ราชพัสตราภรณ์ ‘พระราชินี’ สร้างชีวิต ‘พสกนิกร’ นำนิยม ‘ผ้าไทย’

4

10.เสด็จฯ เยือนเมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น

นับเป็นเวลา 7 ทศวรรษ ที่ภาพของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ เคียงคู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้พสกนิกรชาวไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี กลายเป็นภาพประทับในใจคนไทยมาตลอด

ที่ไม่เพียงแต่เรื่องปากท้องของราษฎรเท่านั้น แต่ยังทรงให้ความสำคัญและทุ่มเทพระองค์ให้กับการอนุรักษ์และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของชาติอีกด้วย

Advertisement

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ “ผ้าไทย”

เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 7 รอบ 84 พรรษา จึงเป็นโอกาสอันดีแห่งการเผยแพร่หัตถกรรมอันทรงคุณค่าที่ครั้งหนึ่งเคยเลือนหายไป จนได้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงกระตุ้นเตือนให้คนไทยหันมาสนใจในผ้าไทยอีกครั้ง ด้วยทรงเป็นแบบอย่างในการใช้ผ้าไทยด้วยพระองค์เอง ทรงฉลองพระองค์ชุดผ้าไทยไปทุกหนทุกแห่งไม่เว้นแม้แต่การเสด็จฯเยือนต่างประเทศ เผยแแพร่ความงามของผ้าไทยสู่สายตาชาวโลก

พลิกฟื้นผ้าไทย จากสิ่งทอชาวบ้านที่หายไป ให้กลับมาเป็นอาภรณ์ที่คนทั่วโลกให้การยอมรับถึงคุณค่าและความงามอันประเมินค่าไม่ได้

ทุกวันนี้ผ้าไทยกลายเป็นผ้าที่คนไทยเลือกใช้ในงานสำคัญๆ ของชีวิต อย่างงานแต่งงาน หรือพิธีสำคัญอย่างไร้ข้อกังขา

2069

จากปากท้อง สู่งานอนุรักษ์ผ้าไทย

ปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เผยว่า จากการศึกษาพระฉายาลักษณ์เก่าจะรู้ว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนพระราชหฤทัยผ้าไทยตั้งแต่ยังทรงเป็นพระคู่หมั้น โดยทรงฉลองพระองค์ชุดไทยมาโดยตลอดแม้ว่าจะเติบโตที่ต่างประเทศ แม้กระทั่งในพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสก็ตาม แต่จุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ผ้าไทยนั้น อาจกล่าวได้ว่าเริ่มจากเรื่องของปากท้องของประชาชน

“เมื่อทรงดำรงตำแหน่งพระราชินี ทรงตามเสด็จฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปเยี่ยมราษฎรยังที่ต่างๆ ครั้งหนึ่งเมื่อมีน้ำท่วมใหญ่ที่จังหวัดนครพนม พระองค์ได้ทอดพระเนตรหญิงชาวบ้านแต่งกายด้วยผ้าไหมมารอเฝ้าฯ เมื่อทรงซักถามแล้วก็ได้ทรงทราบว่า นอกจากจะทำไร่นาแล้ว ราษฎรยังปลูกหม่อนเลี้ยงไหม และทอผ้าไว้ใช้เองเป็นส่วนใหญ่ พระองค์จึงทรงมีรับสั่งให้ ม.ร.ว.สุประภาดา เกษมสันต์ ราชเลขานุการในพระองค์ (ขณะนั้น) และ นางสาวจรุงจิตต์ อุรัสยะนันทน์ (ขณะนั้น) เดินทางไปค้นหาผ้าไหมยังอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม และจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสาน ทั้งย้ำว่าแม้แต่ผ้าถูเรือนก็อย่าได้มองข้าม”

