สอน ‘ลูก’ อยู่กับ ‘แมว’ ฉบับปรองดอง

นับเป็นปัญหายอดฮิตสำหรับคนรักแมวที่กำลังจะมีลูกน้อย เพื่อค้นหาคำตอบนี้

พาราไดซ์ พาร์ค ศูนย์การค้าในเครือ เอ็ม บี เค กรุ๊ป ในฐานะผู้จัดงาน “See Cat แมว 2 ปั้นน้องแมวสุดรักให้กลายเป็นซุป’ตาร์” ในวันที่ 14-16 กันยายนนี้ ได้เชิญ คุณหมอโจ-ผศ.ดร.ณัทธร ทิพยรัตน์เสถียร ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้ข้อมูลเพื่อปูพื้นฐานก่อนตัดสินใจนำน้องแมวมาอยู่กับลูกน้อย

คุณหมอโจ-ผศ.ดร.ณัทธร ทิพยรัตน์เสถียร เผยว่า มนุษย์ชอบสัมผัสที่อ่อนโยนเพราะถูกซึมซับมาจากตอนเป็นเด็กเล็กตั้งแต่ได้กอดแม่แล้วอบอุ่น ได้กอดตุ๊กตานิ่มๆ แล้วอุ่นใจ รวมถึงการได้สัมผัสสัตว์เลี้ยงขนฟูนุ่ม ดังนั้นเด็กที่เติบโตในบ้านที่มีสัตว์เลี้ยงจะมีความอ่อนโยน ให้ความสำคัญกับการอยู่เป็นครอบครัวและไม่รู้สึกว้าเหว่ เว้นแต่เด็กมีอาการแพ้ขนสัตว์ หรือโปรตีนในน้ำลายสัตว์ก็จะทำให้เด็กเจ็บป่วยได้ พ่อแม่จึงต้องคอยระวังเรื่องสุขภาพและการสร้างวินัยในการเลี้ยงดูสัตว์เลี้ยงกับเด็กมากเป็นพิเศษ โดยแบ่งตามช่วงวัย ดังนี้

“เด็กวัยแรกเกิด” เด็กวัยนี้ยังไม่สามารถดูแลตัวเองและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ จึงควรแยกเลี้ยงเด็กและสัตว์เลี้ยงคนละที่ก่อน ในกรณีที่เลี้ยงแมวควรพาสัตว์เลี้ยงไปพบสัตวแพทย์เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าปราศจากเชื้อโรค ฉีดวัคซีนครบ และพาเด็กไปตรวจภูมิคุ้มกัน สังเกตอาการเด็กว่าแพ้ขนและโปรตีนในน้ำลายแมวหรือไม่

Advertisement

จากนั้นค่อยๆ พาเด็กและสัตว์เลี้ยงมาปรับตัวเข้าหากัน โดยมีผู้ปกครองดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งช่วงแรกเด็กอาจสัมผัสสัตว์อย่างหนักมือเกินไปเพราะไม่รู้ แมวอาจตกใจและป้องกันตัวเองตามสัญชาตญาณด้วยการปัด ข่วน ส่งเสียงดังใส่ทำให้ตกใจ เกิดเป็นประสบการณ์ที่ไม่ดีในความทรงจำของเด็กได้ ดังนั้นควรเริ่มสอนด้วยการจับมือเด็กให้สัมผัสตัวสัตว์เลี้ยงเบาๆ ให้จดจำความอ่อนโยนในการสัมผัส และคอยอธิบายพฤติกรรมต่างๆ ของสัตว์เลี้ยง เช่น ในบางอารมณ์ที่แมวอยากอยู่อย่างสันโดษ ไม่ยอมให้จับก็ต้องบอกว่าตอนนี้น้องแมวอารมณ์ไม่ดี ไม่ควรไปบังคับหรือกระทำรุนแรงกลับ เมื่อเกิดความผูกพันเด็กจะแยกแยะได้เองว่าช่วงไหนควรเล่นด้วย และปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงด้วยความอ่อนโยน

“เด็ก 4 ขวบขึ้นไป” เป็นวัยที่เด็กเริ่มเข้าใจแวดล้อมรอบตัวแล้ว ในบ้านที่ไม่เคยมีสัตว์เลี้ยง เด็กอาจเริ่มขอเลี้ยงสัตว์ที่ตัวเองสนใจ ซึ่งพ่อแม่มีหน้าที่ต้องทำความเข้าใจกับลูกก่อนว่าการเลี้ยงสัตว์ไม่เหมือนการเล่นของเล่น เด็กๆ ต้องพร้อมดูแลในระยะยาวเหมือนกับพ่อแม่ที่ดูแลลูก และถ้าจะเลี้ยงต้องรู้จักรับผิดชอบ เช่น เด็กเล็กอาจเริ่มฝึกให้อาหารสัตว์เลี้ยงเป็นเวลา ในวัยประถมก็ฝึกให้เก็บมูลสัตว์ อาบน้ำ และทำความสะอาดที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง นับเป็นโอกาสฝึกให้เด็กมีวินัยในการรักษาความสะอาด และมีความรับผิดชอบเมื่อโตขึ้นด้วย

 

Advertisement
คุณหมอโจ-ผศ.ดร.ณัทธร ทิพยรัตน์เสถียร

เพื่อความสุขในครอบครัว

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image