“นมแม่” ลดเสี่ยง “ลูกอ้วน”

จากข้อมูลของศูนย์วิจัยโภชนาการเด็ก มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ร่วมกับสถาบันโภชนาการเนสท์เล่ พบว่า การได้รับโปรตีนในปริมาณสูงจากนมผงในช่วงแรกของชีวิต เป็นสาเหตุสำคัญของการเป็นโรคอ้วนและภาวะน้ำหนักเกิน จึงจำเป็นต้องเร่งทำความเข้าใจกับพ่อแม่ยุคใหม่เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยง

ศ.ปีเตอร์ เดวีส์ จากศูนย์วิจัยโภชนาการเด็ก มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย เปิดเผยว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เด็กอ้วน เกิดจากการไม่ได้ดื่มนมแม่ ทั้งนี้ จากผลการศึกษาพบว่าปริมาณโปรตีนคุณภาพในนมแม่พบว่าจะมีปริมาณโปรตีนอยู่ที่ 1.2 กรัมต่อ 100 กิโลแคลลอรี ขณะที่นมผงทั่วไปมีมากกว่านั้น จึงมีโอกาสที่เด็กที่ดื่มนมผงมีโอกาสจะได้รับปริมาณโปรตีนที่มากเกินไปในช่วงปีแรกของชีวิต

“เด็กที่กินนมแม่จะมีความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนต่ำกว่าเด็กที่กินนมผงร้อยละ 15-25 โดยเมื่ออายุ 6 ปี กลุ่มเด็กที่ได้รับโปรตีนสูงกว่านมแม่ มีดัชนีมวลกายและน้ำหนักสูงกว่าเด็กที่ดื่มนมแม่ชัดเจน ซึ่งเมื่อได้รับโปรตีนในปริมาณที่สูงเกินความต้องการของร่างกาย จะทำให้ร่างกายของทารกหลั่งอินซูลินเพิ่มมากขึ้น กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบเผาผลาญ ส่งผลให้เกิดการสะสมไขมันในร่างกายเพิ่มขึ้น นำไปสู่โรคอ้วนและโรคหัวใจหลอดเลือดเมื่อโตขึ้น” ศ.ปีเตอร์กล่าว

ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคภูมิแพ้ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เผยว่า จากการวิจัยถึงผลของโปรตีนคุณภาพที่สัมพันธ์กับการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคภูมิแพ้ โดยกระทรวงศึกษาและวิจัย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่ศึกษานมสูตรลดความเสี่ยงโรคภูมิแพ้ โดยศึกษาเด็กที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคภูมิแพ้ตั้งแต่แรกเกิด ให้เด็กได้ดื่มนมสูตรโปรตีนเวย์ พบว่า เด็กที่ได้รับนมสูตรโปรตีนเวย์ในช่วง 4 เดือนแรก สามารถลดความเสี่ยงของการเกิดผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบลงได้ 42% โดยเมื่อติดตามถึงอายุ 15 ปี พบว่า ลดความชุกของการเกิดโรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ลงได้ 33% เมื่อเทียบกับเด็กที่ได้รับนมวัวสูตรปกติทั่วไป แนะนำให้เลือกนมที่มีโปรตีนที่เหมาะสมหรือโปรตีนเวย์ 100% ให้ลูกใน 1,000 วันแรก เพื่อลดความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน-ภูมิแพ้

Advertisement

เพื่อลูกรัก

 

ศ.ปีเตอร์ เดวีส์

Advertisement

ศ.ปีเตอร์ เดวีส์

ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์

ศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image