เปิดใจเด็กเก่ง “มอส” เจ้าของไอเดียที่นักบินอวกาศญี่ปุ่นนำไปทดลองนอกโลก (พร้อมชมคลิปข่าวลง NHK)

หลังจากเป็นกระแสชื่นชมในโซเชียลมีเดียไปเมื่อไม่กี่วันว่าเด็กไทยอย่าง มอส – นายวรวุฒิ จันทร์หอม นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วัย 20 ปี ไปสร้างชื่อเสียงให้โลกได้รับรู้ กับการเป็นเจ้าของไอเดียการทดลอง “การโค้งของผิวของเหลวในอวกาศ” ซึ่งได้ส่งให้นายทะกุยะ โอะนิชิ มนุษย์อวกาศญี่ปุ่น นำไปใช้ทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง บนสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อวันที่ 14 กันยายน ที่ผ่านมา ได้รับความสนใจจากสื่อต่างชาติ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นไม่น้อย จนกระทั่งสื่อดังอย่าง NHK ยังให้ความสนใจ

เมื่อเวลา 10.15 น. วันที่ 20 กันยายน ที่ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานแถลงข่าวให้พูดคุยกับ นายวรวุฒิ จันทร์หอม เยาวชนคนเก่งประเทศไทย ตัวแทนประเทศไทยในโครงการ Asian Try Zero-G ถึงประสบการณ์ที่ได้เข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดการทดลองทางวิทยาศาสตร์จากสถานีอวกาศนานาชาติ จากห้องบังคับการที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ ส่วนหนึ่งของ องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency หรือ แจ๊กซ่า) และร่วมกิจกรรมหลักสูตรฝึกมนุษย์อวกาศระยะสั้น 1 วัน ร่วมกับเยาวชนอีก 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งถือเป็นเยาวชนไทยคนแรกที่ได้เข้าร่วมรับชมการถ่ายทอดสดที่ศูนย์อวกาศสึคุบะ

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

นายวรวุฒิ เล่าถึง การทดลองโครงการผิวของเหลวในอวกาศ ที่ส่งเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ว่า “จุดเริ่มต้นเกิดขึ้นจากการเรียนในห้องเรียน ที่สังเกตว่าผิวของเหลวในภาชนะที่เป็นหลอดมีลักษณะแตกต่างกัน ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการอ่านข้อมูล จึงอยากรู้ว่าหากของเหลวเหล่านี้ไปอยู่บนอวกาศที่มีแรงโน้มถ่วงจะเป็นอย่างไร จึงเลือกน้ำมัน น้ำผลไม้ และน้ำเปล่า มาสร้างสมมติฐานต่างๆขึ้นมา ผลการทดลองที่นักบินอวกาศนำขึ้นไปนั้นพบว่า น้ำเปล่าและน้ำผลไม้ เมื่อบรรจุในเข็มฉีดยาพลาสติก จากลักษณะผิวราบเรียบไม่มีการโค้งนูนบนโลกจะโค้งขึ้นเล็กน้อย ส่วนน้ำมันจากที่มีลักษณะพื้นผิวที่เว้าลงเล็กน้อย เมื่อขึ้นไปบนอวกาศจะโค้งลงอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผลการศึกษานี้หากนำไปสร้างสมการต่อยอดได้ต่อไป

Advertisement

พร้อมทั้งเล่าประสบการณ์ความประทับใจไว้ว่า รู้สึกดีใจที่ได้ไปร่วมโครงการนี้ เพราะส่วนตัวมีความชื่นชอบในวิทยาศาสตร์ และอวกาศอยู่แล้ว รวมทั้งคิดค้นโครงการต่างๆอยู่เสมอ การได้ไปศูนย์อวกาศสึคุบะ เป็นความฝันมานานแล้ว ครั้งนี้ก็ได้เห็นว่าข้างในเป็นอย่างไร เขาทำงานอย่างไร ได้เห็นการทดลองของเราจริงๆ ผ่านการถ่ายทอดคอนเฟอเรนซ์ โดยเฉพาะมีหนึ่งวันที่ได้ฝึกร่วมกับเพื่อนๆ จากชาติอื่น เป็นคนเดียวที่ได้ใส่ชุดอวกาศจริงๆ ฝึกการซ่อมอุปกรณ์บนอวกาศผ่านการสั่งงานในห้องควบคุม ก็เป็นความรู้สึกที่ตื่นเต้น และเป็นโอกาสที่ดีมากสำหรับเรา

สำหรับกระแสข่าวที่มีเสียงชื่นชมในโลกออนไลน์นั้น มอส เผยว่า ก็พอรู้บ้างว่ามีการแชร์ข่าวต่างๆไป ขอบคุณทุกคนที่สนใจ และอยากให้สิ่งนี้เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กไทยทุกคนที่มีความชอบ รักในวิทยาศาสตร์ ตั้งใจ และกล้าคิดกล้าทำมุ่งมั่นกับวิทยาศาสตร์มากขึ้น เพราะอยากเห็นการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยมากกว่านี้

DSC_0214

Advertisement

DSC_0293

DSC_0331

DSC_0355

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image