มอง “ถุงยางอนามัย” มุมใหม่ รักปลอดภัย ชีวิตไม่ว้าวุ่น

วาเลนไทน์ทีไร มักจะมากับชุดความคิดของผู้ใหญ่ที่ว่า วันนี้เป็น “วันเสียตัว” ของเหล่าวันรุ่น ก็ไม่รู้ทำไม ไยพวกเขานี้จึงตกเป็นจำเลยของสังคมทุกที อาจจะเพราะปัญหา “ท้องก่อนวัยอันควร” ที่หลายปีที่ผ่านมาสถิติไม่ได้ลดลงเลย

จากปัญหาดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดงานแถลงข่าวยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัยแห่งชาติ พ.ศ.2558-2562 “Public-Private Partnership เพื่อรักปลอดภัย” ณ โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพฯ

12694552_895868777191088_6100928581625106888_o
ภายในงานมีการเปิดตัวยุทธศาสตร์ถุงยางอนามัยแห่งชาติ ที่มีวัตถุประสงค์ “เปลี่ยนภาพลักษณ์” และ “เจตคติ” ว่า “ถุงยางอนามัยเป็นอุปกรณ์สุขอนามัยทางเพศ” ส่งเสริมการเข้าถึงและใช้ถุงยางอย่างถูกต้อง ตลอดจนจัดระบบบริการ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการใช้ถุงยาง ซึ่งก่อนไปรู้จักเขาจริงจัง มาย้อนดูบทบาทถุงยางอนามัยที่ผ่านมา

นพ.บุญฤทธิ์ สุขรัตน์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ กล่าวว่า อุปกรณ์คุมกำเนิดในบ้านเราราคาไม่แพง อย่างถุงยางชิ้นหนึ่งประมาณ 5 บาท ยาคุมแผงหนึ่งประมาณ 20 บาท กระทั่งยาฉีดคุมกำเนิดก็เข็มละประมาณไม่กี่ร้อยบาท ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี แต่อยู่ที่การเข้าใจและเข้าถึง “ข้อมูลแม่วัยรุ่นพบว่าสาเหตุการตั้งครรภ์ครึ่งหนึ่ง เพราะมีเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน อีกครึ่งป้องกันแล้วแต่ล้มเหลว” นพ.บุญฤทธิ์กล่าว

Advertisement

ทั้งนี้ จากการสำรวจความเห็นวัยรุ่นยังพบความเข้าใจเรื่องการคุมกำเนิดผิดๆ เช่น มีเพศสัมพันธ์ไม่ใช่ถุงยางและไม่ท้องได้ หากหลังกิจกรรมฝ่ายหญิงใช้น้ำสบู่ หรือน้ำส้มล้างช่องคลอด หรือเมื่อเวลาถึงจุดสุดยอดของกิจกรรม ให้ฝ่ายหญิงอยู่บนฝ่ายชาย เพื่อน้ำเชื้อจะได้ขึ้นไปไม่ถึง

ขณะที่ นายเกรียงไกร วชิรธรรมพร ผู้กำกับซีรีส์ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ซีซั่น 2-3 กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สำรวจและพูดคุยกับวัยรุ่นจริงจัง เพื่อมาเขียนบทละครซีรีส์ฮอร์โมน เราค้นพบว่า “วัยรุ่นสมัยนี้ไปกันไวมาก กระทั่งนักเรียนชั้น ม.1 ก็คุยเรื่องเพศกันสนุกสนาน”

“ถึงเวลาที่พ่อแม่ต้องมาเรียนรู้ร่วมกัน เรียนรู้ที่คิดว่าการพกถุงยางอนามัยเป็นเรื่องปกติ เพราะนั่นเป็นสิ่งที่จะคุ้มครองลูกเราได้ ไม่ใช่ผ้ายันต์ พระเครื่อง หรือคำขอพร”

Advertisement

นอกจากนี้ เกรียงไกรบอกอีกว่า ยังอยากให้คนในสังคมเรียนรู้เรื่องนี้ไปด้วยกัน อย่างเวลาไปซื้อถุงยางในร้านสะดวกซื้อ คงไม่มีใครอยากเดินวน อยากซื้อหมากฝรั่งมาแก้เขิน และวางทับถุงยางไว้ข้างล่างหรอก

“อยากให้สังคมเข้าใจ” ผู้กำกับซีรีส์ฮอร์โมนฯย้ำ

นพ.บุญฤทธิ์ สุขรัตน์, เกรียงไกร วชิรธรรมพร, พชรพรรษ์ ประจวบลาภ
นพ.บุญฤทธิ์ สุขรัตน์, เกรียงไกร วชิรธรรมพร, พชรพรรษ์ ประจวบลาภ

IMG_7730ด้าน นายพชรพรรษ์ ประจวบลาภ ประธานเครือข่ายยุวทัศน์กรุงเทพมหานคร กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า “ผู้ใหญ่มักสอนให้วัยรุ่นรักนวลสงวนตัว แต่ทุกวันนี้ อาจไม่สำคัญกว่าการสอนให้วัยรุ่นรู้จักใช้ถุงยาง และทำให้เขามีโอกาสใช้ถุงยาง” หนุ่มวัย 19 บอก และว่า

“อยากฝากไปยังพ่อแม่ที่ชอบทำตัวเป็นสถาปนิก คอยออกแบบอะไรให้ลูกได้ไตร่ตรองว่า เราไม่อาจติดตามดูแลลูกไปได้ทุกหนทุกแห่งและตลอดเวลา ฉะนั้นควรมองให้กว้าง ทำอย่างไรจะรักษาวัฒนธรรมเก่าที่ดี ควบคู่ไปกับการเปิดรับวัฒนธรรมใหม่ เด็กไทยอาจแพ้เด็กอาเซียนในหลายเรื่อง แต่เรื่องความคิดสร้างสรรค์เราที่หนึ่ง ท้ายที่สุดผู้ใหญ่ไม่ควรไปตีกรอบเด็ก”

