‘โก กรีน-สโลว์ แฟชั่น’ เทรนด์ ‘งานหัตถศิลป์’ โลก ยุคผู้บริโภคต้องการความแปลกใหม่

งานหัตถศิลป์

‘โก กรีน-สโลว์ แฟชั่น’ เทรนด์ ‘งานหัตถศิลป์’ โลก ยุคผู้บริโภคต้องการความแปลกใหม่

งานหัตถศิลป์ – ด้วยเชื่อว่าคุณค่าและความงามของหัตถศิลป์ไทย สามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตได้เสมอ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT จึงดำเนินพันธกิจภายใต้กลยุทธ์ “หัตถศิลป์ของชีวิตปัจจุบัน” ในการรวมองค์ความรู้ เพื่ออนุรักษ์งานศิลปหัตกถรรมของไทย และต่อยอดในเชิงพาณิชย์เพื่อเกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ มาตลอดระยะเวลา 15 ปี

นางอัมพวัน พิชาสัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) เผยว่า ในประเทศไทยมีผู้มีทักษะเชิงช่างศิลป์ ที่มีจำนวนมากที่สุดคือ กลุ่มช่างทอผ้า กลุ่มจักสาน และกลุ่มช่างปั้น ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มได้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันซึ่งสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคงานศิลปหัตถกรรม และเทรนด์โลกที่เปลี่ยนไป

โดย “ความต้องการของตลาดโลก” ที่กำลังนิยมในขณะนี้ คือ โก กรีน (Go Green) และ สโลว์ แฟชั่น (Slow Fashion) นั่นคือสินค้าที่มีกระบวนการผลิตแบบใส่ใจและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ตลอดจนสินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ อาทิ เครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผ้าพันคอ ที่มีสีสันและมีดีไซน์ที่ร่วมสมัยมากยิ่งขึ้น

Advertisement

ผอ.ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพฯยังย้ำอีกว่า สิ่งสำคัญที่สุดคือ ผู้บริโภคต่างชื่นชอบในความ “แปลกใหม่”

“แม้จะมีเหตุการณ์ต่างๆ ที่กระทบต่อตลาดนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ยอดจำหน่ายสินค้าหัตถกรรมยังเติบโตอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับกระแสเศรษฐกิจ โดยในปีที่ผ่านมา มียอดจำหน่ายสูงถึง 22.5 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตกว่าร้อยละ 40 โดยประเทศที่สนใจสินค้าหัตถกรรมไทยที่ได้รับความนิยมสูงสุด 10 อันดับแรก ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี อังกฤษ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และอิตาลี และสินค้าหัตถกรรมยอดนิยม คือ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย รองลงมาคือของตกแต่งบ้าน และของที่ระลึก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มตลาดงานหัตถศิลป์ไทยในต่างประเทศยังสดใส” นางอัมพวันกล่าว และว่า

“งานหัตถศิลป์ของไทยไม่แพ้ชาติได้ในโลก และไทยยังได้เปรียบในด้านของงานศิลป์ที่หลากหลาย และมีแหล่งวัตถุดิบมากมาย แต่ยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงคือการออกแบบ ดีไซน์ และแพตเทิร์น ที่ควรจะต้องมีความร่วมสมัยและหลากหลายมากยิ่งขึ้น แต่กระนั้นในยุคดิจิทัล SACICT ยังได้พัฒนาแอพพลิเคชั่น SACICT SHOP เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด ตลอดจนจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับเครือข่ายองค์กรพันธมิตรด้านศิลปหัตถกรรมในอาเซียนเพื่ออนุรักษ์และสืบสานหัตถกรรมที่ใกล้สูญหายเหล่านี้เอาไว้ด้วย”

Advertisement
นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ

เทรนด์โลก

ติดตามข่าวบันเทิงไลฟ์สไตล์ กับ Line@มติชนนิวเจน

เพิ่มเพื่อน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image