ทีมวิจัยจากสเปน คิดค้นวิธีผลิต “สเปิร์ม” จากเซลล์ผิวหนัง

ทีมนักวิจัยจากสถาบันศึกษาภาวะไม่เจริญพันธุ์แห่งบาเลนเซีย ในเมืองบาเลนเซีย ประเทศสเปน นำโดยศาสตราจารย์ คาร์ลอส ไซมอน ผู้อำนวยการด้านวิทยาศาสตร์ของสถาบัน เผยแพร่ผลงานวิจัยที่มีจุดมุุ่งหมายเพื่อแก้ปัญหาให้กับกลุ่มประชากรที่ประสบภาวะมีบุตรยาก ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 15 เปอร์เซ็นต์ของคู่สามีภรรยาทั้งหมดทั่วโลก โดยอาศัยวิธีการเปลี่ยนเซลล์ผิวหนังให้กลายเป็น ”สเปิร์ม”Ž เพื่อไม่ให้คู่แต่งงานที่ไม่มีลูกจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยสเปิร์มหรือไข่จากผู้บริจาคเพียงอย่างเดียว

ศาสตราจารย์ไซมอนระบุว่า งานวิจัยครั้งนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากงานของ ชินยะ ยามานากะ กับ จอห์น กอร์ดอน นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นและอังกฤษซึ่งได้รับรางวัลโนเบลร่วมกันเมื่อปี 2012 จากการค้นพบวิธีการเปลี่ยนรูปของเซลล์เต็มวัยให้กลับไปเป็นสเต็มเซลล์ได้อีกครั้ง โดยทีมวิจัยของไซมอนนำเอาเซลล์ผิวหนังมาผ่านกระบวนการ รีโปรแกรมŽ โดยการเพิ่มเติมหน่วยพันธุกรรมหลายอย่างเข้าไป เมื่อเวลาผ่านไป 1 เดือน ทีมวิจัยพบว่าเซลล์ผิวหนังดังกล่าวเปลี่ยนรูปเป็น เจิร์ม เซลล์ หรือเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งสามารถพัฒนาต่อไปเป็นไข่หรือสเปิร์มก็ได้

ทั้งนี้เซลล์สืบพันธุ์ที่ได้ยังไม่มีความสามารถในการเจริญพันธุ์ ศาสตราจารย์ไซมอนชี้ว่า โดยข้อเท็จจริงเซลล์เหล่านี้คือสเปิร์มแล้ว แต่ยังจำเป็นต้องผ่านระยะเติบโตเต็มที่อีกระยะหนึ่งก่อนที่จะสามารถเจริญพันธุ์ได้

ความสำเร็จในงานวิจัยครั้งนี้ถือว่าเป็นความก้าวหน้าไปอีกก้าว หลังจากที่เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทีมวิจัยของจีนแถลงว่าประสบผลสำเร็จในการสร้าง สเปิร์มเทียมŽ ที่ทำให้หนูทดลองตั้งท้องได้

Advertisement

แต่ศาสตราจารย์ไซมอนยอมรับว่า งานของตนจำต้องมีการทดลองต่อเนื่องอีกหลายขั้นตอน รวมถึงต้องคำนึงถึงแง่มุมกฎหมายและจริยธรรมอีกด้วย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image