ท่อง “ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง” สัมผัสงานฝีมือ “เครื่องโขน” สุดวิจิตร

นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงอนุรักษ์และฟื้นฟู การแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง กับการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ ซึ่งไม่เพียงแต่โขนจะได้รับความนิยมในหมู่ผู้ชมมากขึ้นเท่านั้น แต่เหล่าช่างฝีมือผู้รังสรรค์ศิลปะชั้นสูงของไทยก็ยังกลับมามีผู้สืบทอดอีกครั้ง อาทิ ฉากโขน ผ้า รวมไปถึง ศิลปะการทำหัวโขน ซึ่งส่วนหนึ่งรวบรวมไว้ ณ ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทอง จ.อ่างทอง

ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ และประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ กล่าวว่า เมื่อปี 2549 นั้นชาวสีบัวทองประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนัก ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนมากมาย สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงรับประชาชนเหล่านี้มาฝึกอาชีพ แรกเริ่มก็แกะสลักไม้ที่ฝังอยู่ใต้ดินต่างๆ และเริ่มทำเซรามิก ซึ่งเป็นแห่งเดียวที่ทำเครื่องชามบนโต๊ะเสวย ทอผ้าพื้นต่างๆ จนเมื่อทำโขนพระราชทาน เราจึงได้นำเอาผ้าทอต่างๆมาทำที่นี่ จนสามารถทอผ้ายกจากเมืองนครศรีธรรมราชที่หายไปกว่า 100 ปี ด้วยลายราชสำนักได้ นอกจากนี้เรายังได้ริเริ่มทำหัวโขนจากกระดาษข่อยขึ้นมาได้ โดยหวังว่าในอนาคตจะสามารถผลิตสิ่งต่างๆด้วยฝีมือของช่างศิลปาชีพได้

สำหรับ ศูนย์ศิลปาชีพสีบัวทองนั้น พล.ร.อ.สำเภา พลธร ผู้จัดการศูนย์ศิลปาชีพ กล่าวว่างานหลักๆของที่นี่นั้น ในปัจจุบันเรียกว่ามีส่วนสำคัญในการผลิตเครื่องโขนต่างๆ ทั้งยังมีงานฝึกอาชีพอื่นๆ แบ่งเป็นพื้นที่ส่วนต่างๆ เริ่มจากการทอผ้า ตั้งแต่การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม สาวเส้นไหม ย้อมสีไหม โดยเน้นการทอสีธรรมชาติ โดยทอผ้ายกในราชสำนัก แทนผ้านำเข้าจากอินเดีย มีความทนทานและใช้ในการแสดงโขนได้จริง ทอลายอย่างลายราชวัตร ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ มูลค่ากว่าแสนบาท ซึ่งได้ใช้ในการแสดงมาแล้ว 2 ครั้ง

 

Advertisement

S__57524272

ปักผ้า1 (4)

การทอผ้า

Advertisement

ปักผ้า

ปักผ้า1 (1)

ปักผ้า1 (2)

ปักผ้า1 (3)

S__57524273
การปักผ้า

 

การปักผ้า ซึ่งนอกจากจะฝึกปักลายธรรมดาแล้ว ยังมีการปักผ้าลายโขนต่างๆ ซึ่งกว่าจะเป็นผ้าผืนหนึ่งต้องปักถึง 17 ชิ้น ใช้เวลาหลายเดือนด้วยกัน

 

S__57524277

 

S__57524278

S__57524279

S__57524280

S__57524281

S__57524282

เซรามิค
เซรามิก

 

การทำเซรามิก ชุดกาแฟ เครื่องแก้วต่างๆ ในลวดลายดอกไม้งดงามอย่างลั่นทม บัวหลวง และดอกไม้พระนาม ซึ่งเป็นที่เดียวที่สามารถผลิตเครื่องเซรามิกที่ใช้บนโต๊ะเสวย

 

ทำหัวโขน4

ทำหัวโขน

ทำหัวโขน1

ทำหัวโขน2

ทำหัวโขน3

ทำหัวโขน5
ทำหัวโขน4

 

และการทำหัวโขนจากกระดาษข่อย ที่ใช้เอาภูมิปัญญาพื้นบ้านจากการทำสมุดข่อยเมื่ออดีต มาผลิตกระดาษข่อยในการขึ้นหัวโขน ทดแทนการทำงานแกะสลัก ด้วยไม่ต้องการจะตัดไม้เพิ่มขึ้น

ทั้งหมดนี้ ผู้สนใจสามารถชมความงามที่จะไปปรากฏในการแสดงโขนพระราชทานตอน พิเภกสวามิภักดิ์ ตั้งแต่ 5 พฤศจิกายน – 5 ธันวาคมนี้ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย สามารถซื้อบัตรได้แล้ว ที่ไทยทิกเก็ตเมเจอร์ ทุกสาขา

 

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image