อีกก้าวของการ ‘รักษา’ มะเร็งปอด ผลงานนักวิจัยสตรีดีเด่น

มะเร็งปอด

อีกก้าว ‘รักษา’ มะเร็งปอด

เรียกได้ว่าเป็น 1 ในโรคที่คร่าชีวิตของคนทั่วโลกเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งผลการวิจัยที่ผ่านๆ มา พบว่าเซลล์มะเร็งปอดเป็นเซลล์ที่มีความรุนแรงสูง แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว และดื้อต่อยาเคมีบำบัดสูง เมื่อเชื้อมะเร็งได้แพร่กระจายไปแล้วทำให้รอดชีวิตได้ยาก

มะเร็งปอด – นี่เอง ที่ทำให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.วริษา พงศ์เรขนานนท์ จากภาควิชาเภสัชวิทยา และสรีระวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยา ลุกขึ้นมาทำวิจัยในหัวข้อ “การศึกษาบทบาทของโปรตีน Camsap ต่อความรุนแรงของเซลล์มะเร็งปอด” ซึ่งได้รับรางวัลนักวิจัยสตรีดีเด่นสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ จากโครงการทุนวิจัยลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ประจำปี 2561 ณ โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ

วริษาเผยว่า จากการศึกษาเราพบว่า เซลล์มะเร็งปอดจะเกาะตัวกันอยู่ด้วยโปรตีน แคมแซบ 3 ซึ่งหลังจากที่เชื้อมะเร็งปอดแพร่กระจายไปสู่หลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ แล้ว ระยะนั้นจะมีโอกาสเสียชีวิตถึง 95% และอยู่ได้อีกไม่นาน เราจึงไปศึกษาว่าจะทำให้คงรูปและไม่แพร่กระจายได้อย่างไร เพราะเมื่อเข้าใจแล้วก็จะทำให้เซลล์คงรูปอยู่ และไม่แพร่กระจายออกไปได้ง่าย และจะหายาโมเลกุลใหม่ๆ ที่มารักษามะเร็งได้

“โรคมะเร็งปอดไม่ใช่เกิดจากการสูบบุหรี่ หรืออยู่ในพื้นที่ที่มีมลภาวะเพียงอย่างเดียว แต่คนทำงานในอุตสาหกรรมที่มีแร่ใยหินต่างๆ ก็มีความเสี่ยง จึงหวังว่าผลการวิจัยจะช่วยเหลือคนกลุ่มนี้ได้ แน่นอน การทำโครงการอาจพบปัญหาเรื่องเครื่องมือ หรือการหาข้อมูลมาซัพพอร์ท เพราะเราไม่เคยทำวิจัยนี้มาก่อน แต่หากการวิจัยนี้สำเร็จก็อาจจะพัฒนาไปสู่การรักษามะเร็งชนิดอื่นได้ต่อไป” วริษาเผย

เพื่อสุขภาพที่ดี

Advertisement
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image