ระวัง!! ผมร่วงเกิน 80 เส้นต่อวัน เสี่ยงผมบางถาวร ผู้เชี่ยวชาญเผย 6 สาเหตุก่อผมร่วง

15462859 - hair loss

มาร์ค เบิร์คช์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลเส้นผมและหนังศีรษะ (trichologist) จากประเทศอังกฤษกล่าวว่า “เส้นผมของคนเรามีจะอายุนาน 2-6 ปี ซึ่งปกติจะมีผมร่วงเป็นประจำทุกวัน แต่หากร่วงมากกว่า 80-120 เส้นต่อวัน อาจเป็นสัญญาณของปัญหาหนังศีรษะอ่อนแอ คนไทยโดยส่วนใหญ่มีผมเส้นหนาและมักมีปัญหาหนังศีรษะมัน เนื่องจากต่อมไขมันบริเวณหนังศีรษะที่อยู่รอบๆ รากผมผลิตไขมันออกมามากเกินไป สามารถนำไปสู่ปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะได้

นอกจากนี้ กรรมพันธุ์ที่ได้รับจากพ่อแม่ ภาวะความเครียด ระดับฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติ และการไลฟ์สไตล์การดำเนินชีวิต เช่น การใช้ความร้อนกับเส้นผม ฝุ่น ละออง มลภาวะจากสิ่งแวดล้อม ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของผมหลุดร่วงได้ ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้ผมร่วงคือ

TAK_0565_resize

1. การทำงานของตัวรับสัญญาณแอนโดรเจน (AR)

การทำงานของ AR ตรงกับความเสี่ยงของภาวะศีรษะล้านจากพันธุกรรมเพศชายโดยยีนที่แปลงสัญญาณ AR อยู่ในโครโมโซมเอ็กซ์ ผู้หญิงสืบทอดยีนนี้จากทั้งพ่อและแม่ ขณะที่ผู้ชายสืบทอดจากแม่ฝ่ายเดียว

Advertisement

2. ไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน โรน (DHT) เทสโทสเตอโรน (T) และเอ็นไซม์ 5α reductase (5αR)

DHT เป็นฮอร์โมนเอ็นโดรเจนที่สำคัญที่สุดที่อวัยวะเพศของมนุษย์พัฒนาขึ้น และรักษาลักษณะทางเพศขั้นทุติยภูมิไว้ DHT ได้มาจากฮอร์โมน T ที่ถูกกระตุ้นโดยเอ็นไซม์ 5?Rจากนั้น DHT เกาะกับ AR เพื่อกระตุ้นยีนส์ปลายทาง ซึ่งอาจนำไปสู่กระบวนการที่ทำให้เซลล์ Dermal Papilla ตายลง และไปยับยั้งการเพิ่มจำนวนและการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ต้นกำเนิดเส้นผม ซึ่งทำให้เกิดภาวะผมร่วงในที่สุด

3. เอสโตรเจน

Advertisement

เอสโตรเจนช่วยยืดระยะการเจริญเติบโต และชะลอระยะหยุดเจริญเติบโตของเส้นผมได้ ผู้หญิงมีผมหนาระหว่างตั้งครรภ์เนื่องจากระดับเอสโตรเจนสูงขึ้น แต่มีผมบางหลังหมดประจำเดือนเมื่อระดับเอสโตรเจนลดลง อย่างไรก็ตาม ระดับเอสโตรเจนที่สูงเกินอาจก่อให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม ผู้หญิงที่มีระดับเอสโตรเจนสูงขึ้น มีความเสี่ยงพบอาการผมร่วงมากกว่าคนที่มีระดับฮอร์โมนปกติ การศึกษาในสัตว์ยังพิสูจน์ด้วยว่า การใช้เอสโตรเจนอาจไปยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นผมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด

4. ความเครียด

หากมีความเครียดทางจิตใจหรือทางสิ่งแวดล้อม ปุ่มรากผมอาจมีการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่อาจส่งผลให้เซลล์ตายและทำให้เซลล์ปุ่มรากผมมีขนาดเล็ก ระดับคอร์ติซอลจะเพิ่มขึ้นพร้อมกับความเครียดเพื่อกระตุ้นการเต้นของหัวใจและน้ำตาลกลูโคส ทั้งนี้ก็เพื่อรับมือกับความเครียด โดยคอร์ติซอลคือตัวบ่งชี้ความเครียด

5. ภาวะอักเสบในโพรงเส้นผม

ภาวะอักเสบในโพรงเส้นผม มักเกิดขึ้นในปุ่มรากผมของคนไข้ที่มีอาการศีรษะล้านจากพันธุกรรมเพศชาย ภาวะอักเสบในโพรงเส้นผมก่อให้เกิดพังผืดและทำให้ Dermal Sheath หนา ซึ่งไปขวางการส่งต่อสัญญาณและสารอาหารระหว่างปุ่มรากผมกับเนื้อเยื่อโดยรอบ แล้วก็นำไปสู่ปุ่มรากมีขนาดเล็กลง การมีภาวะอักเสบในโพรงเส้นผมจะไปยับยั้งการฟื้นฟูสภาพเส้นผม แม้กระทั่งในผู้ที่มีระดับแอนโดรเจนลดลง

6. สารพิษ และธาตุอาหารจำเป็น

สารพิษเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ผ่านอาหาร น้ำ และอากาศ และก่อให้เกิดผลกระทบต่ออวัยวะหลายส่วน ซึ่งรวมทั้งเส้นผมด้วย ร่างกายไม่สามารถรับรู้การสะสมของธาตุได้ และตรวจจับได้ด้วยอุปกรณ์เท่านั้น เช่น เครื่อง ICP-MS เป็นต้น ซึ่งสุขภาพร่างกายและการเจริญเติบโตของเส้นผม ไม่อาจอยู่ได้โดยปราศจากธาตุอาหารจำเป็น ซึ่งทั้งหมดต้องได้รับการรักษาไว้ในระดับสมดุล หากมีมากเกินหรือน้อยเกิน ก็ไม่ดีต่อร่างกายทั้งสิ้น

มาร์ค เบิร์คช์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หัวใจสำคัญของการรักษา คือ ต้องได้รับการดูแลวินิจฉัยให้ตรงจุด ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และการดูแลเส้นผมอย่างถูกวิธี คือทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่เกาหรือขยี้แรงเกินไป เพราะอาจทำให้หนังศีรษะได้รับบาดเจ็บ และควรหลีกเลี่ยงสารเคมี จากการย้อม ดัด ทำสี ที่บ่อยจนเกินไป เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของผมที่อ่อนแอ หากมีอาการผมร่วงควรพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุ

TAK_0607_resize

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image