“อย่านิ่งเฉย” เมื่อถูก “เลือกปฏิบัติ” ทางเพศ

นิทรรศการ

มูลนิธิเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน (Thai TGA) ร่วมกับกรุงเทพมหานคร มูลนิธิธีรนาถ กาญจนอักษร สถานทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย จัดเวทีสาธารณะ “ลุกขึ้นเปลี่ยนสังคมไทยให้เท่าเทียม : พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558” เนื่องในวันสากลเพื่อการยุติการเกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกันและคนข้ามเพศ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

งานเสวนาเริ่มต้นด้วยการนำผู้ที่ได้รับผลกระทบการถูกเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศซึ่งภายหลังต่อสู้เรียกร้องขอความเป็นธรรมสำเร็จมาถอดบทเรียน อย่างนางแบบสาวข้ามเพศ ซึ่งถูกการ์ดของสถานบันเทิงแห่งหนึ่งย่านอาร์ซีเอปฏิเสธห้ามเข้าใช้บริการ ภายหลังตรวจบัตรประชาชนแล้วพบว่าเธอเป็นคนข้ามเพศ

ซารีน่า ไทย
ซารีน่า ไทย

ซารีน่า ไทย เล่าว่า ตอนนั้นเศร้า สมองคิดและไตร่ตรองกับเหตุการณ์ คิดว่านี่คือความผิดของตนหรือไม่ หรือเป็นเพราะการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศ ภายหลังจึงมาปรึกษาเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย จนเรื่องเข้าสู่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จากนั้น กสม.ได้เรียกผู้จัดการร้านดังกล่าวมาไกล่เกลี่ยและจบด้วยดีในที่สุด

Advertisement

“การถูกเลือกปฏิบัติทางเพศ แต่ไม่ออกมาเรียกร้องก็อาจเป็นความผิดได้ ฉะนั้นต้องเอาชนะความท้อใจ รวมพลังใจต่อสู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม” ซารีน่ากล่าว

ถัดมาที่ ชินรัตน์ บุตรโท เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลองค์การ NGOs สากล ซึ่งเคยถูกปฏิเสธทำบัตรประชาชนเพราะเป็นคนข้ามเพศ เล่าว่า พอบอกคำนำหน้าว่านายกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตพระโขนง กทม. ปรากฏว่าทั้งเจ้าหน้าที่ดังกล่าวรวมถึงหัวหน้านายทะเบียน บอกให้กลับไปทำบัตรประชาชนกับที่ว่าการอำเภอภูมิลำเนา โดยให้นำผู้ใหญ่บ้าน ผู้ปกครองมายืนยันพิสูจน์อัตลักษณ์ มองว่าเป็นการเสียเวลาเสียโอกาส จึงปรึกษากับเครือข่ายเพื่อนกะเทยไทย ซึ่งต่อมาได้ นางผุสดี ตามไท รองผู้ว่า กทม. ติดต่อให้ จนเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตดังกล่าวโทรให้รีบกลับไปทำบัตรประชาชนได้

“นี่คือการเลือกปฏิบัติหรือไม่ จากตอนแรกที่ปฏิเสธไม่ให้ทำ แต่พอผู้ใหญ่ติดต่อไปทำไมถึงบอกว่าทำได้ ฝากถึงเพื่อนๆ อย่ายอมเมื่อถูกเลือกปฏิบัติ ต้องลุกมาเป็น 1 เสียงเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง เพราะปัจจุบันยังมีการเลือกปฏิบัติในสังคม โดยเฉพาะการเข้าเรียน การเข้าทำงาน ที่ยังมีการเลือกปฏิบัติเพราะเหตุแห่งเพศรุนแรง” ชินรัตน์กล่าว

Advertisement

นิทรรศการ (2)

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ เล่าว่า พ.ร.บ.ความเท่าเทียมฯ ถือเป็นกฎหมายแรกที่มาคุ้มครองผู้ถูกเลือกปฏิบัติทางเพศ ฉะนั้นถ้าถูกเลือกปฏิบัติต้องต่อสู้ ซึ่งกลไกของกฎหมายจะมีคณะกรรมการวินิจฉัยการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศ (วลพ.) รับเรื่องร้องเรียนและวินิจฉัย หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้เสียหาย จะได้รับเงินจากกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศมาเยียวยา นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ (สทพ.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน คอยดูแลไม่ให้เลือกปฏิบัติระดับนโยบายชาติอีกด้วย

รณภูมิ สามัคคีคารมย์ คณะกรรมการจัดทำอนุบัญญัติของ พ.ร.บ.ความเท่าเทียมฯ และประธาน Thai TGA เล่าว่า อยากให้ศึกษากฎหมายความเท่าเทียม เช่น หลังเกิดเหตุการณ์แล้วต้องร้องเรียนภายในเวลาเท่าใด

“การมีกฎหมายความเท่าเทียมอาจไม่ได้การันตี 100% ว่าสังคมจะเปลี่ยน แต่อย่างน้อยทัศนคติเริ่มเปลี่ยน สุดท้ายสังคมก็จะเปลี่ยนในที่สุด” รณภูมิกล่าวทิ้งท้าย

IMG_8849

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์
ชินรัตน์ บุตรโท
ชินรัตน์ บุตรโท
QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image