ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะ นวัตกรรมเพื่อ ‘สังคมผู้สูงอายุ’

สังคมผู้สูงอายุ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” เรียบร้อยแล้ว ทำให้นักวิชาการ รวมถึงนักวิจัยต่างๆ ได้คิดค้นนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สังคมผู้สูงอายุ – เช่นเดียวกับ ผศ.ดร.สุรภา เทียมจรัส จากห้องปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูและอำนวยความสะดวก ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ที่ทำวิจัยในหัวข้อ “ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะสำหรับสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย” ได้รับรางวัลนักวิจัยสตรีดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ ในโครงการทุนวิจัยลอรีอัลประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2561 ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ

ผศ.ดร.สุรภาเผยว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งต้องการบริการด้านสุขภาพ ทั้งป้องกัน รักษาและฟื้นฟูอย่างมาก แต่รัฐไม่อาจให้บริการได้อย่างครอบคลุม บวกกับผู้สูงอายุมักขาดผู้ดูแล อาจเสี่ยงที่เกิดการล้มได้

ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะสำหรับสนับสนุนการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย

จึงได้พัฒนานำเทคโนโลยีเครือข่ายเซ็นเซอร์ร่างกายและไอโอที มาใช้ในการดูแลผู้สูงอายุในไทย ผลิตเป็นเซ็นเซอร์เล็กๆ ติดตามร่างกายผู้สูงอายุและผู้ป่วยในโรงพยาบาลในจุดต่างๆ ซึ่งบางรายอาจแปะที่ข้างหู บางรายแปะที่ขา โดย ระบบจะแจ้งเตือนทุก 1 วินาที ไปยังจอประมวลผล เพื่อบอกว่าผู้ป่วยกำลังลุกจากเตียง หรือกำลังเดินออกจากห้อง เพื่อให้พยาบาลหรือผู้ดูแลเข้าไปดูแลก่อนเกิดเหตุ หรือบางรายที่ต้องระวังแผลกดทับ ผู้ดูแลจะได้รู้ว่าผู้ป่วยอยู่ท่าเดิมเป็นเวลานานเท่าใดแล้ว

“เชื่อว่าแม้จะมีการรักษาเมื่อเกิดเหตุดีเท่าไหร่ แต่การป้องกันก่อนเกิดเหตุย่อมดีกว่า นอกจากจะช่วยเหลือผู้ป่วยก่อนบาดเจ็บแล้ว เรายังรู้ด้วยว่าผู้ดูแลทำอะไรกับญาติเราบ้างผ่านข้อมูลการเก็บสถิติไว้ ทั้งยังใช้เป็นข้อมูลให้แพทย์วิเคราะห์การรักษาได้ด้วย เช่น นอนได้กี่ชั่วโมง กินได้เยอะหรือเปล่า เพื่อยืนยันกับสิ่งที่คนไข้บอกหมอ” ผศ.ดร.สุรภาเผย

Advertisement
ผศ.ดร.สุรภา เทียมจรัส
ผศ.ดร.สุรภา เทียมจรัส

เพื่ออนาคต

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image