รู้ทัน 7 พฤติกรรมเสี่ยง ‘ภูมิคุ้มกันต่ำ’ ก่อนร้ายแรงถึงขั้นโรคมะเร็ง

Burnette woman blowing nose into tissue

เมื่อคนเราได้รับสิ่งใดเข้าร่างกายไม่ว่าจะกินหรือหายใจ แล้วเกิดอาการผิดปกติขึ้น เป็นเพราะว่าร่างกายไม่สามารถเข้ากับสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในร่างกายได้ เพื่อดูแลไม่ให้ตัวเองเจ็บป่วยง่าย นพ.ไพศิษฐ์ ตระกูลก้องสมุท แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ และเวชศาสตร์ชะลอวัยโรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท มีคำแนะนำดีๆ มาฝาก

นพ.ไพศิษฐ์ กล่าวว่า ปกติแล้วคนเราจะมีภูมิคุ้มกันอยู่ในร่างกาย คอยทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย แต่ในปัจจุบันด้วยลักษณะสภาพอากาศที่ผันผวน ร้อนจัด ฝนตกหนัก บางครั้งทำให้คนเราเกิดสภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เห็นได้จากบางคนมีอาการคัดจมูกทุกๆ เช้าหลังตื่นนอน หรือบางคนคัดจมูกจนถึงขั้นจามไม่หยุด เมื่ออากาศชื้นหรือเย็นขึ้น ล้วนเป็นอาการเบื้องต้นของ “ภูมิคุ้มกันต่ำ” ซึ่งหากปล่อยให้ลุกลามไปมากอาจเกิดอาการหวัดเรื้อรัง หรือร้ายแรงถึงขั้นโรคมะเร็ง ซึ่งเราสามารถดูแลตัวเองให้มีระบบภูมิคุ้มกันอย่างปกติได้ด้วย 7 ปัจจัยเบื้องต้นง่ายๆ ดังนี้

1.ความเครียดสะสม ที่ก่อตัวระยะยาว ทั้งเครียดเรื่องงาน ครอบครัว รถติด ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเกือบทั้งหมดลดลง เช่น ลดประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดเชื้อโรคสิ่งแปลกปลอม เม็ดเลือดขาวถูกสร้างลดลง เราต้องรู้จักปล่อยวาง ฝึกสวดมนต์ ทำสมาธิ ฝึกจิตใจให้ผ่อนคลาย

2.โภชนาการที่ไม่ดี ติดนิสัยกินหวานมากเกินไป ชอบกินอาหารแปรรูป อาหารที่เสี่ยงเจือปนโลหะหนักและยาฆ่าแมลง ควรเลือกอาหารที่ดีต่อระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ โปรตีนจากไข่ขาว ปลา กระเทียม หัวหอม ผักผลไม้สีส้มเหลือง ผักใบเขียว ธัญพืช รวมถึงสมุนไพรไทยพลูคาว ได้รับการวิจัยว่ามีสารต้านอนุมูลอิสระและกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถใช้ได้กับบุคคลทั่วไปและกลุ่มผู้มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง

Advertisement

3.ขาดวิตามินดี เป็นวิตามินสำคัญที่มีบทบาทในระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายคนเรา จัดเป็นปัญหาหลักของคนเมือง แม้ในประเทศเขตร้อนที่มีแสงแดดธรรมชาติเพียงพอ แต่กิจกรรมส่วนใหญ่ของคนเมืองอยู่แต่ในตัวอาคาร แนะนำตรวจเช็กระดับวิตามินดีและรับประทานเสริม ภายใต้การดูแลของแพทย์

5.นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การทำงานของระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกันทำงานเชื่อมโยงสื่อสารซึ่งกันและกัน เมื่อพักผ่อนน้อยทำให้เม็ดเลือดขาวชนิดทีเซลล์ลดลง และเพิ่มการอักเสบเรื้อรังในร่างกาย ควรนอนวันละ 6-8 ชั่วโมง

6.ออกกำลังกายไม่เหมาะสม การไม่ออกกำลังกายเลย หรือออกกำลังกายหนักหน่วงเกินไปส่งผลเสียต่อระบบภูมิคุ้มกันได้ ควรเดินทางสายกลาง การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอช่วยเพิ่มการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิก เช่น เดินเร็ว ปั่นจักรยาน ให้ได้อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์

Advertisement

7.บุหรี่และแอลกอฮอล์ เพราะสารในบุหรี่และแอลกอฮอล์จะเพิ่มการอักเสบเรื้อรังกับร่างกาย ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานลดลง

อยากมีสุขภาพดีลองเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของตัวเอง

 

นพ.ไพศิษฐ์ ตระกูลก้องสมุท

นพ.ไพศิษฐ์ ตระกูลก้องสมุท

ภาพประกอบข่าว2

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image