คลื่นลูกใหม่ ‘วารา’(VARA) ชูกลยุทธ์ ปั้นโปรเจคหนังทำมือ สร้างประสบการณ์ร่วมแบบใหม่ในทุกวาระ

วารา (VARA) แบรนด์แฟชั่นเครื่องหนังคลื่นลูกใหม่ของไทยที่ใช้เวลาเพียง 1 ปีเศษแบรนด์ก็เป็นที่ยอมรับ โดยปี 58 ตลาดเติบโตอย่างก้าวกระโดด กว่า 800 % สร้างยอดขายกว่า 8.5 ล้านบาท  แบ่งเป็นตลาดในประเทศ  80 % ตลาดต่างประเทศ 20 %

ปัจจุบันมีหน้าร้านทั้งหมด 3 สาขาในใจกลางกรุงเทพมหานคร และส่งออกอีกกว่า 4 ประเทศทั้งไต้หวัน สิงค์โปร เกาหลี และสหรัฐอเมริกา จากฝีมือการบริหารของสองเจนเนอเรชั่นใหม่ “รวิวรรณ วรสินสิริ” ทายาทเจ้าของกิจการโรงงานผลิตกระเป๋าหนังแท้ที่สั่งสมประสบการณ์มากกว่า 50 ปี บวกกับประสบการณ์การด้านการวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและการออกแบบจาก “วรัญญา อังรัตนันท์”

คุณรวิวรรณ วรสินศิริ ประธานกรรมการบริหารร่วม บริษัท วีอาร์ วารา จำกัด กล่าวว่า สำหรับตลาดธุรกิจเครื่องหนัง วารา ถือเป็นแบรนด์เครื่องหนังน้องใหม่ แต่เบื้องหลัง วารา เป็นแบรนด์ที่ต่อยอดประสบการณ์จากกิจการโรงงานผลิตกระเป๋าหนังแท้ของครอบครัวที่ก่อตั้งมากกว่า 50 ปี เราจึงยกจุดแข็งในด้านองค์ความรู้ในการผลิตเครื่องหนัง มาเป็นกลยุทธ์สร้างมีส่วนร่วมกับแบรนด์ พร้อมกับขยายฐานตลาดคนรุ่นใหม่ โดยการเปิดโปรเจคเวิร์คช้อปเครื่องหนังทำมือรูปแบบใหม่ ภายใต้ชื่อ L.I.Y. Leather It Yourself หวังกระตุ้นคนไทยเห็นคุณค่าและใช้หนังแท้มากขึ้น ดันวงการอุตสาหกรรมหนังแท้กลับมาคึกคักอีกครั้ง

วารา กระเป๋าหนัง

Advertisement

“การสร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภค คือการสร้างโอกาสทางการตลาดให้แบรนด์สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง เป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างแบรนด์กับผู้บริโภค เราสร้างL.I.Y เวิร์คช้อปนี้ขึ้นมาบนพื้นฐานของความต้องการและแรงจูงใจของผู้บริโภคเป็นในยุคปัจจุบันที่ชื่นชอบความแตกต่างเฉพาะบุคคล เราเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคร่วมคิดและสร้างสรรค์ร่วมกับแบรนด์ ให้ได้สินค้าที่ผลิตมาเพื่อเขาโดยเฉพาะเหมือนกับลายนิ้วมือของตัวเองที่ไม่ซ้ำกับคนอื่น การมีส่วนร่วมเหล่านี้จะส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความผูกพันกับแบรนด์มากยิ่งขึ้น”

ด้านคุณวรัญญา อังรัตนันท์ ประธานกรรมการบริหารร่วม บริษัท วีอาร์ วารา จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า จากประสบการณ์การด้านการวางกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดและการออกแบบผลิตภัณฑ์ พบว่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา กระแสพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคนี้มองหาคุณค่าที่มากกว่าสินค้าและหันมาสนใจสินค้าประเภทD.I.Y มากขึ้น แบรนด์จึงต้องคิดมากกว่าแค่ Product Centric และ Consumer Centric แต่ต้องตอบสนองความต้องการในแง่ความรู้สึกของคนหรือ Human Centric ถึงจะมัดใจผู้บริโภคในยุคนี้ได้

“ถ้าโจทย์คือความต้องการของผู้บริโภคที่มองหาคุณค่ามากกว่าสินค้า แบรนด์จึงหาโอกาสสร้างความรู้สึกร่วมระหว่างผู้บริโภคกับสินค้าผ่านโปรเจค L.I.Y เวิร์คช้อปสำหรับงานเครื่องหนังทำมือในสไตล์VARA ตามแนวคิด ชิ้นงานจะเกิดตามวาระของลูกค้า ซึ่งเวิร์คช้อปแต่ละครั้งจะนำเสนองานออกแบบที่สอดแทรกกิมมิกให้เข้ากับทุกเทศกาลเพื่อให้ผู้บริโภคสนุกไปกับการทำหนังแท้กับมือได้ตลอดทั้งปีแบบไม่มีเบื่อ โดยกลุ่มเป้าหมายของ L.I.Y ในปีแรกนั้นโฟกัสไปยังกลุ่ม BEGINNER สอนด้วยองค์ความรู้และประสบการณ์ของงานช่างทำเครื่องหนัง ปรับย่อยเทคนิคกระบวนการผลิตเครื่องหนังทำมือที่ซับซ้อนให้เข้าถึงง่าย ทำให้ชิ้นงาน L.I.Y สามารถนำไปใช้หรือมอบให้กับผู้อื่นในทุกโอกาสตามวาระตลอดทั้งปีแบบ “SUITS ALL AGENDAS” ตามคอนเซ็ปต์ของแบรนด์ที่วางไว้อีกด้วย”