คณะทำงานชุดนั้นเองก็ได้พบว่าชาวบ้านใช้ “ผ้าไทย” ในการแลกเปลี่ยนแทนเงินในยามยากแค้น และมีค่าดุจทองคำ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ทรงมีพระราชดำริว่าการทอผ้าไหมน่าจะเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับราษฎรนอกเหนือไปจากการทำนาได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือชาวบ้านอย่างยั่งยืน จึงเป็นที่มาของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ

ปิยวรา กล่าวต่อว่า เมื่อมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯได้เกิดขึ้นแล้ว พระองค์ทรงชักชวนให้ชาวบ้านทอผ้าอย่างไม่ปิดกั้นจินตนาการของผู้ทอ ด้วยทรงเห็นว่าชาวบ้านเปรียบเหมือนครู ไม่ว่าอยากจะทออะไรก็จะทรงรับซื้อทั้งหมด เพียงแต่จะคอยตะล่อมเรื่องฝีมือ ความละเอียดและคุณภาพ นอกจากฝีมือของราษฎรจะพัฒนาแล้ว ยังมีรายได้สู่ท้องถิ่น

“ครั้งหนึ่งชาวบ้านทูลฯถามพระองค์ว่า ผ้าชาวบ้านแบบนี้ พระองค์จะเอาไปทำไม พระองค์ก็มีรับสั่งว่าให้ชาวบ้านทอผ้ามา จะรับซื้อไว้เอง เพื่อเป็นกำลังใจให้กับชาวบ้านได้รู้สึกดีที่พระราชินีทรงใช้ผ้าของเขา ทำให้อยากที่จะทอผ้าต่อไป”

“ทุกวันนี้จากชาวบ้านที่ทอผ้าให้กับศิลปาชีพ หลายคนก้าวขึ้นมาเป็นครูสอนคนรุ่นต่อไป ชาวบ้านหลายคนได้ยึดเอาการทอผ้าเป็นอาชีพหลักแทนการทำนา ชาวบ้านสามารถส่งออกผ้าไทยได้เอง สร้างรายได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านศิลปาชีพอีกต่อไปแล้ว” ปิยวราเผย

1.รูปนำ

สู่ชุดไทยพระราชนิยมทั้ง 8

ไม่เพียงแต่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จะทรงฉลองพระองค์ชุดผ้าไทยอันเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนไทยทุกคนแล้ว เมื่อครั้งต้องเสด็จฯเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในปี 2503 ซึ่งถือเป็นโอกาสสำคัญในการเผยแพร่วัฒนธรรมของไทย ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ กล่าวว่า ครั้งนั้นด้วยพระราชประสงค์ที่จะทรงฉลองพระองค์ชุดไทยที่แสดงถึงเอกลักษณ์ไทยอย่างแท้จริง พระองค์จึงมีพระราชเสาวนีย์ให้ ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค, พระยาอนุมานราชธน และ อาจารย์สมศรี สุกุมลนันทน์ ไปค้นคว้าศึกษาจากประวัติ ศาสตร์ต่างๆ แล้วมาทรงพิจารณาด้วยพระองค์เอง มาผสมผสานจนกลายเป็นชุดไทยพระราชนิยมทั้ง 8 แบบ เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการออกแบบครั้งต่อๆ ไปไม่ว่าจะเป็นงานพิธีใหญ่ หรืองานทั่วไป ได้แก่ ชุดไทยเรือนต้น ชุดไทยจิตรลดา ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยบรมพิมาน ชุดไทยจักรี ชุดไทยดุสิต ชุดไทยจักรพรรดิ และชุดไทยศิวาลัย ซึ่งทรงฉลองในงานต่างๆ ด้วยพระองค์เอง

ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ กล่าวต่อว่า นอกจากชุดไทยพระราชนิยมแล้ว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงส่งเสริมเรื่องผ้าไทยมาโดยตลอด ยังทรงให้ดีไซเนอร์ฝรั่งออกแบบชุดผ้าไทยด้วย อาทิ ปิแอร์ บัลแมง มาเรสต้า และ ฮานาเอะ โมริ ด้วยทรงมีพระราชดำริว่าหากดีไซเนอร์เหล่านี้ไม่ได้จับผ้าไทยไม่รู้จักผ้าไทย ก็จะไม่นำไปใช้ แต่หากเขาชอบแล้วเขาจะนำผ้าไทยนี้ไปเผยแพร่เอง นอกจากนี้ ยังทรงจัดแสดงผ้าไทยที่พระตำหนักภูพานพระราชนิเวศน์ จังหวัดสกลนคร มีการประกวดผ้าไหมไทยประเภทต่างๆทุกปี เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ทอได้พัฒนางานอย่างไม่หยุดนิ่ง เหล่าดีไซเนอร์ต่างชาติกระทั่งวาเลนติโนก็ได้ร่วมชมงานแฟชั่นโชว์นี้ด้วย

6.ชุดผ้าไทยมัดหมี่ โดยปิแอร์ บัลแมง
ฉลองพระองค์ผ้าไทยมัดหมี่ โดยปิแอร์ บัลแมง

สมเด็จพระราชินี ผู้สร้างความเปลี่ยน แปลงแก่วงการแฟชั่นไทย

เผ่าทอง ทองเจือ กล่าวว่า สมัยก่อนผ้าไทยเองถือเป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้หญิงไทยจะทอใส่เองในครอบครัว จนมาถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกและมีเทคโนโลยีการผลิตผ้าใหม่ๆ ขึ้น สามารถผลิตเส้นใยสังเคราะห์ที่เหนียว ทนทาน ไม่ยับ ราคาถูกต้นทุนต่ำขึ้นมาได้ จากนั้นก็ทำให้ผ้าไทยในเมืองซบเซาขึ้นเรื่อยๆ และเปลี่ยนค่านิยมไทยในกลุ่มคนมีฐานะว่าต้องใช้ผ้านำเข้า

จนกระทั่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯขึ้น พระองค์ไม่เพียงแต่ลงไปพัฒนา ส่งเสริมเรื่องผ้าไทยอย่างครบวงจร แต่พระองค์ยังทรงนำพระองค์เองเป็นแม่แบบ ทรงนำผ้าไทยไปใช้จริง ไม่ว่าจะเป็นฉลองพระองค์ชุดผ้าไหมไทย และผ้าไทยจากชนเผ่าต่างๆ ทั้งชุดกะเหรี่ยง ปกากะญอ ผ้าตีนจกแม่แจ่ม หรือชุดไทยทรงดำ ก่อนจะพัฒนากลายมาเป็นชุดไทยพระราชนิยม ชาวบ้านได้เห็นว่า “สมเด็จพระราชินี” ทรงฉลองพระองค์ผ้าไทย ทำให้ผ้าไทยจากที่เคยเป็นผ้าธรรมดาสามัญชน ก็กลายมาเป็นผ้าที่สมเด็จพระราชินีส่งเสริม ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ไปจนถึงข้าราชบริพาร ก็ต่างนำผ้าไทยมาใช้ในโอกาสสำคัญๆ กลายเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นพิธีการ และได้รับความนิยมมากขึ้น

เรียกได้ว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นผู้พลิกหน้าวงการผ้าไทย ทำให้การรับรู้เรื่องผ้าของคนในเมือง และต่างประเทศ เปลี่ยนไป และกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น

“นอกจากพระองค์จะทำให้ทุกคนหันมาใส่ผ้าไทยกันมากขึ้นแล้ว ทุกคนยังได้รับรู้ถึงเอกลักษณ์ของผ้าไทยในพื้นถิ่นที่เป็นของพื้นบ้าน และทำให้คนพื้นถิ่นต่างๆ รับรู้ และเข้าใจร่วมกันว่าผ้าลักษณะนี้เป็นของคนเผ่าพันธุ์นี้ อย่างผ้ายกลำพูน มัดหมี่อีสาน ก่อให้คนเข้าไปศึกษาหาข้อมูลผ้าเหล่านี้มากขึ้น คนทอก็ภูมิใจ”

