เจ็บขนาดนี้! แต่ทำไม คนเกาหลี ถึงยกให้ ‘ฟันคุด’ เป็นสัญลักษณ์ของรักแรก

ภาพบางส่วนจากซีรีส์เรื่อง โฮมทาวน์ ชะชะช่า เผยแพร่ทาง Netflix

เจ็บขนาดนี้! แต่ทำไม คนเกาหลี ถึงเรียก ‘ฟันคุด’ ว่า ‘ฟันแห่งรัก’ (Love Tooth)

หากใครเคยได้ดู “ซีรีส์เกาหลี” เรื่อง โฮมทาวน์ ชะชะช่า (Hometown cha cha cha) ซึ่งนางเอกประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ ทำให้ในเรื่องมักจะมีฉากที่เกี่ยวข้องกับคลินิคทำฟัน และพูดถึงเรื่อง “ฟัน” อยู่บ่อยครั้ง

โดยในระหว่างที่เรื่องราวกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น ก็มีฉากที่ตัวละครหญิงในเรื่องที่ต้องการบอกลารักแรกของเธอ ตัดสินใจที่จะเข้ารับการผ่า “ฟันคุด” ซึ่งในซีรีส์เรียก “ฟันคุด” ว่า “ฟันแห่งรัก(แรก)”

ภาพบางส่วนจากซีรีส์เรื่อง โฮมทาวน์ ชะชะช่า เผยแพร่ทาง Netflix
ภาพบางส่วนจากซีรีส์เรื่อง โฮมทาวน์ ชะชะช่า เผยแพร่ทาง Netflix

เพราะอะไรทำไมถึงต้องเป็น ฟันแห่งรัก(แรก)

อ้างอิงถึง บทความเรื่อง “Changing wisdom on wisdom teeth” โดยคิมจายอง เผยแพร่บนเว็บไซต์สำนักข่าวเกาหลี The Korea Times ระบุไว้ว่า ฟันคุด มักจะปรากฎขึ้นในช่วงอายุราวๆ 20 ปี เลยมีชื่อเรียกในภาษาเกาหลีว่า “ซารังงิ” 사랑니 (Sarangni) หรือ “ฟันแห่งรัก” (Love Tooth) เหตุที่เรียกแบบนี้มีความหมายว่า เป็นฟันที่ปรากฏขึ้นในวัยที่รู้จักกับความรัก พานพบกับความเจ็บปวด

Advertisement

สอดคล้องกับ บทความในเว็บไซต์ Visiblebody ที่ระบุถึงชื่อเรียก “ฟันคุด” ของหลายประเทศ ว่า ชื่อเรียกฟันคุดนั้นมีมากมายหลายภาษา อาทิ ders-al-a’qel ในภาษาอารบิค แปลว่า ฟันแห่งความคิด, muelas del juicio ในภาษาสเปน แปลว่า ฟันแห่งคำพิพากษา และในตุรกี เรียกฟันคุดว่า yirmi yaş dişleri แปลว่า ฟัน 20 ปี

ฟันคุด หรือ Wisdom teeth จึงล้วนแต่มีความหมายมาจากช่วงเวลาที่ฟันคุดปรากฎนั้นเป็นช่วงของวัยรุ่ย วัยศึกษา กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แม้จะอยู่ในวัยที่ยังไม่บรรลุมาซึ่งปัญญาทั้งหมด แต่วัยนี้ก็กำลังจะเปลี่ยนผ่านสู่การได้มาซึ่งปัญญาผ่านประสบการณ์

ขณะที่คนเกาหลี พวกเขาเรียก “ฟันคุด” ว่า “ฟันแห่งรัก” เพราะพวกเขาก้าวเข้าสู่วัยที่มีหนุ่มน้อยสาวน้อยมากมายได้มีประสบการณ์เรื่องความรักเป็นครั้งแรก (รวมถึงความเจ็บปวดจากรักแรก)

Advertisement

ฟันคุด ยังมีอีกชื่อเรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า “oyashirazu” ( 親知らず) อ่านว่า โอ ยะ ชิ รา ซึ แปลว่า “ไม่รู้จักพ่อแม่” (unknown to the parents) เพราะฟันคุดจะขึ้นในช่วงอายุที่จะย้ายออกจากการอยู่ร่วมกับพ่อแม่ที่บ้าน

ภาพบางส่วนจากซีรีส์เรื่อง โฮมทาวน์ ชะชะช่า เผยแพร่ทาง Netflix

ทำไมต้องผ่าฟันคุด ไม่ผ่าได้ไหม?

อย่างไรก็ตาม ในทางการแพทย์ อาจจะมีหลายคนสงสัย “ทำไมถึงต้องผ่าฟันคุด?” ทพญ.ธนพร ทองจูด งานทันตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้อธิบายไว้ในบทความเรื่อง “มารู้จักฟันคุดกันเถอะ” เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์รามาชาแนล ไว้ตอนหนึ่งว่า

“ทำไมเราต้องผ่าฟันคุด” “ไม่ต้องผ่าฟันคุดได้ไหม” คำถามยอดฮิตที่ทันตแพทย์มักจะโดนถามเป็นประจำ และคำตอบที่ทันตแพทย์มักจะให้ก็คือควรจะผ่าตัดออก เนื่องจากบริเวณที่เป็นฟันคุดมักจะทำความสะอาดได้ยาก มักจะมีเศษอาหารสะสมอยู่ที่ช่องว่างระหว่างฟันคุดกับฟันซี่ข้างเคียง ทำให้เหงือกที่คลุมฟันอักเสบได้ (pericoronitis) และยังทำให้ฟันซี่ข้างเคียงผุหรือเป็นโรคเหงือกได้ด้วย

นอกจากนี้ฟันคุดยังอาจทำให้เกิดปัญหาฟันล้มเก ปัญหาการละลายตัวของรากฟันข้างเคียง และยังอาจทำให้เกิดถุงน้ำหรืออันมีสาเหตุจากฟันได้ด้วย

ที่มา: The Korea Times : Changing wisdom on wisdom teeth (https://www.koreatimes.co.kr/www/news/culture/2013/06/319_137909.html), Why are they called wisdom teeth? (https://www.visiblebody.com/blog/wise-up-three-whys-of-wisdom-teeth), รามาชาแนล : มารู้จักฟันคุดกันเถอะ (คลิก)

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image