‘นักรบ’ หลังบ้านไมโครซอฟท์ เสริมความ’เชื่อมั่น’ให้ลูกค้า

บนโลกไซเบอร์ที่กำลังย่างก้าวเข้าสู่ยุคของการใช้ “คลาวด์” ก้อนเมฆบนโลกไซเบอร์ที่ทุกคนนำข้อมูลไปเก็บเอาไว้ ไมโครซอฟท์เองก็เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการคลาวด์ที่มีผู้คนจำนวนมากใช้บริการ และความมุ่งมั่นของไมโครซอฟท์คือ การปกป้องข้อมูลของลูกค้าบนคลาวด์เอาไว้ ท่ามกลางกลุ่มผู้ไม่หวังดีที่มีเพิ่มขึ้นอย่างมากมายเป็นเงาตามตัวเทคโนโลยีที่เติบโต

ด้วยเหตุนี้ ไมโครซอฟท์จึงมีหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นมาเพื่อคอยดูแลปกป้องข้อมูลของลูกค้าเอาไว้ ภายใต้ “หน่วยอาชญากรรมดิจิตอล” (Digital Crimes Unit) หรือ ดีซียู ที่ถือเป็นหัวใจสำคัญของการให้บริการด้านความปลอดภัยจากไมโครซอฟท์ ที่จะทำหน้าที่ในการดูแลเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ รวมไปถึงการมีผู้เชี่ยวชาญเรื่องความปลอดภัยบนอินเตอร์เน็ต ที่จะใช้เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อหยุดยั้งหรือระงับการก่ออาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ และภัยคุกคามต่างๆ บนโลกไซเบอร์

โดยภายใต้ดีซียู จะมี ศูนย์ไซเบอร์ ไครม์ เซ็นเตอร์ ที่ตั้งอยู่ที่เมืองเรดมอนด์ สหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับภัยคุกคามต่างๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกไซเบอร์ทั่วโลก มีการแจ้งเตือนภัยคุกคามที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาบนโลกนี้ ว่าเกิดขึ้นที่ใดบ้าง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะนำไปสู่การหาวิธีการปกป้องและทำให้ผลิตภัณฑ์ไม่โดนคุกคาม

คีชาว์ฟ ดาห์คาด ผู้อำนวยการด้านการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาและหน่วยอาชญากรรมดิจิตอล ไมโครซอฟท์ เอเชีย อธิบายในเรื่องของข้อมูลที่ได้จากไซเบอร์ไครม์ เซ็นเตอร์ไว้ว่า ข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงแค่แพลตฟอร์มในการปกป้องการโจมตีในอนาคตเท่านั้น แต่ยังจะช่วยสร้างฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยที่ดียิ่งขึ้นในผลิตภัณฑ์และบริการของไมโครซอฟท์ ที่ผ่านมาไมโครซอฟท์ยังได้ช่วยกำจัดมัลแวร์จากคอมพิวเตอร์ทั่วโลกแล้วกว่า 10 ล้านเครื่อง และยังคงทำงานกับเครือข่ายพันธมิตรทั่วโลกเพื่อหยุดยั้งการแพร่กระจายของมัลแวร์ ภายใต้ภัยคุกคามจากมัลแวร์ที่เพิ่มสูงขึ้น จากดัชนีมัลแวร์ที่ไมโครซอฟท์สำรวจประจำปี พบว่าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีความเสี่ยง

Advertisement

ด้านมัลแวร์สูงกว่าภูมิภาคอื่น โดยจาก 5 อันดับ

แรกของประเทศที่มีความเสี่ยงการติดมัลแวร์สูงสุดนั้น พบว่าเป็นชาติจากภูมิภาคนี้ถึง 4 อันดับด้วยกัน และประเทศไทยเอง มีความเสี่ยงสูงเป็นอันดับ 3 ในเอเชียแปซิฟิก และอันดับ 7 ของโลก

โดยที่ดีซียูนี้ จะมีเครื่องมือในการคอยตรวจจับภัยคุกคามจากมัลแวร์แบบเรียลไทม์จากทั่วโลก แสดงให้เห็นภัยที่เกิดขึ้นมากมาย และนำไปสู่การรายงานผล และการหาทางปกป้อง

Advertisement

หลังบ้านที่แสนจะเข้มแข็งเหล่านี้นี่เอง ที่ถือว่าเป็นเกราะปกป้องผู้ใช้งานได้อย่างดีเยี่ยม ทำให้เราๆ ใช้ผลิตภัณฑ์ของไมโครซอฟท์ได้อย่างสบายใจ โดยเฉพาะภาคธุรกิจ ที่ต้องการความ “มั่นใจ” ในการใช้งานผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพราะข้อมูลถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการทำ

เพราะฉะนั้น ใครที่ใช้ “คลาวด์” ทั้งหลายของไมโครซอฟท์ ไม่ว่าจะเป็น อาชัวร์ หรือออฟฟิศ 365 ก็สามารถเชื่อมั่นได้ระดับหนึ่งแล้วว่า ไมโครซอฟท์ไม่ปล่อยให้คุณเดียวดายท่ามกลางภัยคุกคามจากบรรดาผู้ไม่หวังดีอย่างแน่นอน

เหล่าบรรดาพนักงานของไมโครซอฟท์ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่เบื้องหลังเพื่อคอยคุ้มกันลูกค้า ก็เปรียบเสมือน “นักรบ” ที่พร้อมจะต่อสู้กับผู้ไม่หวังดี ด้วยหลังบ้านที่เข้มแข็ง บวกกับพันธมิตรที่ร่วมมือกันปกป้องข้อมูลของลูกค้าเอาไว้ เพื่อเกิดเป็นแพลตฟอร์มที่แข็งแกร่งขึ้นมา

แต่จะให้ดี ก็มีผู้ช่วยเสริม อย่างพวกซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส เพื่อเอาไว้คอยจัดการกับบรรดาผู้ไม่หวังดีด้วย ก็จะดียิ่งๆ ขึ้น

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image