8

พิพิธภัณฑ์ผ้า เพื่อความยั่งยืน

นับได้ว่างานอนุรักษ์ “ผ้าไทย” ที่พระองค์ทรงงานมาตลอดกว่า 60 ปีนี้ เป็นความสำเร็จของการสืบสานสมบัติของชาติไทยโดยแท้ ซึ่งจะขาดการรวบรวมองค์ความรู้เรื่องนี้ไว้ให้ลูกหลานไม่ได้

ปิยวรา เผยว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าฯขึ้น ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผ้าไทยและประวัติเครื่องแต่งกายของคนไทย ด้วยพระราชปณิธานในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติ มีการจัดแสดงนิทรรศการต่างๆ ให้กับผู้สนใจ ซึ่งหลายคนมาดูแล้วสามารถนำไปพัฒนาเป็นชุดต่างๆ ส่วนตัว แค่คนมาดูแล้วพบว่าผ้าไทยของเราสวยสนใจอยากอนุรักษ์ต่อ ก็ถือว่าได้สืบสานพระราชปณิธานของพระองค์แล้ว

“นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์อย่างหาที่สุดมิได้ สำหรับไหมเอง พระองค์คือทุกอย่างที่ทำให้ผ้าไทยนี้เกิดขึ้น พระองค์ทรงนำผ้าไทยที่กำลังจะสูญหายกลับมาอีกครั้ง พลิกชีวิตคนจากไม่มีกินจนกลายเป็นงานอนุรักษ์ กลายเป็นสมบัติของชาติให้เราดูแลต่อไป ไม่เหมือนกับชาติอื่นๆ ที่ผ้าพื้นเมืองของเขามีโชว์อยู่เพียงในพิพิธภัณฑ์ เท่านั้น ไม่มีทอตามหมู่บ้านอีกแล้ว แต่เรายังคงลงไปเรียนรู้เรื่องผ้าในชุมชนได้ง่าย ไม่เว้นแม้แต่ไทยดีไซเนอร์ที่ได้แรงบันดาลใจจากพระองค์ในการออกแบบ” ปิยวราเผย

“หน้าที่ของเราตอนนี้ คือการสืบสานการอนุรักษ์ไว้ ด้วยการสร้างความยั่งยืนจากการปลุกจิตสำนึกในคนไทย อย่างการใช้ผ้าไทยเพื่อให้คนทอรู้ว่ายังมีคนต้องการ สร้างความรับรู้เรื่องผ้าทอให้กับคนในชุมชนนั้นๆ ว่านี่คือสิ่งที่มีค่า” ผู้อำนวยการย้ำ

5. ณ เมืองควิเบก ประเทศแคนาดา

สมเด็จพระราชินี ผู้เป็นแรงบันดาลใจเหล่าไทยดีไซเนอร์

จวบจนกระทั่งวันนี้ ผ้าไทยได้กลายเป็นผ้าอันทรงคุณค่าที่เหล่าดีไซเนอร์ชั้นนำเลือกมาออกแบบในงานสำคัญๆ มากมาย 2 ดีไซเนอร์จากทูบ แกลอรี่ ศักดิ์สิทธิ์ พิศาลสุพงศ์ และ พิสิฐ จงนรังสิน ที่มีโอกาสได้ดีไซน์เสื้อผ้าจากชุดผ้าไทยหลายครั้ง เผยว่า การได้ออกแบบผ้าไทย ทำให้รู้ว่าจริงๆ แล้วเสน่ห์อยู่ที่จิตวิญญาณในการรังสรรค์ผ้าแต่ละผืนเปรียบได้กับงานจิตรกรรมชิ้นหนึ่ง ซึ่งในฐานะนักออกแบบนั้น ได้เห็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงผ้าไทยนับตั้งแต่เรายังเล็ก ทรงเป็นแบบอย่างของการแต่งกายด้วย ทรงพระสิริโฉมงดงามเสมอ ถือเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบมาตลอด

“สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นไอดอล”

“หากไม่มีพระองค์ คนไทยคงไม่รู้จักผ้าไทยเช่นทุกวันนี้ เหล่าดีไซเนอร์ก็อาจไม่หยิบยกผ้าไทยมาดีไซน์ คนไทยคงยังใช้ผ้าใยสังเคราะห์ที่ไม่มีคุณค่าเท่าผ้าไหมผ้าฝ้ายทอมือของไทย และคงลืมไปแล้วว่าเรามีภูมิปัญญาตรงนี้ ไม่เห็นว่านี่คือของดีที่ควรรักษาไว้” 2 ดีไซเนอร์ย้ำ

ประภากาศ อังศุสิงห์ แห่งห้องเสื้อ ฮุคส์ ที่มีผลงานคอลเล็กชั่นผ้าไทยออกมาให้เห็นไม่น้อย เผยว่า ผ้าไทยมีเสน่ห์ไม่เหมือนกับใคร ด้วยเนื้อสัมผัส และลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งพูดได้ว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็นผู้จุดประกายให้วงการแฟชั่นไทยหันมาใช้ผ้าไทยมากขึ้น

“พูดได้ว่าในการออกแบบชุดผ้าไทยทุกครั้ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ถือเป็นแรงบันดาลใจที่ยิ่งใหญ่ ทุกครั้งที่ทำแฟชั่นโชว์ชุดผ้าไทยหรือละคร พระองค์จะทรงเป็นแรงบันดาลใจในโชว์นั้นๆ ตลอด เราโชคดีที่ได้เกิดมาบนผืนแผ่นดินไทย ที่มีพระราชินีที่ทรงมีพระสิริโฉมงดงาม มีฉลองพระองค์ที่งามที่สุดในโลก อย่างที่ไม่มีใครแต่งชุดไทยได้งามเท่าอีกแล้ว พระองค์ทรงเป็นไอคอน ที่หากจะนึกถึงผู้หญิงสักคนที่เพียบพร้อมและสง่างามที่สุด ก็คือพระองค์” ประภากาศเผย

2.โอกาสต้อนรับกษัตริย์สเปน 19 พ.ย.2520

9.เสด็จฯเยือนประเทศจีน เมื่อ 16 ตุลาคม ปี พ.ศ.2543

HMQueen (2)

3.เสด็จฯเยือนเท็กซัส สหรัฐฯ

ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ
ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ
ปิยวรา
ปิยวรา ทีขะระ เนตรน้อย
เผ่าทอง (1)
เผ่าทอง ทองเจือ
????????????????????????????????????
ประภากาศ อังศุสิงห์
ศักดิ์สิทธิ์ พิศาลสุพงศ์ และพิสิฐ จงนรังสิน
ศักดิ์สิทธิ์ พิศาลสุพงศ์ และพิสิฐ จงนรังสิน

ชุดไทยดุสิต

ชุดไทยดุสิต

ชุดไทยจักรพรรดิ์

ชุดไทยจักรพรรดิ์

ชุดไทยศิวาลัย
ชุดไทยศิวาลัย
ชุดไทยจากดีไซเนอร์ไทย 1
ชุดไทยจากดีไซเนอร์ไทย
ชุดไทยจากเหล่าดีไซเนอร์ไทย
ชุดไทยจากดีไซเนอร์ไทย
ชุดไทยจากเหล่าไทยดีไซเนอร์
ชุดไทยจากดีไซเนอร์ไทย

ขอขอบคุณภาพจากหนังสือ ราชศิลป์พัสตราภรณ์ พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image