มุมใหม่ 3 จังหวัดใต้ ผ่าน “หนังสั้น” เยาวชน

มุมใหม่ 3 จังหวัดใต้ ผ่าน
มุมใหม่ 3 จังหวัดใต้ ผ่าน "หนังสั้น" เยาวชน

มุมใหม่ 3 จังหวัดใต้ ผ่าน “หนังสั้น” เยาวชน

 

เป็นที่ทราบดีกับเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่า…อาจมีบางประเด็น บางมิติที่คนทั่วไปอาจไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจ

จึงเป็นที่มาของโครงการประกวดหนังสั้นทักษะวัฒนธรรมสำหรับเยาวชน “ขัดกันฉันมิตร” (Pergaduhan Teman Friendly Quarrel) ปีที่ 2 จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) ร่วมกับศูนย์ข่าวสารสันติภาพ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

โครงการดังกล่าวเปิดให้เยาวชน 4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ได้สมัครเข้าร่วม 38 ทีม จากนั้นได้เข้าฝึกอบรมทักษะและความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก่อนลงมือทำภาพยนตร์สั้นประกวด ซึ่งผู้ได้รับรางวัลต่างสะท้อนมุมมอง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไว้อย่างน่าสนใจ

Advertisement

นายอัจญมัล เริงสมุทร ชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา หนึ่งในเจ้าของผลงาน “วงจรอุบาทว์” ได้รับรางวัลชนะเลิศ กล่าวว่า หนังเรื่องนี้บอกเล่าเรื่องชายแดนภาคใต้ ที่เห็นต่างจากคนอื่น ที่มองว่าสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีความรุนแรงดังที่ถูกนำเสนอออกไป

“ทำหนังเรื่องนี้ เพื่อหวังปรับเปลี่ยนทัศนคติและมุมมองของคนในสังคม ให้มองคนใน 3 จังหวัดชายภาคใต้อย่างเปิดใจ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข” นายอัจญมัลกล่าว

นายอัจญมัล เริงสมุทร (ขวา) และทีม เจ้าของรางวัลชนะเลิศ (Best Film) ผลงานหนังสั้นเรื่อง “วงจรอุบาทว์”
รางวัลชนะเลิศ (Best Film) ผลงานหนังสั้นเรื่อง “วงจรอุบาทว์”
นายอัจญมัล เริงสมุทร (ขวา) และทีม เจ้าของรางวัลชนะเลิศ (Best Film) ผลงานหนังสั้นเรื่อง “วงจรอุบาทว์”
นายอัจญมัล เริงสมุทร (ขวา) และทีม เจ้าของรางวัลชนะเลิศ (Best Film) ผลงานหนังสั้นเรื่อง “วงจรอุบาทว์”

ขณะที่ นายอัฐพล ปิริยะ จบการศึกษาปริญญาตรี จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หนึ่งในเจ้าของผลงาน “45 องศา” ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 กล่าวว่า หนังเรื่องนี้บอกเล่าแง่มุม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านเรื่องราวความรู้สึกของสุนัข ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบมุมมองสายตาของสุนัข เสมือนให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมไปกับมัน

“สุนัขยังคงเป็นสาเหตุของปัญหาและความขัดแย้งที่ชาวมุสลิม ตลอดจนเรื่องของการเลี้ยงดูที่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้ เนื่องจากความเชื่อทางศาสนา จึงอยากสื่อสารให้คนในสังคมได้ลองเปิดใจ สุนัขสามารถอยู่ร่วมกันได้” นายอัฐพลสะท้อนแง่มุม

ผลงานหนังสั้นเรื่อง “45 องศา”
ผลงานหนังสั้นเรื่อง “45 องศา”

ประเด็นความหลากหลายทางเพศ ก็ถูกสะท้อนออกมาผ่านหนังสั้น และได้รับรางวัลรองชนะอันดับ 2 น.ส.สุทธิกานต์ พูลทวี ชั้น ม.6 จากโรงเรียนเบตง วีระราษฎร์ประสาน กล่าวถึงผลงาน “One More Time” ว่า จริงๆ ไม่เพียงแต่สามจังหวัดเท่านั้น ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ยอมรับสมาชิกครอบครัวที่เป็นเพศที่สาม แต่ยังมีอีกหลายคนที่ยังยอมรับเรื่องนี้เช่นกัน จึงอยากทำหนังรักที่หยิบยกประเด็นเรื่องเพศขึ้นมา ซึ่งสะท้อนถึงความรักที่สวยงามของเพศที่สาม และอยากให้สังคมไทยยอมรับและเปิดใจให้กับความรักของเพศที่สามมากขึ้น

“อยากให้มองว่าความรักที่เกิดขึ้น ไม่ได้มีเพียงแต่ความรักของชายหญิงเท่านั้น แต่หากรักกันด้วยจิตใจ ไม่ว่าเพศสภาพไหนๆ ก็เป็นเรื่องที่ควรน่ายินดี” สุทธิกานต์กล่าว

รองชนะเลิศอันดับ 2 จากเรื่อง “One More Time”
รองชนะเลิศอันดับ 2 จากเรื่อง “One More Time”

นายฮาฟิซ หละบิลลา ชั้นปี 2 สาขาครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา เจ้าของผลงาน “สติ” ได้รับรางวัล Audience Award กล่าวว่า ในปัจจุบันทุกอย่างก็ล้วนไวไปหมด สังเกตได้จากการแสดงความคิดเห็นของคนบนโลกโซเชียล

“คนเรามักจะตัดสินสิ่งต่างๆ จากสิ่งที่เรามองเห็นเป็นสิ่งแรกมากกว่าการที่เราจะไปศึกษาจริงๆ ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร มีสาเหตุมาจากอะไร หนังเรื่องนี้จึงต้องการเตือนสติผู้ชม” นายฮาฟิซทิ้งท้าย

รางวัล Audience Award จากเรื่อง “สติ”
รางวัล Audience Award จากเรื่อง “สติ”

สะท้อนอีกมุมมองภาคใต้ผ่านหนังสั้น

เยาวชนที่ได้รับรางวัล
เยาวชนที่ได้รับรางวัล
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image