กุมารแพทย์แนะ เข้าใจระบบสมองเด็ก กระตุ้นพัฒนาการด้วยสารอาหารสำคัญ

ใครๆ ก็อยากมีลูกสติปัญญาเฉลียวฉลาด จึงหาสรรพวิธีเพื่อจะหล่อหลอมให้ลูกเป็นอย่างที่หวัง แต่อาจทำโดยไม่มีองค์ความรู้ ไม่เข้าใจการพัฒนาของสมอง เพื่อไม่ให้เสียโอกาสทองของชีวิต กุมารแพทย์จึงมาแนะนำระบบสมองของเด็กและการกระตุ้นพัฒนาการทางสติปัญญา สู่ความสำเร็จในอนาคตของเด็กทุกคน

ผศ.นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ กุมารแพทย์โรคระบบประสาท สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า การเชื่อมโยงทำงานของเซลล์ประสาทสมองแต่ละส่วน เป็นกลไกสำคัญที่สุด ซึ่งต้องเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การทำงานของสมองจึงจะมีประสิทธิภาพ ซึ่งสิ่งที่จะช่วยให้เซลล์สมองเชื่อมโยงกันมีด้วยกันหลายวิธี เริ่มตั้งแต่การดูแลเอาใจใส่เลี้ยงดูของพ่อแม่อย่างใกล้ชิด

ให้เด็กเรียนรู้ผ่านการฝึกฝนทำกิจกรรมนั้นๆ เป็นประจำ รวมถึงเด็กได้รับสารอาหารสำคัญคือ สฟิงโกไมอีลิน (sphingomyelin) ซึ่งพบมากในนมแม่ ผลิตภัณฑ์จำพวกนม และไข่

ในการสร้างส่วนประกอบสำคัญของสมองคือ ไมอีลิน ที่ร่างกายจะเริ่มสร้างตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และสร้างอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็วภายใน 2 ปีแรกหลังคลอด

Advertisement

“เซลล์ประสาทในสมองแต่ละส่วนจะทำงานเชื่อมโยงกัน ผ่านวงจรประสาทในสมอง เปรียบเหมือนถนนที่เชื่อมต่อการทำงานแต่ละส่วนเข้าด้วยกัน ซึ่งยิ่งถ้าสมองสามารถติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วขึ้นเท่าไหร่ จะทำให้การเรียนรู้และพัฒนาการต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” ผศ.นพ.วรสิทธิ์กล่าว

ผศ. นพ. วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์ กุมารแพทย์ โรคระบบประสาท

นพ.วิทยา สังขรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา และศูนย์รังสีวินิจฉัยก้าวหน้า (AIMC ไอแมค) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จากการใช้เครื่องสร้างภาพสนามแม่เหล็ก หรือเอ็มอาร์ไอ พบว่า สมองสามารถทำงานได้ถึง 5 มิติ

อย่างถ้ามีกิจกรรมหนึ่งเกิดขึ้น สมองจะมีการทำงานและเชื่อมโยงกันในหลายๆ ส่วน และทำงานประสานกันเป็นเครือข่าย อีกด้านหนึ่งเราก็สามารถตรวจหาเครือข่ายใยสมองและความสมบูรณ์ของมันได้ ขณะที่ใยสมองมีไมอีลินเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ซึ่งจัดเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กในยุคปัจจุบัน

Advertisement
นพ.วิทยา สังขรัตน์

กระตุ้นสมองด้วยสารอาหาร

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image