อย่าทำให้ ‘ความคุ้นชิน’ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ขอ ‘สิทธิหายใจ’อากาศบริสุทธิ์

เด็กๆ เรียนรู้กลไกการทำงานของเครื่องมือตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ของจริง

อย่าทำให้ ‘ความคุ้นชิน’ ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ขอ ‘สิทธิหายใจ’อากาศบริสุทธิ์

“เพราะลมหายใจของเด็กคือลมหายใจของสังคม”

คือปณิธานที่เป็นแรงบันดาลใจให้ ชาร์ป ประเทศไทย เดินหน้าจัดกิจกรรม “ไรท์ ทู บรีธ” (Write to Breathe) ครั้งที่ 2 มอบเครื่องฟอกอากาศให้โรงเรียนและมูลนิธิเด็กใน จ.กาญจนบุรี พร้อมจับมือศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ออกแบบฐานกิจกรรมให้เด็กๆ เรียนรู้และตระหนักถึงภัยจากฝุ่น PM 2.5

ซึ่งมีไฮไลต์คือการสอนดูแผนที่ของนาซ่าและกรมป่าไม้ เพื่อให้เห็นถึงจุดที่มีการเผาไหม้และทิศทางของฝุ่น การดูแลตัวเองและสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างถูกวิธี เพราะ จ.กาญจนบุรี เป็นหนึ่งในจังหวัดที่มีค่าเฉลี่ยฝุ่นละอองเกินค่ามาตรฐานมาอย่างต่อเนื่อง และเคยวัดได้มากถึง 210 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร อันเป็นระดับที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

เขียนระดมความคิดจากความรู้ที่ได้จากการร่วมกิจกรรม เพื่อสะท้อนไปยังผู้ใหญ่ในสังคม
ศูนย์สิ่งแวดล้อม ม.สวนดุสิต จัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้โดย ให้กับเด็กๆกว่า 150 คน

ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อมฯ กล่าวว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงของปัญหาฝุ่น PM2.5 คือ ความคุ้นชิน ไม่ตระหนักถึงผลเสียต่อสุขภาพ เนื่องจากผลกระทบทางสุขภาพของฝุ่น PM2.5 ไม่ใช่อาการหรือโรคที่รุนแรงเฉียบพลัน แต่เป็นโรคที่มีลักษณะเรื้อรัง บั่นทอนสุขภาพลงไปทีละนิด ทำให้ผู้คนไม่รู้สึกว่าเป็นปัญหาที่ต้องรีบจัดการ นำมาสู่การละเลยที่จะป้องกันตนเองในที่สุด อย่างไรก็ตาม การป้องกันตนเองด้วยการใส่แมสก์ หรือการใช้เครื่องฟอกอากาศ เป็นเพียงการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ซึ่งการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ ไม่ว่าจะการเผาในการเกษตร การจราจรขนส่ง หรือโรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย บนกฎหมายและการบังคับใช้ที่เข้มงวด

Advertisement
ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ด.ช.ทีปกร หรือ น้องวิน นักเรียนชั้น ม.2 ร.ร.พนมทวนพิทยาคม เล่าว่า เวลาที่เดินออกมาข้างนอกก็จะรู้สึกคันตามตัว มีน้ำมูก เวลามองออกมานอกห้องเรียน จากที่เคยเห็นตึกเห็นภูเขาหรือต้นไม้ ก็ถูกฝุ่นบดบังจนมองไม่เห็น ข้างโรงเรียนเป็นไร่อ้อย เวลาที่มีการเผาก็จะมีควันมากและมีเขม่าสีดำตกอยู่ทั่ว ติดตามตัวตามเสื้อผ้า หรือบางทีก็เข้าไปในจมูก ห้องเรียนที่โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นห้องพัดลม ไม่ได้ปิดห้องระหว่างเรียน นักเรียนต้องหาหน้ากากมาใส่เอง บางคนที่ฐานะไม่ดีก็ไม่มีเงินซื้อหน้ากากใส่

น้องวิน

ขณะที่ น.ส.อภิญญา หรือ น้องเก่ง นักเรียนชั้น ม.5 ร.ร.กาญจนานุเคราะห์ ที่ต้องเผชิญกับอาการผื่นแพ้ที่ผิวหนังซึ่งกำเริบมาอย่างต่อเนื่อง กล่าวว่า ถึงจะเรียนอยู่ในห้องแอร์ แต่ก็ต้องเดินเปลี่ยนห้องเรียน วิชาพลศึกษาก็ต้องออกกำลังกายกลางแจ้งหรือในโรงยิม เลี่ยงที่จะเจอฝุ่นไม่ได้ ซึ่งจริงๆ หลายคนก็ทราบดีว่าปัญหาเกิดจากอะไร แต่ก็ไม่มีใครลงมือแก้จริงๆ เสียที เพราะอย่างการเผาไร่อ้อยที่เป็นสาเหตุหลัก เกษตรกรก็หยุดเผาไม่ได้ เพราะกระทบกับปากท้องของเขาและไม่มีทุนมากพอที่จะจ้างแรงงานหรือใช้เครื่องจักร หนูจึงคิดว่าปัญหาฝุ่นต้องช่วยกันหลายๆ ฝ่าย แต่ที่สำคัญที่สุดคือภาครัฐ เพราะมีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่

Advertisement

เพื่อนำคุณภาพชีวิตที่ดีกลับคืนมาสู่พื้นที่

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่เพิ่มเพื่อน

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image