“จะบอกว่าเด็กสมัยนี้รู้หมดแล้ว ว่ามีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัยต้องใช้ถุงยาง เพียงแต่เขาอยากได้เกร็ดความรู้หรือเทคนิค ที่ทำอย่างไรถึงใช้ถุงยางให้สำเร็จ เก็บถุงยางอย่างไรไม่ให้แตก” พชรพรรษ์ทิ้งท้าย

ทั้งหมดเป็นเหตุผลต้องรู้จักเขาจริงจัง โดยรวบรวมองค์ความรู้และความสงสัยยอดฮิตการใช้ถุงยาง ดังนี้

“ถุงยางอนามัยผู้ชาย” ในประเทศไทยมีขาย 4 ขนาด เริ่มต้นที่ขนาด 49, 52, 54, 56 มม. ส่วนใหญ่จะใช้ขนาด 52 มม. เพราะเป็นขนาดชายไทยส่วนใหญ่ ขณะที่แบบถุงยางมี 7 ประเภทหลักๆ ได้แก่ 1.แบบบางพิเศษ ให้สัมผัสแนบแน่นแบบธรรมชาติจนเหมือนไม่ได้ใส่ โดยล่าสุดทำมาบางถึง 0.01 มม.เท่านั้น 2.แบบผสมสารหล่อลื่น เดิมถุงยางทุกชนิดจะผสมสารหล่อลื่นมาอยู่แล้ว แต่จัดพิเศษเพื่อความคล่องตัวของกิจกรรม 3.แบบมีกลิ่นและรส อยู่ในกลุ่มถุงยางขายดี เอาใจคนที่มีรสนิยมกิจกรรมทางเพศด้วยปาก ชิคตั้งแต่เริ่มกิจกรรม 4.แบบผิวขรุขระ หากอยากสร้างอรรถรสความตื่นเต้นหวือหวาเข้าว่าต้องแบบนี้ 5.แบบเรืองแสง เหมาะกับคนชอบกิจกรรมในที่มืด ชิคแบบคนเขินอาย 6.แบบมีสารฆ่าเชื้อ รักจะสนุกแต่อยากปลอดภัยต้องแบบนี้ เพราะฆ่าทั้งเชื้ออสุจิและป้องกันโรคติดต่อ และ 7.แบบชะลอการหลั่ง เอาใจหนุ่มไทยหัวใจ 4G ต่อเวลากิจกรรมทางเพศ

ในส่วน “ถุงยางอนามัยผู้หญิง” อาจมีตัวเลือกไม่หลากหลายนัก เพราะยังเป็นเรื่องใหม่สำหรับหญิงไทย ขณะที่ถุงยางเป็นลักษณะวงแหวนยืดหยุ่น 2 วง ยาวประมาณ 15 เซนติเมตร วงด้านหนึ่งอยู่ข้างนอก วงอีกด้านอยู่ในช่องคลอด แม้จะปลอดภัยแต่ยังไม่ได้รับความนิยม เพราะให้ความรู้สึกแปลกๆ ที่วงด้านนอกต้องห้อยออกมา บางคนอาจรู้สึกรำคาญหรือเจ็บ

สำหรับราคาถุงยางอนามัยทั้งของผู้หญิงและผู้ชาย มีตั้งแต่แจกฟรีของกระทรวงสาธารณสุข และขายตามร้านสะดวกซื้อราคาหลักสิบถึงหลักร้อยบาท แต่ของถุงยางผู้หญิงจะหาซื้อยากกว่า และแพงกว่าถุงยางผู้ชาย ตกชิ้นละประมาณ 150 บาท สำหรับเคล็ดลับการใหช้ถุงยางแล้วไม่ต้องมาว้าวุ่นทีหลัง

ดังนี้ หลังจากซื้อถุงยางที่เช็กแน่ว่าไม่หมดอายุมาแล้ว ในขั้นตอนการเก็บไม่ควรเก็บในลักษณะถูกกดทับ รับความร้อน โดนความชื้น ซึ่งมีปัญหาถุงยางเสื่อมก่อนหมดอายุเพราะซื้อมาแล้วเก็บในกระเป๋ากางเกง กระเป๋าตัง กระทั้งกระเป๋าเป้ก็ต้องระวัง ให้แก้ด้วยการเก็บในกล่องเหล็กเล็กๆ ได้

ส่วนเมื่อถึงเวลาใช้งานควรพิถีพิถันสักนิด ตั้งแต่ฉีกซอง ไม่คลี่ออกมาดู ใส่ให้ถูกด้าน ระหว่างใส่อย่าให้ฉีกขาด และเหลือช่วงปลายถุงยางไว้บ้าง แนะนำว่า หญิงชายใส่พร้อมกันไม่ได้ เพราะจะเสียดสีกันจะรั่วแตก ส่วนที่กลัวจะรั่วจึงใส่2 ชั้น อันนี้ก็ไม่ได้ เพราะอาจแตกได้ และสุดท้ายถุงยางถูกออกแบบให้ใช้เพียงครั้งเดียว หากฝืนใช้ครั้งต่อไปประสิทธิภาพจะลดลง

วาเลนไทน์นี้รู้จักเขาไว้ให้ดีแล้วจะปลอดภัย

 

QR Code
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก Line@matichon ได้ที่นี่
Line Image