ ภัย(ไม่)เงียบ อันตรายกว่าที่คิด ปล่อยไว้เสี่ยงตาบอด ติดแล้วมีโอกาสติดซ้ำ?

หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับ ‘โรคงูสวัด’ และ ‘โรคอีสุกอีใส’ เป็นอย่างดี ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นภัยเงียบที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย โดยมีต้นกำเนิดจากไวรัสชนิดเดียวกัน โรคงูสวัดยังเจอในคนที่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน ขณะเดียวกันผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องก็มีโอกาสเป็นงูสวัดได้เช่นเดียวกัน

พญ.ปาริชาติ เมืองไทย แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลพริ้นซ์ ศรีสะเกษ ในเครือพริ้นซ์เพิลเฮลท์แคร์ อธิบายอาการของโรคงูสวัดว่า เป็นโรคปลายประสาทที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus หรือ VZV) บ่อยครั้งพบว่าเชื้อหลบอยู่ในปมประสาท จึงมักพบในผู้ป่วยที่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อน หรือกลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มผู้ป่วยที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง อีกทั้งยังมีปัจจัยร่วมเรื่องของการพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งจะแตกต่างกับโรคอีสุกอีใสที่แม้จะมีตุ่มน้ำขนาดเล็กเช่นเดียวกัน แต่จะเป็นในลักษณะกระจายทั่วร่างกาย พบบ่อยในเด็กอายุน้อย โดยจะเป็นเพียงครั้งเดียว และไม่เป็นซ้ำอีก

พญ.ปาริชาติ เมืองไทย

แต่ถึงอย่างนั้นก็มีโอกาสเป็นงูสวัดในอนาคตได้

Advertisement

ตำแหน่งที่น่ากลัวของการป่วยโรคงูสวัด คือ บริเวณแนวเส้นประสาทที่เลี้ยงใบหน้า โดยเฉพาะดวงตา หากปล่อยไว้อาจเสี่ยงตาบอด ดังนั้นหากเข้าข่ายอาการข้างต้น ควรพบจักษุแพทย์ทันที เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ถึงแม้อาการจะสงบแต่เชื้อไวรัสยังซ่อนอยู่ในปมประสาท หากร่างกายอ่อนแอ ก็มีโอกาสถูกกระตุ้นซ้ำ

ซึ่งโรคงูสวัดนั้นสามารถสังเกตอาการ และดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ก่อนพบแพทย์ โดยผู้ป่วยควรตรวจเช็คเป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ

  • ระยะแรกมักจะมีไข้ต่ำ ปวดเมื่อยตามตัวโดยเฉพาะบริเวณที่ปลายประสาทที่เริ่มอักเสบ
  • ส่วนระยะที่ 2 หากพบว่ามีเริ่มมีตุ่มขึ้นในบริเวณที่ปวด ให้รีบพบแพทย์เร็วที่สุด
  • เข้าสู่ระยะที่ 3 จะมีการเรียงตัวของผื่นตามแนวเส้นประสาท ส่วนใหญ่มักจะพบตามไขสันหลัง หรือบริเวณใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง
  • ในระยะเริ่มต้นเป็นตุ่มน้ำใสให้รักษาแผลให้สะอาด หากตุ่มน้ำแตกต้องอาจเกิดการติดเชื้อเพราะแบคทีเรียได้ ควรล้างแผลด้วยน้ำเกลือสะอาด และปิดแผลด้วยผ้าก๊อซ ถ้าปวดแผลมาก สามารถทานยาแก้ปวดได้ ที่สำคัญไม่ควรแกะ หรือเกาตุ่มงูสวัด เพราะอาจกลายเป็นตุ่มหนอง แผลหายช้า หรือเกิดแผลเป็นได้

ในปัจจุบันนั้น สามารถรักษาโรคงูสวัดไดด้วยวัคซีน โดยแบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1) Live-attenuated zoster vaccine ฉีดเพียงเข็มเดียว ฉีดได้ในผู้ใหญ่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป
2) Recombinant zoster vaccine ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทั้งหมด 2 เข็ม เว้นระยะห่าง 2-6 เดือน โดยฉีดในผู้ป่วยอายุ 50 ปี ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้ยากดภูมิคุ้มกันในอายุ 18 ปีขึ้นไป มีประสิทธิภาพสูงและระดับภูมิคุ้มกันอยู่นานอย่างน้อย 10 ปี

Advertisement

นอกจากนี้ กลุ่มเสี่ยงยังคงต้องดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ซึ่งจะช่วยทำให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งหลีกเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ โดยสามารถเข้าปรึกษาแพทย์ได้ ณ สถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือที่โรงพยาบาลในเครือพริ้นซิเพิล เฮลท์แคร์ทุกแห่ง ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที เว็บไซต์ : www.princhealth.com

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image