ภาพถ่าย ‘คนดัง’ ปลุกสังคม ‘ฉุกคิด’ เรื่องเพศ

หลายครั้งที่ผู้หญิงหลายคนที่เป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ มักถูกตั้งคำถามจากสังคมว่า ในวันนั้นคุณแต่งกายอะไร ในวันนั้นคุณยินยอมหรือเปล่า

คำถามเหล่านี้ ยิ่งเป็นการซ้ำเติม “สภาพจิตใจ” ที่บอบช้ำเข้าไปอีก

ซึ่งนี่คือมายาคติที่ครอบงำสังคมไทยมาช้านาน

แต่จากผลการวิจัยทั่วโลกยืนยันว่าความคิดนั้น “ไม่ถูกต้อง” เครื่องแต่งกายไม่ได้มีผลต่อการถูกข่มขืน แต่ปัญหาเกิดจากทัศนคติและความคิดว่าชายเป็นใหญ่ ที่ทำให้คนเลือกจะละเมิดสิทธิ คุกคามผู้อื่น

Advertisement

ทำให้ ซินดี้-สิรินยา บิชอฟ นางแบบชื่อดังของประเทศไทย เจ้าของแคมเปญ Don’t Tell me how to dress ร่วมกับมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล, สถานทูตแคนาดาประจำประเทศไทย จัดนิทรรศการพลังสังคมหยุดคุกคามทางเพศ ดึงเหล่าคนดังมาถ่ายแบบแฟชั่นจากฝีมือของ ณัฐ ประกอบสันติสุข กระตุ้นให้คนฉุกคิดเรื่องเพศ จัดแสดง ณ ไลฟ์สไตล์ ฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

จุดเริ่มต้นของโครงการนี้ ซินดี้-สิรินยา เผยว่า หลังจากที่ออกมาบอกสังคมว่าไม่เห็นด้วยว่าการแต่งกายล่อแหลมเป็นเหตุให้ถูกข่มขืน และไม่ว่าใครก็ไม่มีสิทธิบนเนื้อตัวร่างกายของผู้หญิง ทำให้สังคมให้ความสนใจเรื่องนี้มาก จนคิดว่าเสียงทุกเสียงมีพลัง จึงอยากทำโครงการที่จะเป็นช่องทางรื้อมายาคติที่เคยมีว่าผู้หญิงแต่งโป๊จึงโดนข่มขืน นำเอาคนในวงการมาถ่ายแฟชั่น นำเสื้อผ้าในวันเกิดเหตุจริงๆของผู้ถูกกระทำมาให้ดู ซึ่งเห็นได้ว่าไม่ว่าเพศใด หรือวัยใดก็ถูกคุกคามได้

ซินดี้-สิรินยา บิชอฟ

สอดคล้องกันกับความคิดของ ณัฐ ประกอบสันติสุข ที่มองว่าเรื่องนี้ไม่ควรมองเพียงการคุกคามทางเพศ แต่คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน การข่มขืนทั้งหมดเป็นเรื่องผิด และไม่ว่าเพศใดก็โดนคุกคามได้ และเมื่อได้มาทำงานกับทีมงานยิ่งรู้ว่าสาเหตุของเรื่องนี้มีอีกเยอะ ก่อนจะตกผลึกนำเรื่องการเคารพซึ่งกันและกันในสังคมมานำเสนอ เพื่อกระตุ้นเตือนสังคมให้มีจิตสำนึกในเรื่องนี้ มาดูแล้วจะได้คิดอะไรมากกว่านั้น ภาพแต่ละภาพจึงนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกัน ว่าดูแล้วรู้สึกอะไร คิดอะไร ซึ่งแต่ละคนมีสิทธิที่จะคิดต่างได้ ถือว่าเราเปิดพื้นที่ให้ถกเถียงกัน

Advertisement

นี่ยังเป็นโอกาสครั้งใหญ่ ที่เหล่าคนดังได้เวลาเปิดความคิดของพวกเขา ในประเด็น

“แต่งโป๊ ไม่ใช่สาเหตุของการข่มขืน”


เริ่มจาก แพร-วทานิกา ปัทมสิงห์ ดีไซเนอร์ชื่อดังของเมืองไทย กับภาพถ่ายที่ห่อตัวเองไว้ทั้งตัวเหมือนสินค้า เพื่อจะได้ไม่มีใครมายุ่งมาแกะออก เผยว่า ตอนที่เรียนมัธยมก็เคยมีประสบการณ์โดนลวนลามบ้าง แต่โชคดีที่เป็นคนไม่ยอม ออกมาสู้ทุกครั้ง แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่จะมีแรงต่อต้าน

หลายคนชอบมองว่าการที่ผู้หญิงแต่งตัวเซ็กซี่ อ่อยหรือเปล่า แต่แฟชั่นคือศิลปะ คือความมั่นใจ ความสวย เขาไม่ได้คิดถึงคนอื่นด้วยซ้ำ แค่อยากจะเพิ่มความมั่นใจให้ตัวเอง ปัญหาอยู่ที่คุณไม่มองค่าความเป็นมนุษย์ต่างหาก ทัศนคติชายเป็นใหญ่ต่างหากที่ต้องปรับสอดคล้องกันกับความคิดของ ณัฐ ประกอบสันติสุข ที่มองว่าเรื่องนี้ไม่ควรมองเพียงการคุกคามทางเพศ แต่คือการละเมิดสิทธิมนุษยชน การข่มขืนทั้งหมดเป็นเรื่องผิด และไม่ว่าเพศใดก็โดนคุกคามได้ และเมื่อได้มาทำงานกับทีมงานยิ่งรู้ว่าสาเหตุของเรื่องนี้มีอีกเยอะ ก่อนจะตกผลึกนำเรื่องการเคารพซึ่งกันและกันในสังคมมานำเสนอ เพื่อกระตุ้นเตือนสังคมให้มีจิตสำนึกในเรื่องนี้ มาดูแล้วจะได้คิดอะไรมากกว่านั้น ภาพแต่ละภาพจึงนำเสนอมุมมองที่แตกต่างกัน ว่าดูแล้วรู้สึกอะไร คิดอะไร ซึ่งแต่ละคนมีสิทธิที่จะคิดต่างได้ ถือว่าเราเปิดพื้นที่ให้ถกเถียงกัน

