เยาวชน 5 จว.ชายแดนใต้เรียนทักษะชีวิต ‘เดินทางหมื่นลี้ดีกว่าอ่านหนังสือหมื่นเล่ม’

ภาครัฐทุ่มสรรพกำลังและงบประมาณมหาศาลแก้ปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ บัดนี้ล่วงเลยมากว่า 10 ปี แต่ปัญหาก็ยังดำเนินอยู่ ก็หวังว่าในอนาคตจะเกิดสันติสุขขึ้นได้ จากคนรุ่นใหม่เหล่านี้ ที่มาเรียนรู้ทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันในสังคมที่แตกต่าง ภายใต้ชื่อโครงการ “อบรมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กต่างวัฒนธรรม ปี 2559” จัดโดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน จัดโดยกรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พม. กล่าวว่า เป็นปีที่ 8 ที่โครงการได้คัดเลือกเยาวชนอายุระหว่าง 15-18 ปีจาก 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี สตูล ยะลา และสงขลา จังหวัดละ 15 คน มาทัศนศึกษาทำกิจกรรมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งปีนี้ไปที่จังหวัดบุรีรัมย์ อาทิ กิจกรรมเรียนรู้ทักษะชีวิตด้านต่างๆ ชมการแข่งขันฟุตบอล ณ สนามฟุตบอลนิว ไอ-โมบาย สเตเดียม ทัศนศึกษาแหล่งประวัติศาสตร์อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ใช้ชีวิตกับครอบครัวรับรอง แข่งขันมหกรรมกีฬาสานรักสานสัมพันธ์

“มีคำจีนที่ว่าเดินทางหมื่นลี้ดีกว่าอ่านหนังสือหมื่นเล่ม การที่เยาวชนได้ออกมาจากพื้นที่ จะทำให้เขาได้เห็นได้รับประสบการณ์มากมาย ก็อยากให้เยาวชนได้ใช้โอกาสนี้เรียนรู้ให้เต็มที่ รวมถึงเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่าง เพราะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนประสบความสำเร็จในชีวิต” พล.ต.อ.อดุลย์กล่าว

ในส่วนของเยาวชนนั้น แววตาเป็นประกาย พร้อมเปิดรับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่เคยเห็น

Advertisement

น.ส.ยศวีย์ สาม หรือยศ อายุ 17 ปี นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนนราธิวาส เล่าว่า ปกติไม่ค่อยได้ออกนอกสถานที่ไปไหน เพราะต้องช่วยแม่ทำงานบ้าน เว้นแต่จะว่างจริงๆ ครอบครัวก็จะไปเที่ยวน้ำตกที่ จ.นครศรีธรรมราช ทั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ได้มาเปิดประสบการณ์อย่างไร ซึ่งจากที่ดูเบื้องต้นสังคมข้างนอกแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสังคมท้องถิ่น ไม่ว่าจะศาสนา วัฒนธรรม แต่ก็รู้สึกประทับใจ เพราะคนที่นี่น่ารักและมีความเป็นมิตร โดยรวมคิดว่าแม้ต่างศาสนากันก็สามารถอยู่ร่วมกันได้

“หากไม่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ จ.นราธิวาส ถือว่าอยู่เลยนะ ที่นั่นมีความอุดมสมบูรณ์ไม่ว่าจะอาหารการกิน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ อย่างไรก็ดี ดิฉันพร้อมจะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสันติสุข อาจเริ่มต้นจากดิฉันเองที่จะเป็นแบบอย่างที่ดี ก่อนไปบอกคนอื่นว่าอย่าทำแบบนี้ อธิบายเหตุผลให้เขา และแชร์ความรู้สึกกัน ขณะที่อนาคตฝันอยากเป็นครู ซึ่งนอกจากสอนหนังสือเด็กแล้ว ยังตั้งใจสอนให้เขารู้จักปรับตัวเข้าหาสังคม เพราะคนที่มีปัญหาส่วนใหญ่เพราะเขาไม่เข้าสังคม” น.ส.ยศวีย์เล่า

ขณะที่ นายวิทยา ณ มณี หรืออาร์ม อายุ 18 ปี นักเรียนชั้น ม.6 โรงเรียนปาล์มพัฒนวิทย์ จ.สตูล เล่าว่า เคยเข้าร่วมโครงการลักษณะนี้มาบ้างแล้ว อย่างที่เคยไปแล้วประทับใจคือ จ.พระนครศรีอยุธยา ที่แม้จะมีคนนับถือหลากหลายศาสนา แต่เขาก็ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ เลย ขณะที่ครอบครัวรับรองที่พ่อแม่นับถือศาสนาอิสลาม ก็เข้ากันได้และดูแลตนเป็นอย่างดี ระหว่างที่อยู่ด้วยกันก็มีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ชีวิตของกันและกัน ใช้ชีวิตร่วมกันได้ไม่มีปัญหา

Advertisement

“บางคนอาจคิดว่าต่างศาสนาแล้วจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ แต่ที่ได้สัมผัสจากโครงการ พบว่าศาสนาอะไรก็สามารถใช้ชีวิตร่วมกัน ไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย อย่างผมนับถือศาสนาพุทธ แต่ก็มีเพื่อนนับถือศาสนาอิสลาม คริสต์ เราคุยกันไม่มีผลกระทบเลย ใช้ชีวิตร่วมกันสนุกสนาน

“อย่างไรก็ดี จะนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้เยาวชนในพื้นที่ ได้เห็นความสำคัญความรุนแรง ความไม่สงบในพื้นที่ว่ามีผลกระทบต่อสังคมและประเทศชาติอย่างไร ปลูกฝั่งเยาวชนรุ่นใหม่ให้มีจิตสำนึกรักชาติ” นายวิทยากล่าวทิ้งท้าย

 

13055104_1023064314444733_6540395259463209361_o

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว พูดคุยกับเยาวชน

13116214_1353038338055295_6963525732224914843_o

S__9076824

S__9076863

S__9084934

กิจกรรมการสร้างหุ่นยนต์เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาตนเอง2

กิจกรรมการสร้างหุ่นยนต์เพื่อเป็นต้นแบบในการพัฒนาตนเอง

                 นางสาวยศวีย์ สาม (1)

น.ส.ยศวีย์ สาม

นายวิทยา ณ มณี (1)

นายวิทยา ณ มณี

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image