ฟังเสียงเด็ก-เยาวชน! คิดอย่างไร การศึกษาไทย 4.0

ไทยแลนด์ 4.0 กลายเป็นวลีฮิตติดลมบน ที่คนไทยหลายคนคงจะคุ้นหูในช่วงเวลาไม่นานมานี้ับการผลักดันของภาครัฐที่พร้อมให้ไทยส่งเสริมนวัตกรรมต่างๆ สู่โลกยุคดิจิทัล

การศึกษาไทย 4.0 – แต่จะมีเด็กไทยสักกี่คนที่รับรู้เรื่อง ไทยแลนด์ 4.0 นี้อย่างแท้จริง ศูนย์วิชาการและเครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว และคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดเสวนาในหัวข้อ “ผลิตเด็กไทย 4.0 สร้างสรรค์หรือติดกรอบ” ขึ้น ให้สังคมฉุกคิด ทบทวนถึงกระบวนการพัฒนาเด็กที่ผ่านมา

โดยจากผลสำรวจของ เครือข่ายวิชาการด้านเด็ก เยาวชน และครอบครัว คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ได้สำรวจความเห็นเด็ก 468 คน ส่วนใหญ่อยู่ในวัยมัธยม ระหว่างวันที่ 6 กรกฎาคม-2 พฤศจิกายน เมื่อถามถึงคำว่า เด็กไทยในยุค 4.0 นั้น เด็กส่วนใหญ่มองว่าเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี ว่าหากจะเกิดได้จริงต้องมีความพร้อมเรื่องเทคโนโลยีที่ดีกว่านี้ และมองว่าดี แต่ก็อาจทำให้คนเริ่มห่างเหิน นำไปใช้ในด้านไม่ดี ส่วนหนึ่งมองว่า พลเมืองที่มีความสามารถเชื่อมต่อกับโลกดิจิตอลเพื่อการปฏิบัติภารกิจ โดยสามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ เพื่อออกแบบชุดความรู้ของตัวเองได้

บางส่วนยังมองว่าเป็นแค่โฆษณาชวนเชื่อ แต่ยังไม่เห็นการกระทำเป็นรูปธรรม

Advertisement

จากความคิดเห็นของเด็กๆ ที่ร่วมทำผลสำรวจนั้น ยังบอกว่าการที่รัฐมุ่งเน้นในเรื่องเทคโนโลยี ทำให้หลายฝ่ายเน้นการเรียนแบบสายวิทย์ คนอาจละเลยเด็กสายศิลป์ และทำให้หลายคนค้นไม่พบว่าจริงๆ แล้วชอบอะไร และเด็กหลายคนยังรู้สึกว่าถูกผูกขาดวิถีชีวิตและกิจกรรมไว้กับระบบการศึกษาเพียงมิติเดียว เข้าไม่ถึงสิทธิหลายอย่าง โดยอยากมีสิทธิที่จะออกแบบชีวิตของพวกเขาได้เอง ส่วนใหญ่ยังเห็นว่า สิ่งที่เด็กเองอยากเห็นสำหรับยุค 4.0 นั้น ควรเป็นเด็กที่ ดี เก่ง และ กล้า

นอกจากนี้ ยังได้เปิดพื้นที่ความคิดของเยาวชนต่อยุค 4.0 อีกด้วย

แบม-ธัญชนก คชพัชรินทร์ เลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท เผยว่า เมื่อพูดถึงการศึกษา 4.0 หลายคนก็คงเดาได้ว่ามันคือกระแสที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้กับสังคม แต่กับบริบทของโรงเรียนที่เราเจออยู่ทุกวันนี้ มันไม่เป็นเช่นนั้น แบมเอง เป็นนักเรียนม.6 คนหนึ่ง ที่โตมากับระบบการศึกษาไทย วนอยู่กับเรื่องเดิมๆ ครั้งหนึ่งเคยถูกครูปาสมุดลงพื้น ตะโกนว่าว่าจะให้คะแนนศูนย์ เพราะทำงานชุ่ย ลืมขีดเส้นคั่นหน้า ยิ่งโตมาเรื่อยๆ ก็ยิ่งเห็นการกระทำความรุนแรงเช่นนี้ในโรงเรียน น่าแปลกที่เราทำตัวชินชากับสิ่งที่เกิดขึ้นไปเสียแล้ว กลุ่มของเราจึงลุกขึ้นเพื่อให้นักเรียนมัธยมทุกชั้นปี รักษาสิทธิมนุษยชน เพราะไม่ว่าเพศใด วัยใด ย่อมต้องมีสิทธิเท่ากัน

Advertisement

“ระบบการศึกษาไทย สอนว่ามีคำตอบที่ถูกต้องเพียงอย่างเดียว มีชุดความดีเพียงอย่างเดียว หากผิดจากที่พูดคือไม่ถูก และเป็นพื้นที่บ่มเพาะความรุนแรง นั่นทำให้เด็กไม่ได้คิดเอง ทำตามที่พูด ไม่มีทางเลือก ไม่เหมือนอย่างต่างประเทศ ซึ่งระบบแบบนี้ เป็นไปไม่ได้ที่เด็กจะคิดนอกกรอบ และสร้างนวัตกรรมอะไรได้ เด็กควรได้เติบโตจากประสบการณ์ และการทำงาน ได้ลองผิดพลาดและยืนขึ้นใหม่ สร้างโรงเรียนให้เป็นสถานที่ลองผิดพลาด ให้โอกาสเขากลับมายืนอย่างสวยงาม ไม่ใช่สอนเด็กให้โตจากการฟัง” ธัญชนก เผย

ธัญชนก

ขณะที่ สิทธิชัย ชาวคำเขตร ผู้จัดการกิจกรรมโรงเรียนระเบียงรู้ บ้านถ้ำ ซึ่งสร้างสรรค์โครงการให้เด็กในชุมชน ได้ออกมาเรียนรู้ภูมิปัญญาจากผู้ใหญ่ในชุมชน ก็ออกมาเผยว่า ด้วยความที่ทำงานในชุมชนมานาน อยู่กับวัด คนเฒ่าคนแก่ในชุมชนจึงได้เห็นเรามาตลอด แรกเริ่มเห็นว่าคนแก่อยู่บ้านอย่างเหงาๆ จึงพาพวกเขามาทำกิจกรรมต่างๆ จนกลายเป็นเชื่อมเด็กสู่คนเฒ่า ให้เขาได้เรียนรู้ภูมิปัญญา การที่เรารู้อยู่ในชุมชน ก็ทำให้รู้ว่าคนในชุมชนเราชอบอะไร ข้อดีอีกอย่างคือทำให้ผู้ปกครองไว้ใจที่จะให้บุตรหลานอยู่กับเรา จึงเห็นว่า คนในชุมชนควรเป็นหลักสำคัญในการออกมาซัพพอร์ตเรื่องในชุมชนมากที่สุด

สิทธิชัย

ฟังเสียงเยาวชน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image