แพร-วทานิกา ปัทมสิงห์

เช่นเดียวกับนางแบบสาว ลูกเกด-เมทินี กิ่งโพยม มองว่า ไม่ว่าจะรู้จักหรือไม่ก็ตาม จะเป็นเพศชายหรือหญิง แต่ทุกคนเป็นคนเหมือนกัน ที่รู้จักเจ็บเป็น ผู้หญิงทุกคนไม่อยากเจ็บหรือถูกทำร้าย ไม่เพียงแต่ร่างกาย แต่ผู้หญิงทุกคนไม่ควรถูกบุกรุกในพื้นที่ส่วนตัว

อีกหนึ่งเสียงอย่าง ปอย-ตรีชฎา สาวทรานส์เจนเดอร์ที่ประสบความสำเร็จระดับเอเชีย มองว่า การเคารพกันต้องเคารพความแตกต่างทั้งความคิด ตัวตน และให้เกียรติกัน ซึ่งผู้หญิงที่มั่นใจและเคารพในความแตกต่างถือเป็นเสน่ห์ ส่วนค่านิยมนั้นเป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงได้ สิ่งที่ยึดถืออาจจะเริ่มมีเมื่อ 100 ปีที่แล้ว เมื่อบริบทเปลี่ยนไป สังคมเปลี่ยน เราควรจะสร้างกฎเกณฑ์ใหม่ในทางบวกเองต่างหาก

ปอย ตรีชฎา

ปิดท้ายด้วย แนท-อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์ มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2015 ก็เป็นอีกหนึ่งคนที่มองว่าการบอกว่าผู้หญิงแต่งโป๊เป็นที่มาของการข่มขืนเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ซึ่งผู้หญิงอาจจะอยากแต่งตัวเพื่อความมั่นใจตัวเอง ให้เข้ากับบรรยากาศและกาลเทศะ แต่คนไทยตีความกันจากรูปลักษณ์ภายนอก โทษผู้หญิง แนทเองเป็นคนที่โดนแล้วไม่ยอม จึงอยากจะส่งเสียงออกไปให้ทุกคนออกมา จะเป็นพลังในการเปลี่ยนทัศนคติของคนเราได้

แนท-อนิพรณ์ เฉลิมบูรณะวงศ์

โดยนิทรรศการจะเปิดให้ชมอีกครั้งที่ชั้น 4 หอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่วันนี้-15 กรกฎาคม


รื้อมายาคติ “โป๊ต้นเหตุข่มขืน”

จากการทำงานเรื่องความรุนแรงทางเพศ ของมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล พบว่าเครื่องแต่งกายไม่มีผลต่อการลงมือกระทำความรุนแรง

โดย รศ.อภิญญา เวชยชัย ประธานมูลนิธิฯ เปิดสถิติว่า จากการเก็บข้อมูลของมูลนิธิปี 2558 พบว่ามีการคุกคามทางเพศมากถึง 300 กว่ากรณี แต่ทั้งนี้นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะนี่เป็นแค่ตัวเลขของผู้ที่กล้าออกมาแจ้งความ กล้าออกไปรักษาที่โรงพยาบาล แต่ในความเป็นจริงมีผู้หญิงอีกจำนวนมากที่ต้องทนทุกข์อย่างโดดเดี่ยว

ซึ่งปัญหาที่แท้จริงคือ แอลกอฮอล์ ยาเสพติด รวมไปถึงทัศนคติชายเป็นใหญ่

“ที่เคยเข้าใจว่า ผู้หญิงที่ถูกกระทำมักอยู่ในวัย 10-20 ปี แต่ข้อมูลกลับพบว่าเด็กอายุ 1 ขวบ 8 เดือน หรือผู้หญิง 86 ปี ก็โดนคุกคาม ทั้งๆ ที่เป็นวัยที่ไม่สามารถไปยั่วยวนใครได้ นอกจากนี้ยังมีผู้ชายที่ถูกคุกคาม บ่งบอกว่าไม่ว่าเพศหรืออายุเท่าไหร่ก็ไม่ปลอดภัย ส่วนใหญ่แล้วยังพบว่าที่เกิดเหตุคือบ้าน ที่ทำงาน สถานที่ทางศาสนา ไม่ใช่ที่อโคจร และแต่งกายชุดประจำวัน”

“แต่สังคมกลับบอกว่าเพราะเขาแต่งตัวโป๊ นี่เป็นความเข้าใจที่ผิด เรื่องนี้ต้องไปแก้ที่ทัศนคติ ตั้งแต่ระบบการศึกษา ปลูกฝังให้เขาเข้าใจว่าไม่ว่าเพศใด ก็มีความเป็นมนุษย์เช่นกัน” รศ.อภิญญาเผย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image