ลดเสี่ยง”มะเร็งเต้านม”ด้วยวิธีปฏิบัติง่ายๆ

เพราะ 1 ใน 33 คน ของหญิงไทย มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านม เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จับมือ โรงพยาบาลวัฒโนสถ จัดกิจกรรม “รณรงค์ผู้หญิงไทยห่างไกลโรคมะเร็งเต้านม” เพื่อให้ประชาชนทั่วไปตระหนักถึงภัยของโรคมะเร็งเต้านม รวมทั้งให้บริการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องดิจิตอลแมมโมแกรมและอัลตราซาวด์เต้านมเคลื่อนที่ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายแก่ผู้ที่อาศัยในชุมชนบริเวณโดยรอบศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์

ศาสตราจารย์พิเศษ นพ.ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวัฒโนสถ เผยว่า จากสถิติล่าสุดในหนึ่งปีจะมีผู้ป่วยใหม่เพิ่มขึ้นถึง 12,600 คน แต่ด้วยเทคโนโลยีการวินิจฉัยโรคมะเร็งเต้านมมีความทันสมัยมากขึ้น จึงทำให้ผู้หญิงมีความเสี่ยงลดน้อยลง เนื่องจากหากพบความผิดปกติของเต้านมได้เร็วเท่าไหร่ โอกาสที่จะรักษาให้หายเป็นปกติก็จะสูงมากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงจากภัยมะเร็งเต้านมมากขึ้น

โดยมีข้อควรรู้ที่แพทย์แนะนำ คือ 1.ควรสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่าเราอาจเป็นมะเร็งเต้านม ได้แก่ คลำเจอก้อนแข็งที่เต้านม มีความเปลี่ยนแปลงของลักษณะผิวหรือมีสีเปลี่ยนแปลงที่เต้านม มีรอยบุ๋มของผิวหนังบริเวณเต้านม หัวนมบุ๋ม มีเลือดออกจากหัวนม เป็นต้น ควรตรวจเป็นประจำด้วยตนเองทุกเดือน 2.สาวๆ หลายคนกังวลว่าการเสริมหน้าอกจะทำให้ตนเองมีโอกาสเสี่ยงสูงในการเป็นมะเร็งเต้านมกว่าคนทั่วไป แต่ที่จริงแล้วมีความเสี่ยงเท่ากัน เพียงแต่การเสริมหน้าอกทำให้ตรวจหายากกว่าคนทั่วไป และ3.ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป หรือผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม อาทิ มีประวัติของคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมอายุน้อยกว่า 40 ปี มีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย กินยาคุมกำเนิดหรือยาฮอร์โมนทดแทนหลังวัยหมดประจำเดือน เป็นต้น ควรได้รับการตรวจมะเร็งเต้านม

ทั้งนี้ เราสามารถลดความเสี่ยงได้ง่ายๆ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และออกกำลังกายทุกวัน วันละ 30 นาที เพราะการออกกำลังกายจะทำให้การหลั่งของฮอร์โมนเพศหญิงลดลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านม

Advertisement

“โรคมะเร็งเต้านมมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้ โดยกลับมาเป็นใหม่น้อยมาก หากว่าเจอในระยะต้นๆ ดังนั้นเราควรหมั่นตรวจเต้านมเป็นประจำ” นายแพทย์ธีรวุฒิกล่าว

ด้าน นิทรา กิติยากร ณ อยุธยา เซเลบริตี้ผู้รักสุขภาพ กล่าวว่า ผู้หญิงส่วนใหญ่มักมีความกลัวที่จะไปตรวจมะเร็งเต้านม เพราะไม่อยากรู้ความจริง แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ง่ายต่อการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมมากขึ้น การรู้เร็วจะช่วยให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง และสามารถรักษาได้ทัน ทำให้มีชีวิตยาวนานยิ่งขึ้น

ลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านม

Advertisement

 

นายแพทย์ธีรวุฒิ คูหะเปรมะนายแพทย์ธีรวุฒิ คูหะเปรมะ

นิทรา กิติยากร ณ อยุธยา

นิทรา กิติยากร ณ อยุธยา

บรรยากาศกิจกรรมตรวจหามะเร็งเต้านม

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image