วารา กระเป๋าหนัง

สำหรับในปีนี้ แนวทางการดาเนินธุรกิจของแบรนด์ VARA ยังคงต้อง “สร้างและขยาย” การรับรู้เกี่ยวกับแบรนด์ให้แข็งแรงอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ แต่อีกหนึ่งกลยุทธ์ทางธุรกิจที่สาคัญในปี2559คือการ “บุกและเบิก” โปรเจคใหม่ภายใต้คอนเซ็ปต์ “เครื่องหนัง ทำกับมือ Leather It Yourself” หรือเรียกสั้นๆว่า “L.I.Y” ที่ถูกครีเอทขึ้นบนพื้นฐานของกระแสพฤติกรรมของผู้บริโภคในแบบPersonalize ที่ชื่นชอบสินค้าประเภทD.I.Y เพราะชิ้นงานที่ทาจากมือนั้นมีเสน่ห์ที่แตกต่างออกไปอย่างชัดเจน นอกจากจะได้ของมีคุณภาพไปใช้แล้ว ยังได้ทะลายกำแพงความคิดของผู้บริโภคต่องานหนังแท้ ให้ทุกคนสามารถลงมือทำจับต้อง และเป็นเจ้าของได้ง่าย ไม่ต่างจากศิลปะการทาชิ้นงานแขนงอื่น อีกนัยนึงเพื่อกระตุ้นให้คนไทยเห็นคุณค่าและใช้ผลิตภัณฑ์จากหนังแท้ในวงกว้างมากขึ้น ตามเป้าหมายของแบรนด์และความตั้งใจของสองนักบริหารที่อยากให้วงการอุตสาหกรรมหนังแท้กลับมาคึกคักอีกครั้ง

จุดเด่นของVARAนอกจากหนังที่มีน้ำหนักเบา และไม่มีกลิ่นเมื่อโดนน้ำ สีสันที่มากกว่า 10 เฉดสี และแบบที่มากกว่า 7 Collection ก็เป็นจุดเด่นอีกอย่างที่ทำให้ยอดจำหน่ายเติบโตอย่างก้าวกระโดด

คุณรวิวรรณ ยังกล่าวอีกว่า “เครื่องหนังทำเองได้ ง่าย สนุก” คือความแตกต่างที่สาคัญของชิ้นงานทามือในสไตล์VARA เพราะกลุ่มเป้าหมายของL.I.Y ในปีแรกนั้นโฟกัสไปยังกลุ่มBEGINNER หรือผู้ที่สนใจที่จะเริ่มผลิตชิ้นงานของตัวเองเพื่อปรับพื้นฐานและความเข้าใจเกี่ยวกับหนังแท้ สอนด้วยองค์ความรู้และประสบการณ์ของงานช่างทำเครื่องหนัง ปรับย่อยเทคนิคกระบวนการผลิตเครื่องหนังทำมือที่ซับซ้อนให้เข้าถึงง่าย ทั้งรูปแบบเวิร์คช้อปและSHORT CLIP บวกรวมเข้ากับงานออกแบบที่สามารถนาไปใช้หรือมอบให้กับผู้อื่นในทุกโอกาส ตามวาระตลอดทั้งปีแบบ “SUITS ALL AGENDAS” และในอนาคตอันใกล้นี้ VARA มีอีกหนึ่งโปรเจคสร้างพื้นที่สาหรับคนที่รักเรียนรู้เรื่องหนังแท้ ประกอบด้วยส่วนของLEATHER CORNER ที่จะปรับเปลี่ยนCONTENTให้ความรู้เกี่ยวกับหนังแท้ตลอดปี พื้นที่คาเฟ่ และพื้นที่เวิร์คช้อป ภายใต้แนวคิด LEATHER LIFESTYLE SPACE.

“เครื่องหนังทำมือ..ทำใช้ ให้ได้ทุกโอกาส” ตลอดทั้งปีนี้ L.I.Y Projectจะนาเสนอชิ้นงานเครื่องหนังทำมือที่เน้นความสวยงามของหนังแท้และงานออกแบบที่เหมาะสมกับทุกเทศกาลเพื่อให้ผู้บริโภคสนุกไปกับการทำหนังแท้กับมือได้ตลอดทั้งปีแบบไม่มีเบื่อ

สำหรับใครที่สนใจ L.I.Y เวิร์คช้อปเครื่องหนังทำมือในสไตล์VARA สามารถไปได้ที่ ชั้น2 (Urbano Zone) ศูนย์การค้าเกตเวย์ เอกมัย หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ LINE@: @varabrand หรือ Inbox FB: VARA หรือโทร. 096-251-1996

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image