มิสไทยแลนด์เวิลด์ ชิง ‘นางงามจิตอาสา’ น้ำใจคนสวย โครงการเพื่อสังคม

มิสไทยแลนด์เวิลด์ ชิง ‘นางงามจิตอาสา’ น้ำใจคนสวย โครงการเพื่อสังคม

น้ำใจคนสวย – หลังพา 24 สาวงามผู้เข้าประกวดไปเก็บตัวทำกิจกรรมนอกสถานที่ถึง 3 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นครราชสีมา และชลบุรี ให้สาวงามได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์และพัฒนาตัวเอง กองประกวดมิสไทยแลนด์ เวิลด์ 2019 ไม่รอช้าจัดการแข่งขันชิง “รางวัลฟาสต์แทร็ก” รางวัลพิเศษที่จะทำให้ผู้เข้าประกวดเข้ารอบสุดท้ายแบบอัตโนมัติ จำนวน 2 รางวัล ประกอบด้วย รางวัล Head to Head Challenge และ รางวัลนางงามจิตอาสา ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ โดยจะประกาศผลผู้ชนะการแข่งขันในรอบพรีลิมมินารีวันที่ 1 สิงหาคมนี้

ในการแข่งขันชิง “รางวัลนางงามจิตอาสา” ผู้เข้าประกวดจะนำเสนอโครงการเพื่อสังคมที่ได้ทำมาภายในเวลา 2 นาที ซึ่งแต่ละคนต่างตั้งใจนำเสนอโครงการอย่างจริงจัง บางรายถึงกับหลั่งน้ำตาด้วยความซาบซึ้ง ทั้งนี้ โครงการของสาวงามมีความหลากหลาย ครอบคลุมทั้งในเรื่องผู้สูงอายุ เด็กในแคมป์ก่อสร้าง ดนตรีบำบัดเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก เด็กกำพร้า สนับสนุนเครื่องมือการแพทย์ ยกระดับคุณภาพชีวิตเด็กด้อยโอกาส คนยากไร้ ให้เข้าถึงระบบการศึกษา และช่วยเหลือเด็กไร้สัญชาติ

ผู้ที่มีคะแนนสูงสุด 3 คน ผ่านเข้ารอบไปรอฟังผลผู้ชนะรางวัลนี้ในรอบพรีลิมมินารี ประกอบด้วย หมายเลข 3 น.ส.นรินทร ชฎาภัทรวรโชติ หรือเกรซ นำเสนอโครงการ Let me hear you ให้คำปรึกษาในด้านจิตวิทยา โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า ซึ่งกำลังพบมากในปัจจุบัน และอยากให้สังคมเข้าใจถึงผู้ป่วยโรคจิตเวชมากขึ้น, หมายเลข 2 น.ส.ชวัลลักษณ์ อังเกอร์ หรือ เกรซ นำเสนอโครงการเกี่ยวกับจิตอาสาสร้างบ้าน ซ่อมแซมบ้านให้แก่คนไร้บ้าน ซึ่งเป็นโครงการที่เธอลงมือทำตั้งแต่อายุ 15 ปี และหมายเลข 12 น.ส.กัญจน์รัตน์ ตันติฤทธิพร หรือ เหมยลี่ นำเสนอโครงการจิตอาสาเพื่อเด็กไร้สัญชาติ (Care for Future) เป็นโครงการเพื่อขับเคลื่อนให้เด็กไร้สัญชาติในประเทศไทยได้มีบัตรประชาชน เพื่อให้ได้เข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ซึ่งรวมไปถึงการศึกษาและการรักษาโรคซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ

Advertisement
น.ส.ชวัลลักษณ์ อังเกอร์
น.ส.นรินทร ชฎาภัทรวรโชติ

จากนั้น 24 ผู้เข้าประกวดจับสลากเพื่อจับคู่แข่งขัน Head to Head Challenge หรือการพูดในที่สาธารณะให้คณะกรรมการฟัง ตามหัวข้อที่มีให้เลือก อาทิ นางงาม, อินฟูเอนเซอร์, การวิจารณ์รูปร่าง, เทคโนโลยี, สังคมสูงวัย และความหลากหลายทางเพศ ซึ่งมีผู้ผ่านเข้ารอบ 3 คนสุดท้าย ได้แก่ หมายเลข 14 มายด์-น.ส.วีริสา สุขสุรัติชัย, หมายเลข 11 แอล-น.ส.ลักขนาวัลย์ ประดับแก้ว และหมายเลข 7 ฝุ้น-ปาลิน นารดาสิริ

สำหรับการแข่งขันประชันไหวพริบกับการพูดในที่สาธารณะเป็นไปอย่างสนุกและเข้มข้น สาวงามต่างฟาดฟันกันด้วยเทคนิคการพูด โน้มน้าวใจ และแสดงออกให้เห็นถึงทัศนคติในด้านต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจ อาทิ ในการจับคู่แข่งขันระหว่าง หมายเลข 18 เนิส-ดุสิตา ทิพโกมุท และหมายเลข 21 โมเมย์-มาลินี จันทร์รอด ในหัวข้อเรื่อง “เทคโนโลยี” ซึ่งเนิสได้สะท้อนทัศนคติที่น่าสนใจว่า เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มีความสำคัญแต่ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ควรที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างเท่าทันและเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องการให้ความสำคัญต่อบทสนทนาในชีวิตประจำวัน และการสื่อสารแบบต่อหน้า ซึ่งมีผลต่อการรักษาจิตใจของคนรอบข้างด้วย

มายด์-น.ส.วีริสา สุขสุรัติชัย
ฝุ้น-ปาลิน นารดาสิริ
น.ส.กัญจน์รัตน์ ตันติฤทธิพร
แอล-น.ส.ลักขนาวัลย์ ประดับแก้ว

ติดตามข่าวบันเทิงไลฟ์สไตล์ กับ Line@มติชนนิวเจน

เพิ่มเพื่อน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image