เพลียเรื้อรัง ส่งผลต่อสุขภาพกาย-ใจ แพทย์แนะวิธีแก้ให้ตรงจุด

เพลียเรื้อรัง ส่งผลต่อสุขภาพกาย-ใจ แพทย์แนะวิธีแก้ให้ตรงจุด

อาการเพลีย ไม่สดชื่น ไม่มีแรง อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่ว่าไม่ควรจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ทำให้เกิดการไม่สบายตัว เหนื่อยง่าย ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามตัว จนเกิดภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome หรือ CFS) นอกจากส่งผลต่อสุขภาพร่างกายแล้ว ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตใจ ให้หดหู่ ห่อเหี่ยว ท้อแท้ ไร้พลังงานที่จะใช้ชีวิตได้ตามปกติเหมือนอย่างเคยได้

พญ.กฤดากร เกษรคำ แพทย์ American Board of Anti-Aging Medicine จาก Addlife Anti-Aging Center ชั้น 2 ไลฟ์เซ็นเตอร์ (คิวเฮ้าส์ ลุมพินี) แนะนำวิธีการแก้ไขอาการเพลียเรื้อรัง โดยเริ่มต้นที่การหาสาเหตุ ซึ่งอาการอ่อนเพลีย อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่

-การทำงานหนักเกินไป พักผ่อนไม่เพียงพอ

Advertisement

-ประสิทธิภาพการผลิตพลังงานระดับเซลล์ไม่ดี

-ความเครียดสะสม

-อายุที่มากขึ้น

Advertisement

-โรคประจำตัวที่เป็นอยู่ เช่น เบาหวาน โลหิตจาง ภาวะตับทำงานผิดปกติ หรือการใช้ยารักษาโรคบางอย่าง เช่น การให้เคมีบำบัด การฉายแสง

-ฮอร์โมนไม่สมดุล ได้แก่ ฮอร์โมนไทรอยด์ ฮอร์โมนต่อมหมวกไต ฮอร์โมนเพศ โดยเฉพาะผู้ที่เข้าสู่วัยทอง

-ขาดวิตามินหรือแร่ธาตุบางชนิด เช่น วิตามินบี วิตามินดี แมกนีเซียม สังกะสี เป็นต้น

ซึ่งถ้าเราแก้ปัญหาไม่ตรงจุด หรือไม่ถูกวิธีก็จะกลายเป็นอาการเรื้อรังได้ พญ.กฤดากร แนะนำวิธีการแก้อาการอ่อนเพลียด้วยตัวเองง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันดังนี้

-รับประทานอาหารให้หลากหลายและดื่มน้ำให้เพียงพอ โดยอาจเพิ่มในส่วนของวิตามินบี วิตามินดี แมกนีเซียม สังกะสี ซึ่งพบได้ในอาหารประเภท ธัญพืช เนื้อสัตว์ นม ไข่ เป็นต้น

-นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้พักฟื้นอย่างเต็มที่

-หาวิธีผ่อนคลายความเครียด หากิจกรรมที่ชอบทำ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง นั่งสมาธิ เป็นต้น

-หลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ บุหรี่

-ออกกำลังกายสม่ำเสมอ แต่ไม่หักโหมเกินไปจนร่างกายเกิดอาการล้าได้

-การรับประทานอาหารเสริมที่ช่วยเพิ่มพลังงาน ลดอาการอ่อนเพลีย ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่ไม่มีเวลา หรือต้องการทางลัดเร่งด่วน เช่น Vitamin B Complex, CoenzymeQ10 , NMN เป็นต้น

ทั้งนี้ ถ้าหากลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตัวเองแล้วก็ยังไม่หาย อาจไปพบแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม ซึ่งในปัจจุบันการแพทย์ทางชะลอวัยและป้องกัน มีวิธีการตรวจหาสาเหตุของอาการเพลียจากภายในลึกถึงระดับเซลล์ ตรวจได้ละเอียดและดีกว่าการตรวจสุขภาพทั่วไป

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image