สตรีสายวิทย์ สกัดดีเอ็นเอ ‘ปะการัง’ เพื่อทุกชีวิตในท้องทะเล

ผลจากภาวะโลกร้อน นอกจากจะทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น เกิดภาวะเรือนกระจกต่างๆ แล้ว

น้อยคนจะคิดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวทำให้สัตว์และพืชที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลและมหาสมุทร ต้องเผชิญกับวิกฤตอันเกิดจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น ดังเช่น ปะการัง ที่ไม่อาจทนร้อนได้ จนกลายเป็นปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นมากขึ้นทั่วโลก

ทำให้ ดร.วิรัลดา ภูตะคาม นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยจีโนม ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ทำการศึกษาในหัวข้อ “การศึกษากระบวนการตอบสนองของปะการังต่อการเพิ่มอุณหภูมิของน้ำทะเลและการประเมิน ความหลากหลายทางพันธุกรรมของปะการังในน่านน้ำไทยเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศใต้ท้องทะเลอย่างยั่งยืน” และได้รับรางวัลจากโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ

ดร. วิรัลดา ภูตะคาม

ดร.วิรัลดาเผยว่า โกลบอล วอร์มมิ่ง ทำให้ท้องทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำให้ปะการังจะขับสาหร่ายออกจากเซลล์ ทำให้ปะการังไม่ได้รับอาหารจนกลายเป็นปะการังฟอกขาว และตายในที่สุด รวมไปถึงปะการังที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้เพาะและนำไปปลูกในทะเลนั้น ก็มีเพียง 20% ที่รอดชีวิต ซึ่งแนวปะการังถือเป็นที่อยู่อาศัย แหล่งหลบภัยของสัตว์ทะเลนานาชนิด ปะการังฟอกขาวต้องใช้เวลาถึง 10 ปีจึงคืนสภาพ เราจึงนำเอาพันธุกรรมของปะการังที่รอดชีวิตมาสกัดดีเอ็นเอของพันธุ์ที่ทนร้อน

Advertisement

“องค์ความรู้ที่เราได้รับนั้นสามารถนำไปขยายพันธุ์ก่อนการย้ายไปปลูกกลับสู่ท้องทะเลได้ เป็นการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของปะการัง ซึ่งไม่เพียงช่วยเหลือชีวิตคน แต่คือเพื่อชีวิตของสรรพสัตว์ทั่วโลกได้” ดร.วิรัลดาเผย

ช่วยกันรักษาท้องทะเล

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image