ตัวเลขใช้สมาร์ทโฟนในไทย แซงหน้าโทรศัพท์พื้นฐานในปี 2559

รายงาน Mobility Report ฉบับล่าสุดของ อีริคสัน (Ericsson) ซึ่งได้ตีพิมพ์ในเดือนนี้เผยให้เห็นว่าจำนวนอุปกรณ์ Internet of Things หรือ IoT นั้นกำลังจะแซงหน้าโทรศัพท์มือถือและกลายเป็นอุปกรณ์ที่จะมีการเชื่อมต่อที่มีมากที่สุดภายในปี พ.ศ. 2561 โดยระหว่างปี 2558 ถึง 2561 จำนวนอุปกรณ์ IoT คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 23 ต่อปี โดยอุปกรณ์ IoT ที่จะเชื่อมต่อกับเครือข่ายมือถือ เซลลูลาร์ หรือเรียกอีกอย่างว่า Cellular IoT นั้นมีการคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงที่สุด โดยจาก 2,800 ล้านเครื่องมือทั้งหมดที่จะมีการเชื่อมต่อในปี 2564 เกือบ 1,600 ล้านเครื่องจะเป็นเครื่องมือ IoT

คามิลล่า โวเทียร์ หัวหน้าของ อีริคสัน ประเทศไทยกล่าวว่า “เราได้เห็นเทคโนโลยี IoT เติบโตอย่างรวดเร็วอันเนื่องมาจากมีการแข่งขันทางด้านราคาของอุปกรณ์สูงขึ้น และมีการพัฒนาคิดค้นนวัตกรรมการใช้งานในรูปแบบใหม่ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยในตอนนี้ IoT นั้นได้ก้าวเข้ามามีบทบาทสำคัญของหลายๆ อุตสาหกรรมแล้วด้วย และในขณะเดียวกันเครือข่าย 4G/LTE ครอบคลุมให้ใช้งานได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งก็ได้เปิดโอกาสให้หลายๆ อุตสาหกรรมสามารถนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่กิจการ สินค้าและบริการ เพื่อมอบประสบการณ์ที่น่าทึ่งให้แก่ลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น

ตัวเลขการใช้งานสมาร์ทโฟนในประเทศจะยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าจะแซงหน้าโทรศัพท์พื้นฐานในปีนี้ และเมื่อถึงปี พ.ศ.2564 ตัวเลขสมาร์ทโฟนจะเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าหรือประมาณ 80 ล้านการใช้งานจากเกือบ 40 ล้านในปี 2558 โดยทั่วโลก เกือบร้อยละ 80 ของโทรศัพท์ที่ขายไปในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ล้วนเป็นสมาร์ทโฟนเมื่อเทียบกับประมาณร้อยละ 75 ของเมื่อไตรมาสสุดท้ายปี 2558

โวเทียร์กล่าวอีกว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย ตัวเลขการใช้งานนั้นคาดว่าจะเติบโตขึ้นในอัตราเติบโตเฉลี่ยสะสมต่อปี (CAGR) ที่ร้อยละ 15 จนถึงปี 2564 “การเติบโตของเครือข่ายบรอดแบนด์โมบายนั้นมีที่มาจากหลายปัจจัยเช่น ราคาเครื่องมือที่ถูกลงและความนิยมของแอพที่มีการใช้และส่งดาต้าข้อมูลในปริมาณมากอย่างเช่นแอพเล่นวีดีโอ ผู้บริโภคนั้นหันมาให้ความสนใจกับ การใช้งานแอพพลิเคชั่นบนเครือข่ายจริง หรือ App coverage มากกว่าการโทรเข้าออกหรือบริการด้านวอย์ Voice coverage ปัจจุบันการใช้งานด้านวอย์นั้นมีน้อยกว่าร้อยละ 5 ของทราฟฟิคทั้งหมดที่รับส่งบนเครือข่ายโมบาย แม้คุณภาพการการใช้บริการวอย์ที่ดีจะยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ แต่ประสิทธิภาพของเครืข่ายในการเข้าถึงแอพต่างๆนั้นคือสิ่งที่ผู้บริโภคต่างต้องการ ดังที่จะเห็นได้ในรายงานว่าในประเทศไทย เกือบครึ่งของจำนวนผู้บริโภคที่มีเครื่องมือสมาร์ตดีไวซ์นั้นต้องการเข้าถึงโซเชียลเน็ตเวิรค์ ใช้บริการส่งข้อความและรับชมวีดีโอทางออนไลน์เป็นกิจวัตรประจำวัน” คุณโวเทียร์เสริม

Advertisement

รายงานกล่าวว่าตัวเลขการใช้งานโมบายในภูมิภาคนี้จะมีจำนวนมากกว่า 1,200 ล้านรายในปี 2564 ซึ่งมีอัตราการเติบโตมากกว่าร้อยละ 4 ต่อปีระหว่างปี 2558 และปี 2564 และที่น่าสนใจอีกคืออัตราการเข้าถึงบริการโมบายบรอดแบนด์ใน ประเทศไทย มาเลเซีย ออสเตรเลียและสิงคโปร์ นั้นจะเกิน 100 เปอร์เซ็นต์ภายในปีนี้

นอกเหนือจากนี้ กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ปานกลางในภูมิภาคนี้ยังเป็นปัจจัยที่ขับเคลื่อนความต้องการอินเตอร์เน็ตรอดแบนด์ความเร็วสูงในเขตที่อยู่อาศัย โดยเฉพาะในตลาดที่กำลังเติบโตอย่างประเทศไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนาม โดยตัวเลขการใช้งานอินเตอร์เน็ตฟิคบรอดแบนด์ของครัวเรือนไทยและกิจการขนาดเล็กและกลางนั้นมีอัตราการเข้าถึงบริการเกือบร้อยละ 30 ในปี 2558 และคาดว่าจะสูงขึ้นถึงประมาณร้อยละ 40 ในปี 2564

รายงานยังระบุด้วยว่าตัวเลขการใช้งานเครือข่าย 4G/LTE จะยังคงสูงขึ้นในภูมิภาคนี้และคาดว่าจะสูงถึง 100 ล้านรายในปี 2559

บทวิเคราะห์ในรายงาน ConsumerLab ฉบับล่าสุดของอีริคสันแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคชาวไทยนั้นกำลังมีรูปแบบการใช้ชีวิตแบบสังคมเครือข่าย โดยในสังคมเครือข่ายนั้นชาวไทยจะวัฒนธรรมการใช้ชีวิตที่เปิดกว้างยิ่งขึ้น มีการแบ่งปัน ร่วมมือและบริหารตนเองมากขึ้น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวิธีที่เราเข้า สร้างสรรค์และร่วมมือกันและกัน อย่างไรก็ดีปัจจัยสำคัญในสังคมเครือข่ายนั้นคือโครงสร้างพื้นฐานด้าน ICT ที่ทรงพลังและราคาเข้าถึงได้ซึ่งสนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลและสร้างความร่วมมือ โดยเครือข่ายโมบายนั้นจะเป็นจะเป็นสื่อกลางด้านความรู้และรากฐานที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมต่างๆ ในอนาคต” โวเทียร์กล่าวทิ้งท้าย

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image