มองคุณภาพชีวิตคนไทยในอนาคต? คนไทยไม่เตรียมตัวอะไรเลย

มองคุณภาพชีวิตคนไทยในอนาคต? คนไทยไม่เตรียมตัวอะไรเลย
มองคุณภาพชีวิตคนไทยในอนาคต? คนไทยไม่เตรียมตัวอะไรเลย

มองคุณภาพชีวิตคนไทยในอนาคต? คนไทยไม่เตรียมตัวอะไรเลย

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเกิดปรากฏการณ์ทางประชากรทุกช่วงวัย ตั้งแต่เกิดน้อยด้อยคุณภาพ แม่วัยรุ่น แรงงานอพยพ สังคมสูงวัย ยิ่งแก่ยิ่งจน หลากหลายข้อมูลทำให้ภาควิชาการด้านประชากรศาสตร์ มาสุมหัวคิดและเสวนา “มองคุณภาพชีวิตประชากรไทยจากปัจจุบันสู่อนาคต” ในงานประชุมวิชาการประชากรศาสตร์แห่งชาติ 2561 จัดโดย สมาคมนักประชากรไทย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ โรงแรมตวันนา ถนนสุรวงศ์ กรุงเทพฯ

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย เลขานุการและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคด้านสังคม กล่าวว่า จากการศึกษาพบ 4 ปรากฏการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับคนไทยในอนาคตคือ

  • 1.คนตกงาน ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่มาเร็วมาก วันนี้หลายธุรกิจเริ่มลดการจ้างคนแล้วแทนที่ด้วยหุ่นยนต์และนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ อย่างธนาคารที่ทยอยยุบสาขาแทนที่ด้วยตู้ให้บริการอัตโนมัติ
  • 2.ผู้สูงอายุจะเป็นคนจนกลุ่มใหม่ เนื่องจากปัจจุบันมีแรงงานนอกระบบเป็นจำนวนมาก ขณะที่แรงงานในระบบ หลายคนไม่มีการบริหารจัดการเรื่องเงิน และวางแผนเก็บออมระยะยาว เมื่อแก่ตัวไปก็หวังพึ่งแต่รัฐบาล ตรงนี้เราจะอยู่กันอย่างไร
  • 3.ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ประเด็นนี้ดูจะกระทบต่อคนไทยน้อยสุด
  • และ 4.แรงงานข้ามชาติไหลเข้ามาที่ไทย ประเด็นนี้มีประเทศฝรั่งเศสเป็นกรณีศึกษา ปัจจุบันมีคนที่อ้างสิทธิเป็นชาวอียูอพยพไปที่กรุงปารีสเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมมากมาย คุณภาพชีวิตของคนฝรั่งเศสตกต่ำ ค่าครองชีพสูงขึ้น และรัฐต้องดูแลคนอพยพเหล่านี้ ซึ่งไทยกำลังเป็นเหมือนประเทศฝรั่งเศส ที่เพื่อนบ้านอพยพเข้ามา

“จากปรากฏการณ์ข้างต้นยังน่าห่วงอีกว่า ประเทศไทยมีสัดส่วนเด็ก 0-14 ปีต่อประชากรทั่วไป น้อยกว่าประเทศอาเซียน ขณะเดียวกัน ก็มีสัดส่วนผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไปต่อประชากรทั่วไป มากที่สุดในประเทศอาเซียน จึงเป็นคำถามว่าแล้วระยะยาวเราจะอยู่กันอย่างไร

ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย
ดร.สีลาภรณ์ บัวสาย

“ส่วนตัวที่ได้ลงลึกถึงสภาพปัญหาคิดว่าระดับชาติต้องมีแผนระยะยาว ในการสร้างหลักประกันทางสังคม ที่จะส่งเสริมให้คนทำงานยาวนานขึ้น จากเกษียณอายุ 55-60 ปี ส่งเสริมระบบการออม พร้อมหลักประกันด้านสุขภาพ การส่งเสริมคนไทยใส่ใจดูแลสุขภาพ รวมถึงการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมไปยังภูมิภาค เพื่อลดการอพยพแรงงาน ส่งเสริมบทบาทครอบครัวให้แข็งแรง ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาสังคมต่างๆ ตลอดจนกระจายการพัฒนา โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขและการจ้างงานไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ภายใต้หลักคิดแผ่นดินสุวรรณภูมิ เพื่อดึงให้แรงงานเพื่อนบ้านไม่อพยพมาไทย เหล่านี้ถูกบรรจุในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นที่เรียบร้อย” ดร.สีลาภรณ์กล่าว

Advertisement

ขณะที่ รศ.วิพรรณ ประจวบเหมาะ คณบดีวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันมีสิ่งท้าทายที่เกิดขึ้นกับประชากรไทย ในประเด็นที่ดูดีคือเราจะมีชีวิตที่ยาวนานขึ้น โอกาสรอดของแม่และเด็กจะมากขึ้น แต่ที่ดูไม่ดีคือ คนท้องไม่พร้อม คนพร้อมไม่ท้อง ยิ่งแก่ยิ่งจน ยิ่งแก่ยิ่งเจ็บ ในขณะที่รัฐได้ดำเนินนโยบายด้านประชากรไปอย่างช้าๆ ทั้งนี้ หลากหลายแนวทางแก้ปัญหาประชากรถูกบรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งจากนี้จะไปอยู่ในแผนแม่บทการพัฒนาเศรษฐกิจ และแผนของหน่วยงานต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อน โดยเฉพาะภาคประชาชนที่ต้องตระหนักถึงปัญหาและเตรียมพร้อมรับสังคมสูงวัย

“เพราะคนไทยจำนวนมากยังขาดความตระหนักในการเตรียมพร้อมสังคมสูงวัย โดยเฉพาะคนอายุ 40 ปีขึ้นไป ไม่มีการเตรียมตัวอะไรเลย ทั้งทักษะชีวิต การจัดการออม การจัดการสุขภาพ การวางแผนชีวิตครอบครัว ดั่งคำว่าไม่เห็นโลงศพไม่หลั่งน้ำตา แม้ว่าภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะพยายามออกนโยบายมาตรการรองรับผู้สูงอายุต่างๆ นานา

รศ.วิพรรณ ประจวบเหมาะ
รศ.วิพรรณ ประจวบเหมาะ

“แต่ไม่ได้มีการนำสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอย่างทั่วถึง โดยเฉพาะการวางแผนอนาคตจัดการชีวิตโดยพึ่งพาตนเองไม่ใช่การรอหรือพึ่งพิงแต่ภาครัฐ แม้แต่ระบบการศึกษาก็ยังมุ่งเน้นการคิดเป็น การเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ แต่ไม่ได้เน้นสอนทักษะชีวิตการอยู่รอดเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ รวมถึงการเห็นความสำคัญของการช่วยเหลือแบ่งปันต่อสังคมส่วนรวม อย่างไรก็ตาม สื่อเป็นส่วนสำคัญที่จะเร่งสร้างความตระหนักถึงการเตรียมพร้อมสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ อาจทำเป็นละคร ถือเป็นการสร้างพลังทางวัฒนธรรมผ่านสื่อที่เข้าถึงได้เร็วที่สุด

สังคมสูงวัยเป็นเรื่องในวันนี้

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image